forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ผลสำรวจ ‘เฟทโก้’ แบงก์ไทย NPL มากสุดในกลุ่มอาเซียน พบหนี้เสียพุ่ง 4%

เฟทโก้ เปิดภาพรวมแบงก์ 6 ประเทศอาเซียน พบธนาคารในไทย 3 อันดับแรกที่มีสินทรัพย์มากที่สุด มีหนี้เสียมากสุดในอาเซียน ที่ 9.6พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.69%ของหนี้รวม ขณะที่หนี้ที่มีปัญหาของไทยอยู่ที่ 4% แต่สำรองหนี้สูงของแบงก์ไทยสูงต่อเนื่อง

ล่าสุด สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดรายงาน Aspects in Stability of Banking Industry in ASEAN ถึงภาพรวมสถาบันการเงินใน 6 ประเทศอาเซียน โดยประกอบด้วย สิงคโปร มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย
​ โดยในด้านการปล่อยสินเชื่อ เทียบกับสัดส่วนสินเชื่อที่มีปัญหา (Loan Problem)เมื่อเทียบกับการสำรองหนี้สูญ พบว่า ธนาคารในประเทศไทย มีสัดส่วนหนี้ที่มีปัญหา ราว 4% ขณะเดียวกันมีการสำรองเงินเผื่อหนี้สูญ ในระดับสูงต่อเนื่อง
และหากดูภาพรวมหนี้เสีย สำหรับธนาคารที่มีสินทรัพย์ หรือ Total Asset สูงสุด 3 อันดับแรก พบว่า มูลค่ารวมของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล ของธนาคาร 3 อันดับแรกของประเทศไทย คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่อยู่ภายใต้ SCBx ถัดมาคือ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกสิกรไทยมีค่ามากกว่า 9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 1.69% ของ หนี้ทั้งหมด
​ ขณะที่หนี้เอ็นพีแอล ของธนาคาร 3 อันดับแรกในฟิลิปปินส์ มีค่ามากกว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 1.23% ของหนี้ทั้งหมด ถัดมาคือ อินโดนีเซีย โดย3 อันดับของธนาคารในอินโดมี มูลค่าหนี้เสียมากกว่า 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 1.21%ของหนี้ทั้งหมด
และหากดู งบดุล หรือ Balance Sheet ของ 6 ประเทศในกลุ่มอาเซียน ในปี 2565 ที่ผ่านมา เทียบกับจีดีพีของแต่ละประเทศ พบว่า สิงคโปร์ มีบัญชีลูกหนี้และเงินฝากจากลูกค้า ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินสูงที่สุดในอาเซียน ในปี2565 และเทียบกับจีดีพีของประเทศ
ขณะที่ประเทศไทย เวียดนาม มาเลเซีย มีสัดส่วนลูกหนี้ เงินฝาก ในระดับที่ใกล้เคียงกันเมื่อเทียบกับ จีดีพีของและประเทศ ประเทศไทย มีเงินฝากจากธนาคารสูงที่สุดใน 6 ประเทศ จำนวน 55,399 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 17% ของจีดีพี
ส่วนภาพรวม สินเชื่อและสัดส่วนหนี้ที่มีปัญหา พบว่า ธนาคารในเวียดนาม มีแนวโน้มการเติบโตของการปล่อยกู้มากขึ้น อย่างไรก็ตามพบเงินสำรองหนี้สูญในปี 2553 ติดลบสูงถึง 25.68% หลังจากนั้น จำนวนเงินสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับติดลบ
หากดูในด้านเงินฝาก หากเทียบกับจีดีพีของประเทศ พบว่า ประเทศสิงคโปร เป็นประเทศที่มีจำนวนเงินฝาก ต่อจีดีพีสูงที่สุด ประเทศไทย และเวียดนาม มาเลเซีย รองลงมาและอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน
ส่วนเงินฝากระยะสั้นต่ำกว่า 1ปี ฟิลิปปินส์ มีเงินฝากระยะสั้นประมาณ 60%แต่เป็นประเทศที่มีจำนวน เงินฝากน้อยที่สุด
ส่วนโครงสร้างเงินฝากของประเทศไทย เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเงินฝากระยะสั้น เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2017
และหากดูเงินฝากและสินเชื่อพบว่า สัดส่วนการปล่อยกู้ของธนาคาร เทียบกับเงินฝาก เวียดนามเคยปล่อยกู้เกิน 100%ของเงินฝากในปี 2553 และปี 2554
โดยสรุป ในปี 2565 ประเทศสิงคโปร เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงด้าน Economic Risk ต่ำที่สุดและภาคธุรกิจธนาคารยังเป็นประเทศที่มีการปล่อยหนี้ และเงินฝาก จากลูกค้ามากที่สุด เมื่อเทียบกับจีดีพีประเทศ ขณะที่ธนาคารที่มีการดำเนินงานในประเทศมาเลเซีย มีจำนวนธนาคารมากที่สุด 311 ธนาคาร
ขณะที่ธนาคารในประเทศไทย มีจำนวน น้อยที่สุด คิดเป็น 58 ธนาคารเท่านั้น เมื่อเทียบกับ6ประเทศอาเซียน
และธนาคารในประเทศไทย มีสัดส่วน หนี้ที่มีปัญหาประมาณ 4%ขณะเดียวกันธนาคารของประเทศไทย มีการสำรองเงินเผื่อหนี้สูญในระดับที่มากกว่าหนี้ที่มีปัญหาในสัดส่วนที่สูงต่อเนื่อง และสัดส่วนบัญชีเงินฝากระยะสั้นของไทย น้อยกว่า 1ปี มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง นับตั้งแต่ ปี 2560
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"