“ข้อตกลงพลาซ่า จุดเริ่มต้นของสามทศวรรษแห่งความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่หายไปของญี่ปุ่น”

“ข้อตกลงพลาซ่า” เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน ปี 1985 ตามสถานที่ลงนาม คือโรงแรมพลาซ่า ในกรุงนิวยอร์ค โดยการตกลงร่วมกันของ 5 ประเทศ คืออเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันตะวันตก และ ญี่ปุ่น โดยมีเนื้อหาสาระคือต้องการ “ลดค่าเงินดอลล่าร์”

ของอเมริกาลงเพื่อจะดันเงินเยนและมาร์คของเยอรมันให้สูงขึ้น เพื่อจะลดการขาดดุลทางการค้าที่อเมริกามีต่อ เยอรมันและญี่ปุ่น ที่ทั้งสองต่างขายสินค้าให้อเมริกามากกว่านำเข้า

ที่มาก็คือเมื่อช่วงปี 1980 – 1985 นั้น “ค่าเงินดอลล่าร์” ของอเมริกานั้นแข็งค่าขึ้นมากถึง 50% เมื่อเทียบกับเงินของ ประเทศบริวารทั้งหลาย ทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมันตะวันตก และญี่ปุ่น ( มีผลจากการบังคับการให้บริวารในอาหรับขายน้ำมันเป็นเงินดอลล่าร์ หรือ “เปโตรดอลล่าร์” ด้วย เงินดอลล่าร์จึงถูกซื้อไปเก็บไว้ในทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศมาก ) ซึ่งก็ส่งผลต่อ “การส่งออก” ของสินค้าอุตสาหกรรมของ “อเมริกา” ในตลาดโลกด้วยเช่นกัน ในช่วงแรกจึงเกิดการพยายามให้การล็อบบี้ทำให้ค่าเงินดอลล่าร์อ่อนตัวลง จากฝ่าพ่อค้าขายของนั้น แต่ฝ่ายการเงินอย่างวอลล์สตรีทที่เงินกำลังแข็งก็ไม่อยากทำให้อ่อน เนื่องจากสามารถทำกำไรได้มากมายจากเงินดอลล่าร์ที่เป็นแค่พิมพ์กระดาษมาหากำไร โดยที่ไม่มีทองคำมาค้ำประกัน และการลดค่าเงินจะทำให้เงินเฟ้อมากขึ้น ที่ขัดแย้งกับนโยบายของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ที่ต้องการลดอัตราเงินเฟ้อลง แต่สุดท้ายฝ่ายผู้ผลิตสินค้าและบริการ เช่น ผู้ส่งออกเมล็ดพันธุ์ ผู้ผลิตรถยนต์ และเครื่องจักรกลหนักขนาดใหญ่ CAT รวมทั้งผู้ผลิตสินค้าไฮเทคอย่าง ไอบีเอ็มและโมโตโรล่า ต่างเดือดร้อนขายของไม่ได้ ก็รวมตัวกันเพื่อจะออกมาบอกว่าต้องทำการลดค่าเงินดอลล่าร์ลงบ้างเพื่อจะได้เพื่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาได้

นักธุรกิจเหล่านั้น จึงได้รวมกันกดดันให้สภาคองเกรสออกกฏหมายคุ้มครองการค้าดังกล่าว และนำไปสู่การเกิด “ข้อตกลงพลาซ่า” ดังกล่าวกับอีกสี่ประเทศบริวาร โดยเหตุผลเอื้อหนุนการลดค่าเงินนั้น ถ้าสินค้าขายได้มากขึ้น ยิ่งทำให้ลดการเป็นหนี้ของดุลการเงินของประเทศด้วย และจะทำให้เศรษฐกิจของอเมริกาฟื้นตัวได้หลังจากช่วงปี 1970-1980 นั้นถดถอย โดยในตอนนั้นผู้บริหารเฟดของอเมริกา นายพอล โวลก์เกอร์ ได้ใช้วิธีการลดอัตราดอกเบี้ย แต่ก็ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจหายซบเซาและถดถอยได้ถาวร ( Stagflation คือเงินเฟ้อสูงพอแต่ไม่มีการออกมาจับจ่ายซื้อขายเพียงพอ ) รวมทั้งผลจากการที่เปโตรดอลล่ารด้วย

ผลกระทบจากข้อตกลงพลาซ่านั้น ทำให้สินค้าบริการของ “อเมริกา” ราคาต่ำลงสามารถขายได้มากขึ้น และตามมาด้วยค่า “เงินเยน” ของ “ญี่ปุ่น” ก็สูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลล่าร์ โดยธนาคารกลางของอเมริกาเฟด ได้ใช้เงินมากถึง 10,000 ล้านดอลล่าร์ในการแทรกแซงในครั้งนั้นเพื่อทำให้เกิดการอ่อนตัวของเงินดอลล่าร์ ต่างจากวิกฤติของเม็กซิโกและอาร์เจนติน่าในปี 1994 และ 2001 เพราะการอ่อนค่าของอเมริกานั้นเป็นการตั้งใจและวางแผนมาเป็นอย่างดี , แต่ในช่วงแรกการค้าขายของที่ดีของอเมริกานั้นแค่กับคู่ค่ายุโรป แต่ใน “ญี่ปุ่น” นั้นยังไม่ดีขึ้น สาเหตุหลักมาจากโครงสร้างของการนำเข้าสินค้าของญี่ปุ่นเอง

ในฝ่าย “ญี่ปุ่น” นั้น ข้อตกลงนี้ ทำให้เงินเยนญี่ปุ่นแข็งตัว สามารถไปซื้อของ กิจการ นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศได้ง่ายและถูกลง แต่ฝ่ายส่งออกเดือดร้อนเพราะว่าไม่สามารถขายของได้ ปัญหาส่งออกไม่ได้ของอเมริกาจึงถูกโยนมาตกอยู่กับผู้ส่งออกของญี่ปุ่นแทน ( น่าสงสัยว่า ฝ่ายญี่ปุ่นที่ไปตกลงที่พลาซ่านั้น อาจจะเป็นฝ่ายการเงินหรือฝ่ายที่ต้องการนำเข้า หรือ ซื้อกิจการต่างชาติเป็นหลักหรือไม่ เพราะได้ประโยชน์ ไม่คิดถึงฝ่ายอื่นในประเทศ ) ซึ่งญี่ปุ่นนั้นเศรษฐกิจจีดีพีนั้นขึ้นกับการส่งออกเป็นหลัก จึงมีการออกนโยบายทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศตามมา

และผลจากข้อตกลงพลาซ่าในครั้งนั้น ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเข้าสู่ช่วง “ฟองสบู่” ในช่วงปี 1986 – 1991 เมื่อค่าเงินแข็งมีการนำเงินไปซื้อกิจการลงทุน ออกเงินกู้มากมายแบบไม่มีการคัดกรอง ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศ ส่วนหนึ่งเพื่อชดเชยตลาดส่งออกต่างประเทศที่ลดลง ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ และซื้อหุ้นมากมาย จนสุดท้าย ตลาดหุ้นพังการซื้อขายลดไปครึ่งหนึ่งของในจุดสูงสุดในเดือนสิงหาคม ปี 1991 และตามมาด้วยราคาอสังหาริมทรัพย์ บ้านที่ดิน และทรัพย์สินต่างๆก็กลับตกฮวบต่ำลงมาสู่ราคาที่เป็นจริงหลังยุคฟองสบู่ที่สูงลิบลิ่ว หนี้เงินกู้ที่ปล่อยออกไปเป็นหนี้เสีย NPL มากมาย ทำให้ระบบการเงินของประเทศชะงักและพิการ และตามมาด้วยวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นในปี 1992 ... เพราะสาเหตุหลักคือรัฐบาลญี่ปุ่นไม่ยอมให้สถาบันการเงินใหญ่ๆเก่าแก่เหล่านั้นล้ม "ใหญ่เกินกว่าจะให้ล้ม" แต่กลับเอาเงินภาษีของประเทศไปอุ้มค้ำไว้ ทำให้หนี้สินของประเทศพุ่งสูงมากยาวจนถึงปัจจุบัน

จากจุดนั้นเองเป็นจุดเริ่มต้นของ “ทศวรรษที่หายไปของญี่ปุ่น” ที่ช่วงแรกนั้นหมายถึงแค่ 1991 – 2001 แต่ว่านักการเงินและนักเศรษฐศาสตร์ตีความว่า ยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน 2017 ที่การเติบโตและจีดีพีของญี่ปุ่นยังเท่าเดิม ไม่เติบโตขึ้นอีกเลย และกลายเป็นเศรษฐกิจแบบ “ภาวะเงินฝืด” ประชาชนไม่กล้าใช้จ่ายเงินในการซื้อของ ทำให้บริษัทต่างๆก็ไม่กล้าจะลงทุนอะไรออกไป ไหลในระบบไหลหมุนเวียนน้อยมาก ยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน

และหลังผ่านไปหลายสิบปีจาก 1985 เมื่อประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถก้าวพ้นปัญหาภาวะเงินฝืด การจับจ่ายน้อย การผลิตสินค้าก็น้อยตาม จีดีพีก็ไม่กระเตื้องมาสามทศวรรษ ทำให้มีการวิเคราะห์กันว่าสาเหตุนั้นมาจากอะไร และสุดท้ายนักการเงินและเศรษฐกิจหลายคนบอกว่า หนึ่งในสาเหตุหลักๆก็คือการร่วมทำ “ข้อตกลงพลาซ่า” ในครั้งนั้นนั่นเอง

“ความโลภ” เมื่อค่าเงินเยนแข็งค่า ก็ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยจนไม่ยั้งคิด จนทำให้เกิดปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้ เป็นมะเร็งร้ายเรื้อรังกัดกินเศรษฐกิจปละสังคม “ญี่ปุ่น” ยาวจนถึงปัจจุบัน

https://en.wikipedia.org/wiki/Plaza_Accord 
https://www.investopedia.com/terms/p/plaza-accord.asp 
https://en.wikipedia.org/wiki/Japanese_asset_price_bubble 

 

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"