ตั้งการ์ดให้พร้อม รับมือโลกแบ่งขั้ว

สถานะของประเทศมหาอำนาจ อย่างสหรัฐฯ ยักษ์ใหญ่ของโลกกำลังถูกสั่นคลอนจากเหตุการณ์ระหว่างประเทศ หลายครั้งหลายครา กลายเป็นรอยร้าวของโลกที่ชัดเจนขึ้นทุกวัน
ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน

เดินทางไปเยือนซาอุดิอาระเบียในช่วงปลายปี 2565 ได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ ชนิดตบหน้าประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ที่ได้เดินทางมาเยือนซาอุดิอารเบียในช่วงกลางปี 2565 จนเกิดการเปรียบเทียบว่าเป็นการต้อนรับที่แตกต่างอย่างลิบลับ จีนยัง ไม่หยุดแค่นั้น เมื่อเดือนที่ผ่านมาได้ เดินหน้าใช้ความสัมพันธ์ทางการฑูต เข้าไปเป็นกาวใจให้กับอิหร่านและซาอุดีอาระเบียที่ขัดแย้งมายาวนานให้สามารถสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันได้อีกครั้ง อันสร้างความประหลาดใจให้ชาวโลก
แต่ก็ใช่ว่าสหรัฐฯ จะยอมให้ถูกท้าทายอยู่เพียงฝ่ายเดียว ในอีกด้านหนึ่งการไปมาหาสู่กันระหว่างผู้นำไต้หวันและสหรัฐฯ ทั้งการเดินทางไปเยือนไต้หวัน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 ของนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้น และล่าสุดในเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ไช่ อิง-เหวิน ประธานาธิบดีไต้หวัน ก็ได้เดินทางไปพบกับเควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ที่แคลิฟอร์เนียเช่นกัน การเหยียบจมูกเสือครั้งนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับจีน และเพิ่มดีกรีความตึงเครียดระหว่างจีน สหรัฐฯ และไต้หวันเพิ่มสูงขึ้นไม่น้อย
ขณะที่ผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียยูเครนที่ยืดเยื้อมานานกว่า 1 ปี ก็ยังไม่มีทีท่าสิ้นสุด เราได้เห็นมหาอำนาจโลกเริ่มแบ่งฝักแบ่งฝ่ายชัดเจน ระหว่างสหรัฐอเมริกา - สหภาพยุโรป ที่สนับสนุนยูเครน กับอีกฝั่งหนึ่งคือ จีน อินเดีย และชาติพันธมิตร ในตะวันออกกลางที่เป็นพันธมิตรของรัสเซีย สงครามไม่เพียงสร้างผลกระทบ ทั้งในเรื่อง ของการสูญเสียชีวิต ยังส่งผลกระทบทาง เศรษฐกิจ ห่วงโซ่การผลิตรวมถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลไปทั่วโลก
สำนักเศรษฐกิจสำคัญของโลกได้ประเมินความเสี่ยงที่ฉุดรั้งเศรษฐกิจโลกในปีนี้ โดยให้น้ำหนักกับเรื่องของเงินเฟ้อเป็นอันดับ 1 แต่ปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้ลำดับ ถัดมาคือเรื่องของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risk) นี้เอง
ก่อนหน้านี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF คาดการณ์ว่าการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของโลกจะสูญหายไป 1.5% ซึ่งการค้าโลกที่ถูกแบ่งเป็น 2 ขั้วนี้ได้สร้างความเสียหายเป็นมูลค่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ภูมิภาคเอเชียอาจได้รับผลกระทบที่รุนแรงเป็น สองเท่า หรือมากกว่า 3% ของ จีดีพีเนื่องจากภูมิภาคเอเชียมีการบูรณาการเข้ากับห่วงโซ่คุณค่าโลก (Global Value Chains - GVC) มากขึ้น
ขณะที่ ประธานธนาคารกลางยุโรป หรือ อีซีบี มองว่า ความขัดแย้งของ 2 ขั้วอำนาจนี้เองจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลก อ่อนแอและภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูงต่อเนื่องโดยอ้างถึงข้อมูลในอดีตว่า "ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์นำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูง อยู่เสมอ" โดยเฉพาะระบบห่วงโซ่อุปทานต้องแบ่งแยกด้วยความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เงินเฟ้อจะปรับขึ้นไปที่ 5% ในเวลาอันใกล้และ 1% ในระยะยาว
แน่นอนว่าความขัดแย้งระหว่างขั้วอำนาจของโลกและสงครามรัสเซีย-ยูเครนย่อมส่งผลกระทบต่อการค้าโลก โดยองค์การการค้าโลก (WTO) คาดการณ์ว่าในปี 2566 การค้าโลกจะขยายตัว 1.7% ชะลอลงจากปี 2565 ที่ขยายตัว 2.7% และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 12 ปีที่ผ่านมาซึ่งมีการขยายตัว 2.6%
การแยกขั้วทางเศรษฐกิจ (Decoupling) ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทั้งด้านการค้า การลงทุน และเทคโนโลยี มีการคาดการณ์ว่า อาจนำพาโลกเข้าสู่สงครามเย็นยุคใหม่ ที่มีรูปแบบแตกต่างไปจากสงครามในอดีต ที่แน่ๆ ความขัดแย้งของสองประเทศมหาอำนาจย่อมส่งผลต่อห่วงโซ่การผลิตและการค้าโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราได้เห็นข่าวที่รัฐบาลสหรัฐฯ สั่งห้าม เจ้าตลาดชิปอย่าง Nvidia และ AMD ไม่ให้ ส่งออกชิปไปยังประเทศจีน ส่งผลกระทบต่อบริษัทเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ รวมถึงภาพของห่วงโซ่การผลิต ที่ค่อยๆ เปลี่ยนไปจากการย้ายฐานการผลิต ของธุรกิจในสหรัฐฯ ที่เลือกถอนจากประเทศจีนมาตั้งฐานการผลิตที่เวียดนามแทน
ขณะที่รัฐบาลจีนเองดูเหมือนจะไม่ให้น้ำหนักกับความพยายามกีดกันของสหรัฐฯ มากนัก หากแต่ได้มองข้ามช็อตไปไกล ด้วยการประกาศให้ความสำคัญกับการผลักดันความเป็นผู้นำเทคโนโลยีของโลก พยายามพัฒนารากฐานด้านเทคโนโลยีสุดล้ำด้วย ตัวเอง และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการสร้าง นวัตกรรมและเทคโนโลยี
ในสุนทรพจน์ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ที่ได้กล่าวในการประชุมสมัชชาใหญ่ พรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 20 ช่วงปลายปี ที่ผ่านมาไม่เพียงย้ำถึงความมุ่งมั่นในการรวมไต้หวันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในแผ่นดินใหญ่ เท่านั้น เขายังเน้นย้ำเรื่องการพัฒนา
เศรษฐกิจ รวมถึงการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของจีนในระยะข้างหน้าด้วย จึง ไม่แปลกใจที่เราจะได้เห็นรัฐบาลและผู้นำจีน พยายามออกไปสร้างความสัมพันธ์กับ ประเทศเล็กๆ ทั้งในละตินอเมริกา หรือในเอเชีย เพื่อเข้าถึงแหล่งแร่หายาก (Rare Earth) ที่จะใช้ในการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี เพราะจีนทราบดีว่า จะช่วยรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันทางเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ-จีนได้
ในความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์และสงครามการค้านี้เอง ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ประเมินว่า กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น AI หรือ Quantum Computing เป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่ด้วยประเทศไทยเอง ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมเดิม จึงยังไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก
ไม่เพียงการค้าและการลงทุน สหรัฐฯ ยังถูกจีนท้าทายในแง่ของบทบาททางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสกุลเงินดอลลาร์ที่เป็นสกุลเงินหลักของโลกอาจจะเสียพื้นที่ตลาดการชำระเงินโลกให้กับสกุลเงินหยวนในอนาคต หลังจากที่รัฐบาลจีนมีนโยบายที่จะผลักดันเงินสกุลหยวนไปสู่การเป็นสกุลเงินหลักของโลก ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเริ่มเห็นบทบาทที่ชัดเจนมากขึ้นในช่วงสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่รัสเซียหันมาใช้หยวนเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศถึง 1 ใน 3 ทีเดียว
ล่าสุด สมาคมเพื่อการโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก หรือ สวิฟต์ (SWIFT) ได้รายงานว่า เงินหยวนได้กลายเป็นสกุลเงินที่ใช้มากที่สุดสำหรับการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนในจีน แซงหน้า ดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2566 จากการที่จีนได้ใช้เงินหยวนซื้อสินค้าโภคภัณฑ์จากรัสเซียเพิ่มขึ้นมากในช่วงปีที่ผ่านมา และได้ใช้เงินหยวนเกือบทั้งหมดในการซื้อน้ำมัน ถ่านหิน และโลหะบางประเภท แทนการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากรัสเซียแล้วยังมีอีกหลายประเทศที่ยอมรับเงินหยวนเป็นสกุลเงินเพื่อการชำระสินค้าและบริการโดยตรง ปัจจุบันธนาคารกลางของจีนได้เซ็นสัญญาร่วมกับกลุ่มธนาคารกลางใน 40 ประเทศ/ภูมิภาคทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนเงินตรากันโดยตรงระหว่าง 2 ประเทศ โดยไม่ต้องไปเปลี่ยนเป็น สกุลเงินกลางอย่างดอลลาร์และยูโรก่อน ขณะที่ประเทศไทยเอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็มีแผนผ่อนคลายข้อจำกัดให้กับสถาบันการเงินและลูกค้าในการใช้บาท-หยวน ในการทำธุรกรรมชำระสินค้าและบริการได้ภายในปีนี้ เพื่อส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้องถิ่นมากขึ้น และเพื่อลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
เมื่อต้องอยู่ในวงล้อมการห้ำหั่นของประเทศยักษ์ใหญ่ เราควรจะอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งได้อย่างที่เรียกว่า "อยู่เป็น" ไม่หลงไปในอยู่ในวงล้อมของสงคราม ซึ่งบทความเรื่อง DEGLOBALIZATION กับเศรษฐกิจไทย ในวารสารพระสยาม ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มีนาคม 2566 ที่เขียนโดย ดร.ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการ อาวุโส ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ให้แนวทางการรับมือว่าไทยควรเพิ่มสัดส่วนของการส่งออกสินค้าไทยในตลาดโลก เพื่อชดเชยอัตราการขยายตัวที่ต่ำของการค้าโลก ด้วยการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกไทย ในตลาดโลก รวมถึงการหา Product Champion ใหม่ๆ สร้างความยั่งยืนของการท่องเที่ยวต่างประเทศ ช่วยชดเชยการชะลอตัวของการส่งออกสินค้ารวมถึงการกระจายความเสี่ยงไปสู่การส่งออกบริการอื่นๆ ที่ใม่ใช่การท่องเที่ยว เช่น บริการด้านการเงิน บริการด้านไอที และการให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
และข้อสุดท้ายที่น่าสนใจคือ ใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส ใช้โอกาสของแนวโน้มการแตกออกของห่วงโซ่การผลิตโลกในการดึงดูดการลงทุนจากทั้งสองขั้วความ ขัดแย้ง ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ด้วยการ เป็นพันธมิตรกับทั้งสองประเทศ
อย่างไรก็ตามความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีนกระทบต่อเงินเฟ้อ และ มาตรการกีดกันทางการค้าต่าง ๆ กระทบต่อมูลค่าการค้าโลกให้มีแนวโน้มชะลอ ตัวลง โดยระหว่างปี 2551-2564 การค้าโลก ขยายตัวเฉลี่ย 4.2% ต่อปีลดลงจากช่วงปี 2541-2550 ที่เติบโตได้ 9.9% และ มองไปข้างหน้าแล้ว ยังไม่เห็นแนวโน้ม การค้าโลกจะกลับเติบโตสูงกว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมาได้ ซึ่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากการค้าโลกที่ชะลอลง น่ากลัวกว่า ผลกระทบที่เกิดจากอัตราเงินเฟ้อโลกค่อนข้างมาก
การแบ่งขั้วมหาอำนาจโลกเวลานี้ มองเผินๆ อาจจะเห็น 2 ขั้วอำนาจหลัก แต่มีการคาดการณ์กันว่าในอนาคตเราอาจจะได้เห็นโลกมีมากกว่า 2 ขั้ว หรือ Fragmentation แบ่งแตกแยกย่อยออกไป แต่ไม่ว่าจะกี่ขั้วก็ตาม ภาคธุรกิจควรติดตามสถานการณ์ เพื่อให้สามารถปรับกลยุทธ์ รับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที
Source: กรุงเทพธุรกิจ
เพิ่มเติม
- We are not decoupling’: G-7 leaders agree on approach to ‘de-risk’ from China :

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"