เรื่องทุนสำรองมักปรากฏเป็นข่าวอยู่เสมอ เช่น ศรีลังกาขาดแคลน ทุนสำรองจนไม่สามารถนำเข้าน้ำมันได้เพียงพอ หรือไทยมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศเข้มแข็งจากทุนสำรอง 245,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งสูงเป็น อันดับที่ 12 ของโลก ทุนสำรอง
เชื่อมโยงกับเสถียรภาพด้านต่างประเทศ อย่างไร วันนี้จะชวนท่านผู้อ่านมาทำ ความเข้าใจแบบง่าย ๆ กันครับ
"เงินสำรองระหว่างประเทศ" หรือที่ เรียกสั้น ๆ ว่า "ทุนสำรอง" หมายถึง เงินตราและสินทรัพย์ในสกุลเงินตรา ต่างประเทศ รวมถึงทองคำ ที่ธนาคาร กลางถือครองและบริหารจัดการอยู่ เพื่อใช้หนุนหลังการพิมพ์ธนบัตร ดูแล เสถียรภาพด้านต่างประเทศ สร้างความเชื่อมั่นให้กับคนไทยและคนต่างชาติทั่วโลก
การใช้ทุนสำรองหนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรอาจทำความเข้าใจได้ไม่ยาก แต่ทุนสำรองเกี่ยวพันกับเสถียรภาพด้านต่างประเทศอย่างไร ? เรื่องนี้เกี่ยวพัน กับความเชื่อมั่นในการค้าและการลงทุนครับ หากบริษัทต่างชาติขายสินค้าให้กับบริษัทไทย ต่างชาติย่อมต้องการให้จ่ายเป็นเงินดอลลาร์ บริษัทไทยต้องนำ เงินบาทไปแลกซื้อเงินดอลลาร์ในตลาด อัตราแลกเปลี่ยน
หากอุปทานที่จะขายเงินดอลลาร์แลก เป็นเงินบาทไม่เพียงพอ ราคาเงินดอลลาร์ จะแพงขึ้น เท่ากับว่าเงินบาทจะอ่อนค่าลง ซึ่งในกรณีที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าเร็วและ แตกต่างจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจมาก ธนาคารกลางสามารถนำเงินดอลลาร์ที่มีอยู่ในทุนสำรองมาขายแลกเงินบาทได้ เพื่อทำให้อุปทานและอุปสงค์ของอัตราแลกเปลี่ยนกลับมาสมดุลและค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ
หากบริษัทต่างชาติเชื่อมั่นว่าบริษัทไทย จะสามารถแลกเงินดอลลาร์มาชำระค่าสินค้าได้เสมอ ต่างชาติจะมีความมั่นใจในการค้าขายกับไทย เช่นเดียวกัน หาก ต่างชาติที่มาลงทุนในไทยเชื่อมั่นว่าจะสามารถแลกเงินบาทกลับเป็นเงินดอลลาร์ได้เสมอ ณ อัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ ไม่อ่อนค่าลงมาก ต่างชาติ จะมีความมั่นใจต่อการลงทุนในไทย ไม่ว่า จะเป็นการให้กู้ยืมเงิน การซื้อหุ้นและพันธบัตร ไปจนถึงการลงทุนโดยตรง
คำถามต่อมาคือ แต่ละประเทศควรมีทุนสำรองมากเพียงใด ตัวชี้วัดที่นักลงทุน ต่างชาติมักใช้ดูเบื้องต้นเป็น rule of thumb คือ สัดส่วนทุนสำรองต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และสัดส่วนทุนสำรองต่อมูลค่าการนำเข้า
หากเราจะให้ใครกู้ยืมเงิน คงต้องมั่นใจ ก่อนว่าผู้กู้จะจ่ายเงินคืนได้ในอนาคต ซึ่งดูได้ จากเงินออม หนี้เดิมที่มีอยู่ก่อน และรายได้ รายจ่าย ว่าผู้กู้จะเหลือเงินมาคืนหนี้ได้ไหม ทำนองเดียวกันในระดับประเทศ เราจะดูจาก มูลค่าทุนสำรอง หนี้ต่างประเทศ และการ ส่งออกนำเข้า โดยสมมุติว่าประเทศนั้น ๆ หาเงินตราต่างประเทศมาเพิ่มไม่ได้ชั่วคราว เช่น ส่งออกสินค้าไม่ได้ หรือไม่สามารถกู้ยืมเงินตราต่างประเทศได้
หนี้ต่างประเทศระยะสั้นหมายถึง หนี้ที่ จะมีกำหนดใช้คืนทั้งหมดในระยะเวลา 1 ปีข้างหน้า ดังนั้น rule of thumb คือ ประเทศควรจะมีสัดส่วนทุนสำรองต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นมากกว่า 1 เท่า นั่นคือ แม้ไม่มีรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศเข้ามาเลย ประเทศยังมีเงินตราต่างประเทศมาจ่ายคืนได้อีก 1 ปี โดยไม่ผิดนัดชำระหนี้ โดยประเทศไทยมีสัดส่วนทุนสำรองต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นมากถึง 3 เท่า ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาก
นอกจากนี้ ประเทศยังคงต้องนำเข้าสินค้าที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง เช่น น้ำมันและอาหาร ดังนั้น rule of thumb คือ ประเทศควรจะมีทุนสำรองเพียงพอที่จะนำเข้าได้มากกว่า 3 เดือน ซึ่งในระหว่างนั้น ประเทศน่าจะสามารถหาทางแก้ไขปัญหา ได้ สำหรับประเทศไทยมีสัดส่วนทุนสำรอง ต่อมูลค่าการนำเข้ามากถึง 11 เดือน สูงกว่าเกณฑ์เช่นกัน
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ขอยกตัวอย่าง "ศรีลังกา" ที่กำลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในขณะนี้ ศรีลังกามีเศรษฐกิจขนาดเล็ก ที่พึ่งพิงการท่องเที่ยวและการส่งออกใบชาเป็นหลัก จึงมีรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศไม่มาก และต้องพึ่งพิงการกู้ยืมจากต่างประเทศ ทว่าโควิด-19 ทำให้ ภาคการท่องเที่ยวซบเซาลง และในปีก่อน รัฐบาลได้จำกัดการนำเข้าปุ๋ยเคมีทำให้ผลผลิตใบชาลดลงไปครึ่งหนึ่ง ส่งผลให้ รายได้หายไป แต่ยังมีหนี้ต่างประเทศที่ต้องจ่าย ทุนสำรองของศรีลังกาจึงลดลงมาก สัดส่วนทุนสำรองต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นอยู่ที่ 0.2 เท่า และสัดส่วนทุนสำรองต่อมูลค่าการนำเข้า เหลือเพียง 1.2 เดือน ส่งผลให้ต่างชาติ ขาดความเชื่อมั่น ไม่กล้าให้กู้ยืมเพิ่มเติม เงินรูปีอ่อนค่าลงอย่างมาก ทำให้การ นำเข้าสินค้ายิ่งแพงขึ้นโดยเฉพาะน้ำมัน ส่งผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นมาก
ล่าสุด ศรีลังกาขาดแคลนเงินตราต่างประเทศที่จะนำเข้าน้ำมันเพื่อผลิตไฟฟ้า ทำให้ต้องดับไฟฟ้าทั่วประเทศชั่วคราวเป็นเวลา 7 ชั่วโมงในวันที่ 1 มี.ค. 2565
แม้ว่าทุนสำรองที่ลดลงจะไม่ใช่ ต้นเหตุของวิกฤตในศรีลังกา แต่เป็น ตัวชี้วัดเสถียรภาพด้านต่างประเทศ ที่สำคัญ คาดว่าศรีลังกาจำเป็นต้อง ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ ต่างประเทศ และอาจต้องเข้าโปรแกรม กู้เงินจากไอเอ็มเอฟ เพื่อให้ประเทศมีทุนสำรองเพียงพอที่จะเดินหน้า ได้อีกครั้งครับ
คอลัมน์ ร่วมด้วยช่วยคิด: นิธิสาร พงศ์ปิยะไพบูลย์
ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท.
หมายเหตุ - บทความนี้เป็นข้อคิดเห็น ส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้อง กับข้อคิดเห็นของหน่วยงานที่ผู้เขียน สังกัด
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you