ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ออกมาย้ำ ว่าทำไมCryptocurrency ยังไม่เหมาะนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ? โดยหากอ่านหลักการทิศทางสำคัญและแนวนโยบายการปรับภูมิทัศน์ภาคการเงินไทย ธปท.ที่ผ่านมาระบุว่า
แนวทางการ กำกับให้เท่าทันความเสี่ยงในโลกใหม่
จำเป็นต้อง ยกระดับการกำกับดูแลความเสี่ยงสำคัญรวมถึงความเสี่ยงจากผู้ให้บริการทางการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบภายใต้โลกการเงินใหม่ โดยมีแนวนโยบายที่สำคัญ เช่น
ไม่ต้องการเห็นสินทรัพย์ดิจิทัลถูกใช้เป็นสื่อการชำระเงิน (means of payment) แทนเงินบาทในวงกว้างเนื่องจากอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงและส่งผลกระทบต่อประชาชนและระบบเศรษฐกิจการเงิน โดย ไม่ต้องการเห็นการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อชำระค่าสินค้าแทนเงินบาท
แต่สนับสนุนการเรียนรู้ ทดสอบ และลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ เพื่อพัฒนาบริการทางการเงิน ภายใต้การบริหารความเสี่ยง ที่เหมาะสม
ทั้งนี้การที่ ธปท. ไม่ต้องการเห็นการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการแทนเงินบาท (means of payment: MOP) ในวงกว้าง เนื่องจากหากถูกนำมาใช้ในวัตถุประสงค์นี้อย่างแพร่หลายจะก่อให้เกิดหน่วยวัดมูลค่า (unit of account)
นอกเหนือจากสกุลเงินบาท ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงและส่งผลกระทบต่อประชาชนและระบบเศรษฐกิจการเงินในหลายมิติ ได้แก่
ต้นทุนและความปลอดภัยของผู้ใช้หรือรับชำระสินทรัพย์ดิจิทัล เนื่องจากราคาสินทรัพย์ดิจิทัลมีความผันผวนสูง ระบบยังไม่มีมาตรฐานการดูแลความปลอดภัย และอาจเป็นช่องทางในการฟอกเงิน
เสถียรภาพระบบการชำระเงิน เนื่องจากอาจทำให้เกิดระบบการชำระเงินที่กระจายตัว (fragmentation) และซ้ำซ้อน
ซึ่งอาจลดทอนประสิทธิภาพของระบบและทำให้ต้นทุนการชำระเงินของประเทศสูงขึ้น และเสถียรภาพการเงินและความสามารถในการดูแลภาวะการเงินในประเทศ เช่น ไม่มีองค์กรที่จะสามารถปล่อยสภาพคล่องในรูปสกุลเงินดิจิทัลให้กับระบบการเงินหากเกิดวิกฤติ เป็นต้น
ทั้งนี้ มุมมองและแนวนโยบายของ ธปท. ต่อสินทรัพย์ดิจิทัลสอดคล้องกับผู้กำกับดูแลในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ยุโรป เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และมาเลเซีย
การกำกับสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศต่าง ๆ
เอลซัลวาดอร์ ยอมรับ Bitcoin เป็นสื่อกลางที่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย (ก.ย. 2564) สหรัฐอเมริกา เสนอกฎหมายเพื่อจำกัดการออก stablecoin ให้มาจากสถาบันรับฝากเงินเท่านั้น
ส่วน key entities อื่น เช่น wallet provider ที่ช่วยให้เกิดการใช้ stablecoin เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าหรือบริการต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ
สหภาพยุโรป เสนอ Regulation on Markets in Crypto-assets (MiCA) เพื่อกำกับดูแลคริปโทฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง stablecoin รวมถึงการประกอบธุรกิจของผู้ให้บริการเพื่ออกใช้ในปี 2567 (2563)
สหราชอาณาจักร อยู่ระหว่างรับฟังความเห็นเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในเรื่องคริปโทฯ และ stablecoin (2564)
สิงคโปร์ กำกับเหรียญที่เข้าข่าย e-money ด้วยกฎหมายด้านระบบการชำระเงิน และห้ามซื้อขายคริปโทฯ ในพื้นที่สาธารณะ และห้ามจ้าง influencer เพื่อโฆษณา (ม.ค. 2565)
ฮ่องกง อยู่ระหว่างพิจารณานโยบายและติดตามท่าทีของต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ โดยเสนอจะกำกับ stablecoin ที่ใช้เพื่อการชำระเงิน
มาเลเซีย มองว่าคริปโทฯ ไม่มีคุณสมบัติที่จะนำมาใช้เป็นสื่อกลางการชำระค่าสินค้าและบริการ (ธ.ค. 2563)
ไทย ไม่สนับสนุนให้นำมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ เพราะมีความเสี่ยงในภาพรวม
อินเดีย อยู่ระหว่างเสนอกฎหมายเพื่อห้ามการใช้คริปโทฯ ในการชำระค่าสินค้าและบริการ (ธ.ค. 2564)
อินโดนีเซีย ห้ามใช้คริปโทฯ ในการชำระเงิน (2561) และสภาศาสนาอิสลามห้ามใช้คริปโทฯ เป็นสกุลเงิน (2564)
จีน คริปโทฯ และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโทฯ เป็นสิ่งผิดกฎหมาย (ก.ย. 2564)
อย่างไรก็ตาม สำหรับบริการและระบบเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลบางประเภทที่เป็นประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการชำระเงินและการต่อยอดนวัตกรรมทางการเงิน ธปท. จะพิจารณาแนวทางการกำกับดูแลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการและป้องกันความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินและระบบการชำระเงิน
โดยตัวอย่างของบริการเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะพิจารณากำกับดูแล อาทิ การออกใช้สินทรัพย์ดิจิทัลที่หนุนหลังด้วยเงินบาท (Thai Baht-backed stablecoin) โดยจะพิจารณากำกับดูแลในด้าน
ขอบเขตการประกอบธุรกิจ
การสร้างความเชื่อมั่นในสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออก และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโยลีสารสนเทศและข้อมูลส่วนบุคคล
โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงและลักษณะการให้บริการ
การประยุกต์ใช้สินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับสถาบันการเงินหรือกลุ่มธุรกิจฯ
สถาบันการเงินหรือกลุ่มธุรกิจฯ ที่ต้องการนำเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (เช่น blockchain) ที่จะต้องมีการถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางการเงิน หรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจฯ ที่ต้องการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล สามารถมาหารือ ธปท. ได้เป็นรายกรณี
โดย ธปท. จะพิจารณาบนพื้นฐานของประโยชน์ แนวทางการดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยงต่อกลุ่มธุรกิจฯ และสถาบันการเงิน รวมทั้งการคุ้มครองผู้ฝากเงินและผู้บริโภคที่เหมาะสม
ซึ่งรูปแบบการนำไปใช้หรือรูปแบบการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลจะต้องไม่เป็นการสนับสนุนการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ (MOP) ในวงกว้าง อันกระทบต่อเสถียรภาพระบบการชำระเงินและเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
การลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลของสถาบันการเงินในต่างประเทศ และแนวทางการอนุญาตให้สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจฯ ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลของแต่ละประเทศ
ในช่วงที่ผ่านมา สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจฯ ในไทยมีความสนใจที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนานวัตกรรม ทางการเงินและบริการทางการเงินให้ดีขึ้น รวมทั้งลงทุนหรือประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น ตามแนวโน้มความสนใจของประชาชน1 ขณะที่สถาบันการเงินในต่างประเทศมีการลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลค่อนข้างจำกัด
โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในธุรกิจที่ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (digital asset custody) ผู้กำกับดูแลในหลายประเทศจึงยังอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางการอนุญาตและกำกับดูแล การประกอบธุรกิจและการถือครองสินทรัพย์ดิจิทัล
แนวทางการอนุญาตให้สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจฯ ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลของแต่ละประเทศ
สิงคโปร์ อนุญาตให้ประกอบธุรกิจ/ทำธุรกรรม DA ได้ตามหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ (กำกับแบบ activity-based) (อ้างอิงเพิ่มเติม 1, 2)
สวิสเซอร์แลนด์ อนุญาตให้ประกอบธุรกิจ/ทำธุรกรรม DA ได้ตามหลักเกณฑ์ปัจจุบัน (กำกับแบบ activity-based)
สหรัฐอเมริกา กฎหมายระดับ Federal โดย OCC ให้ทำได้เฉพาะ DA custodian (หารือรายกรณี) และการออก stable coin เพื่อ payment (อ้างอิงเพิ่มเติม)
ไทย บริษัทลูก หารือ ธปท. รายกรณี ธพ. ไม่ให้ประกอบธุรกิจ/ทำธุรกรรม DA ยกเว้น การออก/ถือครองเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน
ฮ่องกง หารือ HKMA รายกรณี
สหราชอาณาจักร หารือ PRA รายกรณี
อินโดนีเซีย ไม่อนุญาตให้ประกอบธุรกิจ/ทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับ DA
จีน ไม่อนุญาตให้ประกอบธุรกิจ/ทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับ DA (อ้างอิงเพิ่มเติม)
ที่ผ่านมาธปท.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็น ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงินที่ไม่ใช่เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการแทนเงินบาท (MOP) ใดบ้าง
รวมทั้งข้อเสนอแนะเเนวทางในการบริหารจัดการหรือปิดความเสี่ยงจากการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เพื่อประโยชน์ดังกล่าว เช่น การคุ้มครองผู้ใช้บริการ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลส่วนบุคคล
ทั้งนี้ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีกำหนดการ Media Briefing เรื่อง "แนวทางการกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับดิจิทัล"
โดย ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย วันนี้ เวลา 16.30 – 17.30 น.
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you