forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ธปท.ถกแบงก์สู้หนี้นอกระบบ ลูกค้ากลุ่มเสี่ยงสูง เปิดทางคิดดอกเบี้ยเพิ่ม

ธปท.เดินสายถกธนาคาร-น็อนแบงก์ แก้หนี้ครัวเรือน เตรียมเคาะแนวทาง “risk based pricing” ให้คิดดอกเบี้ยตามความเสี่ยงลูกหนี้ นำร่อง “สินเชื่อบุคคล” แบงก์ชาติเปิดช่องขยายเพดานดอกเบี้ยจาก 25% ต่อปี หวังดึง “กลุ่มเปราะบาง-รายได้น้อย-เสี่ยงสูง”

เข้าถึงแหล่งเงินในระบบ คาดต้นปี’67 พร้อมดำเนินการ “กรุงศรี คอนซูมเมอร์-เคทีซี-อิออน” รับลูกค้ากลุ่มเสี่ยงเกินเพดานดอกเบี้ย 25% ถูกรีเจ็กต์ “ซีไอเอ็มบี ไทย” ชงดอกเบี้ยต้องสูงกว่า 30% ต่อปี
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า จากสถานการณ์ “หนี้ครัวเรือน” ของประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจไทย โดยข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในไตรมาสที่ 4/2565 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 86.9% ของจีดีพี หรือมูลค่า 15.09 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกัน “หนี้นอกระบบ” ก็ยังเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย ทำให้คนที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินกู้ในระบบ ต้องรับภาระดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบที่สูงมาก
โดยที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้มีการหารือกับ ธปท. ถึงการวางแผนแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดยหนึ่งในแนวทางคือ การคิดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ (risk based pricing : RBP) โดยจะเริ่มต้นจากสินเชื่อส่วนบุคคล (personal loan) พร้อมกับการขยายเพดานอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้มีความสามารถเปิดรับลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเข้ามาในระบบได้มากขึ้น
ธปท.เดินสายถกแบงก์
แหล่งข่าวจากสถาบันการเงินเปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตอนนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อยู่ระหว่างพูดคุยกับสถาบันการเงินในเรื่องแนวทางการคิดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ (risk based pricing : RBP) รวมทั้งแนวทางการกำหนดสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (debt service ratio : DSR) โดยจะเริ่มจากกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งภายใน 2-3 เดือนจะมีการสรุปข้อมูลเพื่อวางแนวทางและกรอบกติกา คาดว่าภายในต้นปี 2567 จะเริ่มมาตรการดังกล่าวได้ ซึ่งเป็นมาตรการส่วนหนึ่งของการแก้หนี้ครัวเรือนยั่งยืน
ขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างการขอข้อมูลจากสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อดูว่ากลุ่มลูกค้ากลุ่มไหนที่ธนาคารปฏิเสธการปล่อยสินเชื่อ (rejection) และดูไส้ในลงลึก เช่น รายได้ต่ำกว่า 1 หมื่นบาทต่อเดือน หรืออาชีพไหนที่เลี่ยงไม่รับ เพราะดอกเบี้ยไม่คุ้มความเสี่ยง เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ธปท.จะนำไปพิจารณา และจะกลับมาคุยร่วมกันอีกรอบ
ขยายเพดานดอกเบี้ยพีโลน
โดยหลังจากสรุปข้อมูล ธปท.จะมีการกำหนดกรอบการขยับอัตราดอกเบี้ย จากปัจจุบันสินเชื่อส่วนบุคคล ความเสี่ยงสูงสุดที่ธนาคารรับได้มีเพดานดอกเบี้ยสูงสุดอยู่ที่ 25% ต่อปี ดังนั้นหากขยับขึ้นให้ เช่น เพิ่มขึ้น 2-3% หรือสามารถคิดได้ 27-28% ต่อปี อย่างไรก็ดี ต้องดูข้อมูลว่าธนาคารจะรับกลุ่มเสี่ยงเข้ามาเพิ่มได้มากน้อยแค่ไหน ขณะที่ในส่วนของลูกค้าดี จะเห็นว่าแต่ละธนาคารจะมีดอกเบี้ยพิเศษให้ เช่น อัตราดอกเบี้ยประมาณ 13-14% ต่อปี ซึ่งตรงนี้ ธปท.ก็สนับสนุนให้ธนาคารทำต่อเนื่อง
“ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้จะมีการนัดหารือกับ ธปท.เพิ่มเติม โดยเบื้องต้น ธปท.จะดูว่าจากเพดานดอกเบี้ย 25% ต่อปี เป็นจุดที่แบงก์รับความเสี่ยงสูงสุด ซึ่งมีบางกลุ่มที่ถูกปฏิเสธสินเชื่อ เพราะมองว่าความเสี่ยงสูง ชาร์จดอกเบี้ยไม่คุ้ม มีกลุ่มไหนบ้าง
หาก ธปท.ขยับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจะปล่อยหรือไม่ ซึ่งแบงก์ชาติจะมีโมเดลมา และธนาคารไหนจะทำก็เซ็นเอ็มโอยู ไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมทุกแบงก์ คาดว่าแนวทางที่มีการพูดคุยและตกผลึกภายใน 6 เดือน ต้นปีหน้าเริ่มขยายเพดานดอกเบี้ยได้ ซึ่งจะช่วยลูกค้าที่มีความเสี่ยงเข้ามาในระบบ โดยจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้น แต่ก็ยังถูกกว่าดอกเบี้ยนอกระบบ 40-50% ต่อปี”
กำหนด DSR ไม่ให้มีหนี้เกินตัว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะเดียวกันเพื่อไม่ให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อเกินตัวลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้มีเงินเหลือใช้จ่าย ธปท.มีแนวคิดที่จะกำหนดสัดส่วน “ภาระหนี้ต่อรายได้” หรือ DSR โดยมีอยู่ด้วยกัน 2 แนวทาง คือ 1.การกำหนดสัดส่วนชัดเจนเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) เช่น DSR ไม่เกิน 80% ของรายได้ และ 2.จะพิจารณาว่าลูกหนี้จะต้องมีเงินเหลือแต่ละเดือนสำหรับใช้จ่ายเท่าไหร่ เช่น กลุ่มรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน เป็นกลุ่มที่เซนซิทีฟ คำนวณแล้วต้องเหลือ 5,000 บาท เป็นต้น
อย่างไรก็ดี แนวทางการทำเรื่องของ DSR ยังคงทำได้ค่อนข้างยาก เพราะอาจทำให้ลูกค้าบางส่วนหลุดออกนอกระบบได้ ธปท.จึงจะเน้นเรื่อง risk based pricing ก่อน
อิออนเขย่าพอร์ตอาชีพ-รายได้
นายนันทวัฒน์ โชติวิจิตร กรรมการบริหาร ฝ่ายการตลาด บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แนวทางการคิดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ (risk based pricing) เป็นเรื่องที่มีการพูดคุยกับ ธปท.มาอย่างต่อเนื่อง แต่การจะปรับอัตราดอกเบี้ยจะต้องมีเกณฑ์การกำหนดความเสี่ยง (risk rating) ของลูกค้าที่ชัดเจน เนื่องจากลูกค้าแต่ละสถาบันการเงินมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน จึงต้องมีเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ทั้งนี้ การพิจารณาการปล่อยสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัท โดยมีทั้งลูกค้าที่ได้รับการอนุมัติ และกลุ่มที่ถูกปฏิเสธสินเชื่อ สัดส่วนเท่ากัน 50% กลุ่มที่ไม่ผ่านการพิจารณาจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ทำงานไม่ครบ 6 เดือน รายได้ขั้นต่ำไม่ถึง 8,000 บาทต่อเดือน กลุ่มอาชีพอิสระ หรือกลุ่มรายได้ประจำ แต่เกี่ยวข้องกับภาคการส่งออก ซึ่งปัจจุบันได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และการย้ายฐานการผลิต ตลอดจนกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ยังคงมีความเปราะบาง
ส่วนกลุ่มที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อ และเป็นกลุ่มที่เน้นมากขึ้น เช่น ข้าราชการ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเสถียร ไม่อ่อนไหวกับเศรษฐกิจ รวมถึงกลุ่มพนักงานที่อยู่ในอุตสาหกรรม เครื่องมือแพทย์ หรือเฮลท์แคร์ เป็นต้น
“แนวทางของ ธปท. โดยคอนเซ็ปต์ถือว่าค่อนข้างดีที่จะช่วยลูกค้ากลุ่มเสี่ยงเข้าระบบ แต่ ธปท.อาจต้องหาวิธีการที่ลงตัว ทั้งกลุ่มที่อยู่ under charge และกลุ่ม over charge เพราะลูกค้าแต่ละแห่งมีไส้ในและความเสี่ยงไม่เหมือนกัน โดยในส่วนของอิออนพยายามบริหารพอร์ตลูกค้า กลุ่มไหนเสี่ยงสูงก็ลด และเพิ่มกลุ่มที่ดีเข้ามา ทำให้ยอดปฏิเสธสินเชื่อและอนุมัติทรงตัวอยู่ที่ 50%”
CIMBT เสนอ ดบ. 30% คุ้มเสี่ยง
นายเอกสิทธิ์ พฤฒิพลากร ผู้บริหารผลิตภัณฑ์ธุรกิจรายย่อย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แนวทางนโยบายการคิดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกค้าของ ธปท. เป็นนโยบายแก้หนี้ และช่วยลดหนี้ครัวเรือนในระยะยาว แต่การจะปรับเพดานอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคลเพื่อให้ครอบคลุมความเสี่ยง อาจจะต้องสูงกว่า 30% ต่อปี จากปัจจุบันอยู่ที่ 25% ต่อปี เนื่องจากลูกหนี้มีความเสี่ยงสูง รวมทั้งมีความเสี่ยงที่จะไหลไปเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ได้ในอนาคต
แนวทางการขยับเพดานดอกเบี้ยน่าจะเข้ามาช่วยผู้ประกอบการที่มีการปล่อยสินเชื่อในกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยง และคิดดอกเบี้ยชนเพดานที่ 25% ถือเป็นการเปิดช่องให้สามารถรับลูกค้าเสี่ยงเพิ่มขึ้น หลังจากที่ผ่านมากลุ่มนี้ไม่ผ่านเกณฑ์ และบางส่วนต้องออกไปใช้บริการหนี้นอกระบบ อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินที่จะเข้าร่วมจำเป็นต้องมีระบบพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ เพราะต้นทุนและความเสี่ยงสูงขึ้น
ทั้งนี้ หากดูในพอร์ตของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จะพบว่าพอร์ตสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีการคิดอัตราดอกเบี้ยเกิน 21% ต่อปี มีสัดส่วนประมาณเพียง 7% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด โดยที่เหลือจะคิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 13-14% เนื่องจากธนาคารเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีวินัย และมีการคิดดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกค้าอยู่แล้ว โดยฐานลูกค้าประมาณ 2 ใน 3 หรือประมาณ 75% มีรายได้เกิน 5 หมื่นบาทต่อเดือน และอีก 25% มีรายได้เฉลี่ย 3-5 หมื่นบาทต่อเดือน ส่งผลให้ภาพรวมอัตราการอนุมัติสินเชื่อเฉลี่ยอยู่ที่ 40% สูงกว่าตลาดที่อยู่ 30% และอัตราการปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่ 60% และตลาดอยู่ที่ 70%
“ลูกค้ามีความเสี่ยงก็คิดดอกเบี้ยสูง ช่วยคนที่เครดิตพอไปได้เข้ามาอยู่ในระบบ ซึ่งซีไอเอ็มบี ไทย ก็สนใจเข้าร่วม เพราะเชื่อว่ามีระบบที่รองรับได้ ทั้งนี้ ปัจจุบันเรามีพอร์ตสินเชื่อบุคคลราว 6,000 ล้านบาท และหนี้เสียประมาณ 3%”
เสี่ยงสูงไม่คุ้มดอกเบี้ยโดนรีเจ็กต์
นางสาวพิชามน จิตรเป็นธรรม ผู้บริหารสูงสุดสายงานสินเชื่อบุคคล บริษัท บัตรกรุงไทย (KTC) เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เคทีซีจะมีการพูดคุยกับ ธปท. ในเรื่องแนวทางการคิดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดว่าทิศทางจะไปทางไหน
อย่างไรก็ดี ในอดีตเคทีซีมีการปล่อยสินเชื่อกลุ่มเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง แต่หลังจาก ธปท.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลจาก 28% ต่อปี ลงมาเหลือ 25% ต่อปี ทำให้เคทีซีจำเป็นต้องคัดลูกค้าที่มีเครดิตสกอริ่งกลุ่มเสี่ยงเกินกว่า 25% ต่อปีออก เพราะมีความเสี่ยงสูงเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่คิดกับลูกค้า โดยลูกค้าที่ถูกปฏิเสธสินเชื่อค่อนข้างกระจาย หลากหลายรายได้และอาชีพ
“ยอมรับว่าหลังจากที่ ธปท.ปรับลดเพดานสินเชื่อบุคคลให้เหลือ 25% ต่อปี ลูกค้าที่เราเคยปล่อยในอัตราดอกเบี้ยชนเพดานเดิม 28% ต่อปี ตอนนี้เราไม่ปล่อยเลย เพราะไม่คุ้มกับความเสี่ยง หากมีการขยายดอกเบี้ยให้เป็นไปตาม risk based pricing ก็น่าจะดึงคนที่เคยถูกปฏิเสธเข้ามาอยู่ระบบได้มากขึ้นR
กรุงศรีฯขานรับขยับดอกเบี้ย
นางสาวณญาณี เผือกขำ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ได้มีการหารือกับ ธปท. เรื่องการคิดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงในระดับหนึ่ง ซึ่งยังต้องมีการหารือเพิ่มเติม ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยง และมีความต้องการใช้วงเงินสินเชื่อเข้ามาในระบบได้บ้าง
“การขยับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถรับกลุ่มเสี่ยงได้มากขึ้น ถือเป็นแนวทางหนึ่ง ซึ่งคงจะปรับเพิ่มได้ระดับหนึ่ง ธปท.น่าจะทยอยขอความคิดเห็นผู้ประกอบการ โดย ธปท.จะมีการพิจารณาความคิดเห็นทั้งหมด และออกมาเป็นแนวทาง ซึ่งต้องรอดูความชัดเจนของ ธปท.อีกครั้ง”
หนี้ส่วนบุคคลแตะ 1.33 ล้านล้าน
นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หากดูตัวเลขหนี้ครัวเรือนของ ธปท. ในไตรมาสที่ 4/2565 สัดส่วน 86.9% ของจีดีพี หรือมูลค่า 15.09 ล้านล้านบาท แยกเป็นส่วนที่มาจากสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล 8.8% หรือประมาณ 1.33 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 1.27 ล้านล้านบาท หรือราว 8.5% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด และคาดว่าไตรมาสที่ 1/2566 น่าจะขยับเพิ่มขึ้น
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"