มกราคม 2561 พวกเราหลายคนยังไม่ได้ใช้เงินออนไลน์ หลายท่านยังไม่เคยซื้อของออนไลน์ หลายท่านกำลังช้อปเพลินกับสินค้าจีนที่ถูกอย่างเหลือเชื่อในตลาดออนไลน์ มาดูกันว่าปีนี้ธุรกิจซื้อขายออนไลน์จะเปลี่ยนชีวิตเราขนาดไหน
ทำไมธนาคารในไทยถึงรุกหนักให้เราซื้อของ ขายของผ่านโทรศัพท์มือถือ แล้วพอถึงปลายปีมาดูกันว่าเรากลายเป็นลูกค้ากลุ่มทุนจีนแล้วหรือยัง ซุปเปอร์มาเก็ตที่เราไป ให้เราจ่ายเงินเองโดยไม่มีแคชเชียร์ได้ไหม สินค้าจากจีนเริ่มแพงแต่หลากหลายขึ้นไหม เราเริ่มกล้าที่จเปิดใจซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ไหม หรือ ปลายปีนี้จะมีท่านใดตัดสินใจระดมทุนกิจการของตัวเองด้วย ICO ไหม (ถ้า cryptocurrencies ยังไปต่อ)โดยขอแปลบทความจากเวบ ACommerce ซึ่งเขียนไว้ละเอียดมาก แต่จะแอบๆใส่ความเห็นส่วนตัวที่ได้มาจากแหล่งอื่นครับ
1.กิจการท้องถิ่นต้องเลือกข้าง
สองยักษ์ใหญ่ต่างก็ช้อปซื้อกิจการท้องถิ่นและขยายตลาดกันสนุกมือ เริ่มจาก Alibaba ที่มี Lazada เป็นผู้นำทัพ ปีที่แล้วทุ่มเงิน $1.1พันล้านซื้อ Tokopedia เพื่อหวังจะใช้โมเดล Taobao Tmall ครองทั้งตลาด B2C และ C2C
ส่วน Tencent ก็ยังใช้โมเดลเดิมที่ใช้สู้กับ Alibaba ในจีนเน้นเข้าไปในธุรกิจ เกมส์, มือถือ และ การจ่ายเงินทั้งการถือหุ้นบริษัทเกมส์เจ้าใหญ่ที่สุดในไทย Sea (Garena) ซึ่งเป็นเจ้าของ Shopee และ Go-jek ของอินโดนีเซีย
2.Amazon รุกเข้ามาใน Asean ผ่านทางสิงคโปร์
ถ้านับรายได้จากทั่วโลกของอเมซอน สิงคโปร์มีรายได้เพียงอันดับที่29เท่านั้นแต่ถ้านับเป็นรายได้ต่อหัวแล้ว สิงคโปร์ทำรายได้ให้อเมซอนอยู่ในอันดับ4 กลางปีที่แล้วอเมซอนจึงเปิดบริการ Prime now ในสิงคโปร์ให้สมาชิกสั่งซื้อของใช้ภายในครัวเรือนกว่าหมื่นชนิด ส่งถึงบ้านภายในสองชั่วโมง
ดูตามแนวโน้มแล้วอเมซอนคงไม่เปิดบริการเต็มๆในสิงคโปร์และคงไม่เข้ามาแข่งในตลาดไทยและอินโดนีเซีย ซึ่งสองยักษ์ใหญ่ในจีนมีความแข็งแกร่ง แต่ส่วนตัวเห็นว่าถ้าวันไหนมาตรฐานในการส่งสินค้าของภูมิภาคนี้รวมถึงไทยพัฒนาให้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้นทั่วประทศ Prime now น่าจะกล้าเข้ามาทำตลาดในไทย ถึงวันนั้นเราจะสามารถซื้อยาสีฟัน สบู่ และอื่นๆ รอรับของภายใน2ชั่วโมง
3.Brick and Motar เมื่อออนไลน์เริ่มรุกตลาดโลกOffline
เมื่อปีที่แล้วเทรนด์นี้ได้รับความสนใจจากผู้เล่นออนไลน์หลายรายทั้ง Amazon ซื้อ Wholefood และ Alibaba กับ เหอหม่า Pomelo ร้านขายเสื้อผ้าออนไลน์ก็เพิ่งเปิด Popup Store กลางสยามสแควร์ ลูกค้าสามารถเลือกชุดที่ต้องการซื้อผ่านทางwebsite หลังจากนั้นจะมี Email นัดไปลองชุดที่ร้านสาขาสยาม เมื่อไปลองชุดแล้วชอบ ก็สามารถจ่ายเงินที่นั่นได้ทันที
ในขณะเดียวกัน Lazada ก็ดูมีความเป็นไปได้ที่จะเปิดสาขา Offline สาขาแรกที่อินโดนิเซีย เพื่อสร้างภาพลักษณ์แบรนด์และยังช่วยเสริมการรับสินค้าเพื่ออุดรูโหว่เรื่องคุณภาพการส่งของในAsean (มารับที่ร้าน Lazada ใกล้บ้าน)
ผมคิดว่าในทุกเทรนด์ที่เกิดขึ้นปีนี้ เทรนด์นี้สำคัญที่สุดเพราะมันคือการผสมผสานระหว่างความเป็นออนไลน์กับออฟไลน์ ต่อไปนี้ร้านแฟชั่นดังๆไม่จำเป็นต้องเปิดสาขาใหญ่ๆเช่าที่แพงๆจ้างพนักงานเยอะๆใจกลางเมืองอีกต่อไป ลูกค้าที่อยากลองสินค้าสามารถสั่งสินค้าทางออนไลน์ไปก่อนแล้วไปลองที่ร้านภายหลังได้ ในทางกลับกันถ้าเราลองสินค้ากับทางร้าน แต่ไม่มีสีที่ต้องการหรือขนาดที่ต้องการ ก็สามารถสั่งซื้อสีและขนาดที่ต้องการ เพื่อจัดส่งไปถึงบ้านภายหลังได้
กรณีเดียวกันกับสินค้าที่ไม่ใช่แฟชั่นที่ลูกค้าสั่งทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันไปจนถึงสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ นอกจากนี้เมื่อดูตามสถิติแล้ว ลูกค้าที่นัดมารับของที่สั่งซื้อไว้ สุดท้ายมักจะซื้อของอื่นติดไม้ติดมือกลับไปด้วย ปีนี้ในไทยอาจจะเห็นเทรนด์นี้มากขึ้นจากห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่ในไทย
4.การระดมทุนที่ง่ายขึ้น
ปีที่แล้ว ICO หรือการระดมทุนแบบ Initial Coin Offering ถูกจุดกระแสโดย Omise ในประเทศไทย ทำให้คำถามต่อมาคือบริษัทเล็กๆที่ไม่มีความสามารถเข้าตลาดหุ้นสามารถระดมทุนเองได้จากทั่วโลกไม่ต้องพึ่งแต่เงินบาท ซึ่งกระแสนี้ยังล้อไปกับกระแส Bitcoin Fever ไปเรื่อยๆ
ศูนย์กลางการระดมทุนก็เกิดขึ้นทั่วโลก อย่าง Hamster Marketplace ซึ่งเป็น start up ทำหน้าที่เป็นแหล่งระดมทุน ICO ผ่านทาง blockchain technology ไม่มีคนกลาง ผู้ระดมทุนคือตัวผู้ผลิตเองพบปะกับผู้ซื้อโดยตรง โดยใช้เงิน HMT ซึ่งเป็น cryptocurrency เป็นตัวกลาง
5.การถอยออกไปของผู้เล่นเก่า ให้ผู้เล่นจีนเข้ามาแทน
บริษัทอย่าง Rakuten ที่ทำยอดขายได้ดีในบ้านตัวเอง แต่ก็ต้องถอนตัวจากตลาดไทย หรืออย่างกรณี Zalora ที่ขายบริษัทให้กลุ่มเซนทรัล (ตอนหลังเปลี่ยนชือเป็น Looksi)
บอม
Source: https://www.acommerce.asia/ecommerce-trends-2018/
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman