เงินใครเงินมัน จริงหรือ ? เมื่อคนรวยทำประเทศล่มจม ... จากวิกฤติต้มยำกุ้ง ถึงเรื่องบิตคอยน์

... ช่วงนี้พยายามเขียนเรื่องบิตคอยน์ เพราะว่าไม่อยากให้เกิดเรื่องซ้ำรอยเหมือนปี 2540 "วิกฤติต้มยำกุ้ง" ตอนนั้น บริษัทไฟแนน ์ด้านการเงินที่เป็นเอกชนทำเพื่อความร่ำรวยของตัวเอง แต่สุดท้ายต้องเป็นทั้งประเทศต้องรับมรดกบาป

... ก่อนนั้นภายใต้กับดักของคำว่า "เปิดเสรีทางการเงิน" ทำให้สถาบันทางเงินของไทย ไปกู้เงินจากต่างชาติในราคาดอกเบี้ยต่ำในการระยะสั้น แล้วมาปล่อยกินดอกเบี้ยแพงในระยะยาว รวมทั้งนักลงทุนต่างชาติเห็นอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยสูงกว่าข้างนอกก็เลยเอาเงินมาซื้อเงินบาทและลงทุนในประเทศไทยหวังกินดอกเบี้ยแพง เงินร้อนจากนอกประเทศจึงไหลทะลักราวเขื่อนแตกสึนามิ เข้ามามากมาย เงินสะพัดทั้วไทย เงินร้อน ตามเกมการโจมตีทางการเงินของพวกเขา ที่วางแผนไว้อย่างดี จนเกิดการขาดดุลเดินสะพัด

... นั้นเพราะเขาวางแผนไว้แล้ว เพราะก่อนหน้านั้น ทั้งหลอกล่อและร่วมมือจนเกิด BIBF หรือ "การเปิดเสรีทางการเงิน" ที่เริ่มเพาะเชื้อโรคในปี 2536 กำแพงกั้นเงินตราต่างชาติจึงถูกพังทลายลง ทำให้เงินร้อนไหลเข้าประเทศมากดังกล่าว

... ( BIBF มาจาก Bangkok International Banking Facillities
คือ IBFเนื่องจากตั้งแห่งแรกที่กรุงเทพจึงมีชื่อว่า BIBF เป็นธนาคารที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำธุรกรรมในการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศแล้วนำมาทำธุรกรรมในการให้กู้ทั้งภายในและหรือภายนอกประเทศไทยได้ ถ้าเป็นการกู้จากสถาบันการเงินต่างชาติมาแล้วปล่อยกู้ในประเทศเรียกธุรกรรมนี้ว่าเป็นแบบ "out-in" )

... ถ้าเรียงตามเวลา ก็คือ 1) กู้เงินนอกต่างประเทศมา = ปัญหาหนี้ต่างประเทศ 2) กู้เงินมามากแต่จ่ายคืนน้อย = การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 3) พอเอามาปล่อยลงทุนไม่เกิดผลกำไรเงินจมท่วมนา แต่ไม่เกิดเมล็ดข้าว = การลงทุนเกินตัว และ 4) สุดท้ายน้ำแห่งเงินตราท่วมนาจนข้าวตายหมด ไม่มีข้าวออกมาไม่เกิดผลผลิต จีดีพี = ฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อจีดีพีพุ่งสูงและเร็วมาก 5) เมื่อไม่เกิดผลผลิตทางการลงทุน เงินจม เศรษฐกิจก็แย่ ต่างชาติดึงเงินออก เทขายเงินบาททิ้ง = การโจมตีค่าเงินบาท รัฐบาลไทยเกิดการพยายามเทขายดอลล่าร์เพื่อซื้อเงินบาทคืนเพื่อรักษาค่าเงินบาท จนเงินดอลล่าร์หมดคลัง

... สุดท้ายรัฐบาลต้องตั้ง "กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน" หรือพูดแบบชาวบ้าน เอาเงินภาษีของคนทั่วไป ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการโลภมาก แบบพวกนักการเงินสถาบัน ไปกู้เงินมาปล่อยกินดอกเบี้ย แต่ต้องมารับภาระเอาเงินไปให้คนรวยในตลาดหุ้นมาถลุงกันต่อไป แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอด

... ฉากสุดท้ายการคลังเราต้องเอาเงินในทุนสำรองเงินตรา 700,000 ล้านบาทไปต่อสู้เพื่อพยุงเงินบาทไม่ให้อ่อนกว่านี้ เพื่อเอาใจผู้ส่งออก และสุดท้ายนายแม้วแดงก็รู้ข่าววงใน จากนาย โพ ไปซื้อเงินดอลล่าร์ในราคา 25 บาท เพื่อเอาเก็บไว้เพื่อจะขายในตอนที่ราคาเงินบาทตก ที่ 50 บาทต่อดอลล่าร์ จนร่ำรวย เอาเงินมาตั้งพรรคการเมือง ที่ออกสโลแกนว่า คิดใหม่ ทำไม่ ตาดูดาว เท้าติดดิน หลอกหาเสียงกับคนจนอีก โดยเงินกำไรไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาทนั้นมาจากการกู้เงินนอกมาซื้อเงินดอลล่าร์ จากคลังสำรองของไทย ที่ต้องการรักษาค่าเงิน บาท เป็นการเอาเงินของชาติมาตั้งพรรคการเมือกเพื่อหวังโกงชาติระยะยาวทั้งตระกูล เช่นโกงจำนำข้่าว อีกชุดใหญ่ ที่สาวกสีเลือดจะมองไม่เห็นและเข้าใจยาก กว่าเรื่องล้มเจ้า )

... กล่าวโดยสั้นๆ เงินที่มาจากการตั้งพรรคลายธงชาตินั้น ไหลมาจากทุนสำรองของคลังไทย เรา มันคือการปล้นเงินชาติยกแรก ของตระกูลแดง ( ก๊กฟ้า ก๊กแดง ก็เลวพอกัน ทั้งโจโฉและเล่าปี่ ... ไม่ได้โปรเล่าปี่เหมือนยาขอบ ที่เขียนสามก๊กฉบับวณิพก หรือโปรโจโฉแบบเล่าชวนหัวหรือหม่อม คึกฤทธิ์ ... สายตาคนจนทหารชั้นต่ำ ไม่ชอบทั้งสามก๊กเลย )

... จากนั้นรัฐบาลก็ขาดดุลการเงิน หนี้ต่างประเทศมาก ตามมากลายเป็นหนี้สาธารณะจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟู งบประมาณประจำปีก็ขาดดุล เงินต้องจับจ่ายให้งบกระทรวงนั้นนี้ก็ไม่มี เงินสำรองสมัยลุงจิ๋วเป็นนายยก ที่คนสนิทรู้จักกับ แม้วแดง ก็หมดตูดหายไปเยอะ ... สรุปประเทศไทยเป็นหนี้ "เพราะคนรวยทำให้ประเทศจน" ( ไม่เชื่อวิกิพีเดีย ที่ว่าหาสาเหตุวิกฤติไม่พบชัดเจน มันคือเกมของตะวันตกที่ต้องการเข้ามาซื้อรัฐวิสาหกิจและยึดการเงินการคลัง ของเอเชีย ภายใต้คำว่า "เปิดเสรีทางการเงิน" นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลน้ำดีอย่างโจเซฟ สติกลิซท์ ยังบอกว่า การเปิดเสรีทางการเงินที่ไม่พร้อมมันคือความพินาจของประเทศที่อ่อนแอกว่า แกคงพูดแบบอ้อมๆ ถ้าแบบฝ่ายต่อต้านอีแร้ง จะบอกว่า มันคือการโจมตีและล่าอาณานิคมโดยใช้ "เงินร้อน" แทน "เรือปืน" แบบโบราณ )

... จากนั้นไอเอ็มเอฟก็เข้ามาให้กู้เงินเพื่อมาจ่ายหนี้ต่างประเทศ โดยมีข้อแม้ว่า ข้าจะให้แกยืมเงินก็ต่อเมื่อ เอ็งต้องแก้ไขกฏหมายเพื่อพวกนักล่าอาณานิคมฝรั่งและยิวอย่างพวกข้าเสียก่อน เช่น ออกกฏหมายแปรรูปขายรัฐวิสาหกิจ ( ความจริงคือกฏหมายขายชาติ ที่ตอนนั้นเรียกว่า "กฏหมายขายชาติ 11 ฉบับ" ) หรือแก้ไขให้ต่างชาติสามารถถือครองที่ดินได้มากและง่ายขึ้น เช่าๆได้นานขึ้น เป็น 99 ปี เป็นต้น

... จากนั้นมา รัฐวิสาหกิจไทยเราก็ตกเป็นของต่างชาติ เช่น ปตท. ทำให้มีการขึ้นราคาน้ำมัน ทำนาบนหลังคนไทยทุกคน จากนั้นราคาน้ำมันก็พุ่งขึ้นสูงตลอดมาทั้งๆที่ขุดเจาะส่วนใหญ่จากประเทศไทย นักปกครองก็เป็นแค่ร่างทรงต่างชาติ หรือได้รับเศษเนื้อแทะปาก เลยไม่กล้าทำอะไร ถ้าราคาน้ำมันถูกแบบเดิมก่อนการขายชาติ ราคาน้ำมันจะถูกต้นทุนการผลิตสินค้า การขนส่งจพต่ำลง ราคาสินค้าไทยจะราคาต่ำกว่านี้ ทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาทำได้ดีขึ้นกว่าเดิมอีก แต่ตอนนี้ไม่ใช้แล้ว เพราะราคาน้ำมันแพง ทำให้ทุกอย่างแพงหมดเป็นแผงตากันไป คนไทยต้องรับภาระทำงานหนักขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้ต่างชาติและคนไทยที่เป็นนายหน้า หรือผู้ร่วมได้เสียด้วยร่ำรวยต่อไป

... จนถึงวันนี้ เราเสียอธิปไตยในประเทศตัวเอง โดยสมบูรณ์มานาน เพราะว่าเราเสียการครอบครองและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติน้ำมันและแก๊สในอ่าวไทยและบนดินแดนของไทยเราไปให้ต่างชาติทั้งโดยตรงและจากร่างทรงนอมินีใน 49% ที่ในความเป็นจริงมีอำนาจมากกว่ากระทรวงของไทย 51%

... จนถึงวันนี้่ เราต้องยังเป็นทาสของ ปตท. และเป็นเหยื่อของวิกฤติครั้งนั้นอยู่ตลอดมาและยังตลอดไป หนี้ไอเอ็มเอฟหมดแล้ว แต่หนี้กองทุนฟื้นฟูยังไม่หมด ยังมีอีกเป็นเกือบร้อยปี เพราะต้องค่อยๆเจียดเงินงบประมาณประจำปีมาจ่ายปีละน้อยๆ ไม่งั้นข้าราชการต่างๆอดตายทั้งประเทศ )

... กลับมาเรื่องบิตคอยน์ ถ้ารัฐบาลไม่ออกกฏหมายควบคุมแต่แรก เหมือนที่ตอนนี้ฝรั่งเศสกำลังชงเรื่องเข้าอียูเพื่อหาทางควบคุมบิตคอยน์ เพราะถ้าลามไปให้พวกนักลงทุนสถาบันมาเล่นบิตคอยน์หรือคริปโตเคอร์เรินซี่ได้เมื่อไหร่ อาจจะเกิดวิกฤติรอบที่สองซ้ำรอยวิกฤติต้มยำกุ้งได้

... คนไทยหลายคนยังไม่รู้ว่า เราสูญเสียอธิปไตยให้ประเทศในตะวันตก ทั้งอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ไปนานแล้วหลังวิกฤติต้มยำกุ้ง ไม่ใช้แต่ทรัพย์สินในรัฐวิสาหกิจ แต่ธนาคารของไทยหุ้นส่วนใหญ่เป็นของต่างชาติทั้งสิ้น หลังวิกฤติต้มยำกุ้งในครั้งนั้น จนถึงปัจจุบัน

... หวังว่าที่โพสท์เรื่องบิตคอยน์บ่อยๆนั้น คงยังไม่เบื่อกัน เพราะว่าไม่อยากให้เราเดินซ้ำรอยนรกหรือปีศาจฝูงเดิมที่เดินจารึกเอาไว้หลายสิบปีก่อน ที่ว่ากันว่าวิกฤติมักจะซ้ำรอยเดิมเสมอหลังจากผ่านไปสักยี่สิบปีขึ้นไป เพราะว่าคนจะจำเรื่องราวเก่าๆไม่ได้แล้ว หรือว่าอาจจะเอาความประมาทหรือโลภมาเป็นกัปตันขับจิตใจอีกครั้ง

... นอกเสียจากว่าคนไทยไม่สนใจเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เอามาเป็นบทเรียนสอนใจ อยากแค่กินอยู่ไปวันๆแบบไร้ศักดิ์ศรี อยากเป็นทาสฝรั่งต่างชาติมากกว่าเดิมอีก อยากขายสมบัติชาติอีกสักชุด คราวนี้ มีบ้านขายบ้าน มีที่ขายที่ดินให้ต่างชาติ หมด ทำได้แค่พยายามหาคู่ครองตาน้ำข้าวเพื่อร่นระยะความมั่งคั่งเร็วขึ้น กลายเป็นแค่่ลูกจ้างกรรมกรในประเทศตัวเองแบบไร้ศักดิ์ศรี หรือ ?

Jeerachart Jongsomchai

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"