นับตั้งแต่ปี 2008 หลังวิกฤติเศรษฐกิจโลกแฮมเบอร์เกอร์ ธนาคารกลางหลักของค่ายนิยมตามก้นอเมริกา ทั้ง BOE, ECB, FED, BOJ ต่างก็อัดฉีดเงินร้อน QE เข้าระบบทั้งเพื่อมาซื้อหนี้เน่าทั้งพันธบัตรของเอกชน
เช่น พันธบัตรที่ค้ำโดยสินเชื่ออสังหาริทรัพย์ และพันธบัตรของรัฐบาลเอง เพื่อจะทำให้เอกชนทั้งธนาคารและสถาบันการเงินมีงบดุลบัญชีดูดีขึ้น เพื่อจะได้นำเงินไปกระตุันเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น ทั้งในตลาดหุ้นและการลงทุนจริง
ซึ่งการทำแบบนั้นแปลว่าธนาคารกลางใหญ่เหล่านั้น ต้องสร้างหนี้สินมากขึ้น และก็ยิ่งต้องสร้างหนี้ใหม่มาโป๊ะมารีไฟแน้นท์หนี้เก่ามากขึ้นเรื่อย และหนี้ก็สูงขึ้นไปทุกที เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้อย่างจีดีพีที่กระเตื้องขึ้นน้อยมาก
เช่น อเมริกาเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมานั้นขาดดุลงบประมาณมากขึ้นอีก เพราะต้องขยายเพดานหนี้สินไปเรื่อยๆ ไม่จบสิ้นและงบประมาณด้านความมั่นคงปลอดภัย การสงคราม และด้านการรักษาพยาบาล สวัสดิการสังคมยังเป็นภาระหลักของประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยปีนี้การขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นอีก 80,000 ล้านดอลล่าร์ รวมแล้วขาดดุลงบประมาณไปมากเป็น 666,000 ล้านดอลล่าร์ หมายถึงว่าเงินที่ต้องจ่ายมากขึ้นกว่ารายได้รับของประเทศทั้งการเก็บภาษีจากการค้าขาย ( น้อยลง เพราะว่ารบริษัทหนีไปตั้งลงทุนที่ต่างแดน เพื่อเลี่ยงการภาษี ยิ่งเก็บยากขึ้น )
U.S. government ran a budget deficit of $666 billion dollars in the 2017 fiscal year, which ended September 30. That devilish number is an $80 billion increase from fiscal 2016.
และยิ่งทรัมป์บอกว่าจะมีการตัดลดภาษีครั้งใหญ่เพื่อจะกระตุ้นการลงทุนและสร้างงานในประเทศดึงนักลงทุนบริษัทขนาดใหญ่กลับมาที่ประเทศนั้น อีกมุมหนึ่งนั้นก็จะทำให้เก็บภาษีได้น้อยลง แม้ว่าจะทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นก็ตาม ที่ยังต้องหวังพึ่งการแข่งขันหรือการบีบให้ประเทศทั่วโลกเปิดตลาดอีก เช่น สร้างสงครามเพื่อเปิดขยายตลาดการค้าอาวุธสงคราม หรือเรียกผู้นำหลายชาติไปพบที่วอชิงตัน เพื่อบีบให้ซื้อสินค้าของอเมริกา เช่นลุงตู่ เจอไปหลายดอก ทั้ง อาวุธ เครื่องบินโบอิ้ง หรือหมูอเมริกาที่มาขายใน 7-11 เป็นต้น
ขณะที่ในตลาดหลักทรัพย์นั้น การเกิดฟองสบู่มีโอกาศสูงไปเรื่อยๆทุกวัน โดยมองจากอัตราส่วนระหว่างกำไรจากผลประกอบการของบริษัทต่างๆกับราคาหุ้นที่สูงเกินจริง น้อยลงเรื่อยๆ แปลว่าบริษัทเหล่านั้นไม่ได้ประกอบการที่เกิดกำไรอย่างแท้จริง เงินปันผลไม่ได้มากขึ้น แต่ราคาหุ้นกลับสูงขึ้น ก็แปลว่าเงินที่ไปซื้อหุ้นนั้นเป็นการเก็งกำไรแค่นั้น เงินในการส่งไปลงทุนประกอบการสร้างธุรกิจ เพื่อจะให้เศรษฐกิจกลับมาดีเหมือนเดิมนั้นไม่มีเลย หรือน้อยมากไม่กี่เปอร์เซนท์ เช่นในญี่ปุ่นนั้น ขนาดต้องกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นลบ เพื่อแก้ปัญหาเงินฝืดในประเทศ เพื่อจะให้เงินหมุนเวียนและกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศที่ไร้ผลมานานหลายสิบปี
แม้ว่าเฟด พยายามจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อจะลดการไหลเวียนของเงินลงโดยอ้างว่าเศรษฐกิจดีขึ้นแล้วเพราะจริงๆกลัวฟองสบู่จะแตก กั้นเงินไหลเข้าในตลาดมากเกินไป ยิ่งจะซ้ำเติมเศรษฐกิจที่แย่ลงอีก ขณะที่พยายามจะสร้างหนี้ก้อนใหม่เพื่อมาซื้อหนี้เน่าในงบดุลที่ซื้อมาตั้งแต่ปี 2008 นั้น ก็จะเป็นหนี้อีกก้อนที่ทำให้ฟองสบู่แตกเร็วขึ้น เพราะว่าจะหาใครมาซื้อหนี้ก้อนนี้ยากเต็มที หนี้ยิ่งจะเร่งไปสู่จุดจบเร็วขึ้น
วิกฤติครั้งนี้ ถ้าเกิดจะใหญ่ที่สุดในประวัติศาตร์โลกและกระทบไปทุกส่วนทั้งผู้ที่อยู่ในและนอกตลาดหุ้น ตลาดเงิน แบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมากก่อน
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman