จะทำอย่างไรเมื่อผู้สูงวัย “แก่ก่อนรวย” และ “ป่วยก่อนตาย”?

ในเวลาเพียง 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เปลี่ยนผ่านจากสังคมสูงวัย ในระยะเริ่มต้น หรือ “Aging society” หรือสังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป (หรือต่อไปนี้จะเรียกว่าผู้สูงวัย) มากกว่าร้อยละ 7 ของประชากร ทั้งหมด โดยไทยมีจำนวนประชากรผู้สูงวัยมากกว่าร้อยละ

15 ของประชากรทั้งหมด ถือว่า เข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ แล้ว

ทั้งนี้ หากผู้สูงวัยโดยส่วนใหญ่มีความแข็งแรงทั้งทางการเงินและสุขภาพ สังคมนั้นย่อมเป็นสังคมสูงวัยที่มีความมั่นคงและยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบในหลายประเทศ โดยเฉพาะไทย คือภาวะที่ผู้สูงวัย “แก่ก่อนรวย” และ “ป่วยก่อนตาย” กล่าวคือ ช่วงชีวิต (life span) ยาวนานขึ้นแต่ช่วงสุขภาพไม่ยาวนานตามจำนวนผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ขาดความมั่นคงทางการเงิน (wealth span) มีกำลังทรัพย์ไม่เพียงพอจับจ่ายใช้สอยและใช้บริการ โดยเฉพาะการรักษาตัวจึงเพิ่มขึ้น เป็น โจทย์สำคัญที่ว่า จะทำอย่างไรให้ผู้สูงวัยมีชีวิตอย่างมีคุณภาพและมั่นคง?
อันที่จริงผู้สูงวัยแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่มผู้สูงวัยที่ยังคง active ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในสังคมและมีความต้องการในสินค้า และบริการที่หลากหลายตามระดับรายได้ และ
2) กลุ่มผู้สูงวัยที่เริ่มอยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้สูงวัยที่มีภาวะพึ่งพิงสูง อาทิ ผู้ป่วยติดเตียง ทั้งนี้ หากแบ่งตามระดับรายได้ กลุ่มผู้สูงวัยทั้งสองประเภทที่มีรายได้สูง เป็นกลุ่มที่ไม่น่ากังวลเสียเท่าใดนัก เพราะสามารถใช้บริการ home care และ nursing home ที่มีคุณภาพดี
อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้น้อยมีความน่าเป็นห่วง เป็นพิเศษ เพราะเป็นคนหมู่มากและมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุรายได้น้อย ซึ่งในกลุ่มนี้ ผู้สูงวัยที่ active บางส่วนไร้ที่พึ่ง ต้อง พึ่งพาเบี้ยยังชีพ และต้องทำงานหารายได้แม้ว่าจะเข้าสู่วัยสูงอายุ
ขณะที่ผู้สูงวัยรายได้น้อยที่มีภาวะพึ่งพิง จำเป็นต้องพึ่งพาภาครัฐใน ทุกมิติ ขาดการดูแลสุขภาพอนามัยที่ดี ส่วนหนึ่งจากการขาดการรับบริการ ยาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งขาดแคลนบุคลากรการแพทย์ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะผู้ดูแล (care giver)
ดังนั้น ทางออกในการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่มีความน่าเป็นห่วงพิเศษในปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น
1) ผู้สูงวัยที่ยังคง active อยู่ และอยู่ในกลุ่มรายได้ ปานกลางถึงรายได้น้อย ต้องสามารถเพิ่มรายได้ด้วยตนเอง จากการพัฒนาทักษะความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะ digital literacy ซึ่งส่วนหนึ่งต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น การจัดตั้งศูนย์พัฒนาทักษะผู้สูงวัย ขณะเดียวกันธุรกิจก็ควรมีนโยบายรับคนสูงวัยเข้าทำงานที่เหมาะสม โดยไม่จำกัดวัยเพื่อไม่เป็นการปิดกั้นโอกาสด้วย
2) ต้องเร่งคัดกรอง ช่วยเหลือและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยรายได้น้อยที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงแล้วอย่างตรงจุด เร่งสร้างบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ care giver ที่มีคุณภาพ
ขณะเดียวกัน การจะทำให้สังคมไทยในระยะยาวเป็นสังคมสูงวัยที่ไม่อ่อนแอและไม่ต้องเจอปัญหาซ้ำเดิมอีก คือ ไม่แก่ก่อนรวย และไม่ป่วยก่อนตายต้องอาศัย
1) การให้ความรู้และสร้างความตระหนักรู้เรื่องการวางแผนทางการเงิน (financial literacy) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่วัยหนุ่มสาวเพื่อเพิ่ม wealth span
2) การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมการแพทย์รวมถึงการปลูกฝังทัศนคติให้ผู้คนมีความใส่ใจในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อให้ health span ยาวนานขึ้นตาม life span และ
3)การส่งเสริมให้ มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่มีคุณภาพดีในราคาถูกลง เพื่อรองรับความ ต้องการที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เช่น การให้สิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับผู้ประกอบการ การให้แหล่งเงินทุนเพื่อฝึกอบรมบุคลากรที่ต้องการเป็น care giver
ว่าแล้ว ผู้เขียนขออนุญาตไปยืดเส้นยืดสาย ออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่ดีก่อนนะครับ!
โดย สุพริศร์ สุวรรณิก สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
** บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด **
Source: ไทยรัฐออนไลน์

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-----------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"