6. หรือ Go-pay จะเป็นเจ้าตลาด Mobile payment ในอาเซียน? จนถึงปัจจุบันวิจ่ายเงินสำรับซื้อสินค้าออนไลน์ใน Asean แทบจะถูกครองด้วยการจ่ายเงินปลายทาง อย่างในไทยเอง 80%ของการซื้อของออนไลน์ถูกจ่ายด้วยวิธีเก็บเงินปลายทาง
(Cash on Delivery) อีก 20% จ่ายบัตรเครดิต วิธีอื่นๆไม่ได้รับความนิยม เพราะถ้าดูตัวเลขคนมีบัตรเครดิตในไทยแล้ว มีเพียง 6%เท่านั้นที่มีบัตรเครดิต ประเทศอื่นๆในอาเซียนเช่น ฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย และ เวียดนามก็มีคนถือบัตรเครดิตน้อยเช่นกัน จากตัวอย่างทั่วโลก การจะจุดกระแสสังคมไรเงินสดติดนั้น payment application ที่ได้รับความนิยมจะต้องมีสามอย่าง
1. เว็บหรือแอพนั้นจะต้องได้รับความนิยมมีคนเข้าไปใช้บริการเยอะ
2.เป็นเวบซื้อขายของ
3.ต้องมีการจ่ายเงิน และสามสิ่งนี้ต้องอยู่ในโลกของดิจิตอล อย่างเช่น Paypal ที่เริ่มต้นจากการเป็นวิธีจ่ายเงินให้ Ebay , alipay ที่เกิดมาจากความนิยมของ Alibaba/Tmall/Taobao
ใน Asean ถึงมี Grab ที่ให้บริการTaxi ออกบริการ Grabpay โดยผูกกับบัตรเครดิต/เดบิต เอาไว้จ่ายค่าtaxiและอื่นๆ ทำให้ Grab เป็นเจ้าตลาดในสิงค์โปรซึ่งมีอัตราการจ่ายเงินด้วยเครดิตการ์ดสูง หรืออย่าง Truewallet ก็ให้บริการกับคนใช้บริการ True และ 7eleven อีกเจ้าคือ Go-jek ของอินโดนีเซีย ที่ Tencent เป็นเจ้าของก็ให้บริการวินมอเตอร์ไซค์จ่ายด้วยแอพ Go-pay และเพราะที่อินโดนีเซีย อัตราคนมีบัญชีธนาคารและบัตรเครดิตยังตํ่า การเติมเงินเข้าแอพGo-pay จึงทำผ่านวินมอเตอร์ไซค์ได้
ในไทยกระแสนี้เป็นการแข่งกันระหว่างธนาคารพานิชย์ที่พยายามพัฒนาแอพให้ใช้จ่ายเงินได้สะดวกมากขึ้น เพราะในไทยคนมีบัญชีธนาคารมากถึง 78% จึงไม่แปลกใจธนาคารต่างก็พยายามดันแอพให้คนจ่ายเงินกันผ่านมือถือด้วย QR code ซึ่งทำได้ทั้งซื้อสินค้าและโอนเงินให้กันเองแบบ p2p แต่ก็ต้องมางัดข้อกับฝั่ง Telecom อย่าง AIS Dtac และ True ซึ่งมีฐานลูกค้าเยอะพอๆกับธนาคาร จำนวนซิมการ์ดในไทยเยอะกว่าประชากรทั้งประเทศเสียอีก แล้วข้อดีของกลุ่ม Telecom คือ ปรับตัวได้รวดเร็วกว่า เก็บข้อมูลลูกค้าแบบ Bigdata รู้ความเคลื่อนไหวเราหมด และกำลังพัฒนาแอพของตัวเองให้ใช้งาน Fintech ได้หลากหลายขึ้นเช่นการโอนเงินหากันหรือโอนเงินต่างประเทศ ปีนี้กระแสนี้ในไทยน่าจะเข้มข้นขึ้นและน่าสนใจมากขึ้น
7.เว็บซื้อขายสินค้าแฟชั่นหลังจาก Zalora ถอนตัวออกไป
กระแสซื้อขายสินค้าใน Facebook Instagram ที่ผ่านมาก็ยังมีต่อเนื่องทำให้สุดท้าย Zalora ที่แข่งด้านราคาไม่ไหวก็ต้องออกจากภูมิภาคนี้ไป หลังจาก Zalora ออกไป ในไทยก็ยังมี Looksi ชื่อใหม่ที่ทาง Central เปลี่ยนชื่อจาก Zalora เดิม Zilingo ที่พยายามจะเป็นเจ้าตลาดในภูมิภาคนี้ และ Goxip จาก Hongkong ที่ระดมทุนครั้งใหม่โดยเล็งจะเข้าตลาดไทย
มาถึงสินค้าแฟชั่น high end ถ้าดูกระแสนี้จากทั่วโลก เจ้าของแบรนด์แฟชั่นluxury ต่างไม่ชอบให้สินค้าตัวเองไปอยู่ในเวบที่ขายของหลากหลายอย่าง amazon อย่างในกรณีที่เมืองจีน JD ก็ต้องตั้งเว็บแยกเพื่อขายสินค้าแฟชั่น High end และ Alibaba ก็ต้องตั้ง section ใหม่แยกออกมา
8.กำจัด Grey market เพื่อต้อนรับแบรนด์ระดับโลกเข้ามาขาย
ถ้า Alibaba และ JD อยากต้อนรับแบรนด์ระดับโลก อย่าง Samsung L’Oreal และสินค้าในเครือ Uniliver เข้ามาขายอย่างเป็นทางการ ต้องกำจัดผู้ประกอบการที่เอาของมาตัดราคาขายในเว็บของตัวเองเสียก่อน มีการศึกษาว่า สินค้าอย่าง Samsung Vaseline และ Pond’s ถูกขายอย่างไม่ได้รับอนุญาติในราคาถูกกว่าที่ขายโดยร้านค้าอย่างเป็นทางการถึง30% ซึ่งสถานการณ์นี้ Amazon ก็เผชิญอยู่กับแบรนด์อย่าง Nike, The Northface, Chanel และอื่นๆ ผู้ประกอบการเหล่านี้นอกจากขายถูกกว่า ยังมีโอกาสทำลายชือเสียงของแบรนด์นั้นๆจากการบริการ การให้ข้อมูล ที่ไม่ดี ทำให้คนซื้อมีภาพลบต่อแบรนด์มากขึ้น
9.การเข้ามาแทนที่ของ Private brand
คงไม่แปลกถ้าเราจะเข้าร้านอย่าง Watson Boots Tesco lotus แล้วเจอสินค้ายี่ห้อที่ร้านเหล่านี้ขายเอง Ecommerceทั่วโลกก็เช่นกัน กำลังตามรอย Amazon ในการออกสินค้าในแบรนด์ของตัวเองเพื่อเพิ่มกำไร อย่าง Flipkart อีกหนึ่งเว็บซื้อขายของในอินเดียตั้งเป้าว่าจะมีสินค้า Private brand เพิ่ม 20-22% ในอีก5ปี
นอกจากนี้เพื่อจะโตให้ได้สูงอย่างเดิม ecommerce ใน Asean ก็เริ่มเปิดให้บริการแบบ Pay per click มากขึ้นให้เจ้าของสินค้าที่อยากได้คนมาซื้อเยอะๆต้องไปซื้อโฆษณาจาก Lazada หรือ Shopee
10. B2c อาจจะถึงคราวอิ่มตัว แต่ B2B ยังน่าสนใจ
การแข่งขันที่สูงของตลาด B2C ขายของทีละชิ้นแบบขายปลีกเริ่มอิ่มตัว บริษัทต่างๆเริ่มอยากขายแบบ B2B หรือแบบขายส่งมากขึ้น Zilingo เว็บขายสินค้าแฟชั่นก็ออก Zilingo Asia Mall ให้คนยุโรปและอเมริกาซื้อของในราคาขายส่งเพื่อเอาไปขายต่อ
บอม
Source: https://www.acommerce.asia/ecommerce-trends-2018/
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman