เมื่อฤดูใบไม้ผลิ ปี 1692 หนุ่มสก้อตคนหนึ่งชื่อ John Campbell เริ่มธุรกิจใหม่ที่ใจกลางนครลอนดอน campbell เป็นช่างทอง ...ธุรกิจของเขาก็เกี่ยวข้องกับจิวเวลรี่และงานฝีมือเกี่ยวกับโลหะ เครื่องเงิน
บริษัทใหม่ของ Campbell มีการแตกไลน์ออกไปอีกด้วยคือ แบ้งกิ้ง ..บริษัทที่เขาก่อตั้ง..ภายหลังคือ Coutts & Co. ...ธนาคารที่ยังดำเนินธุรกิจอยู่จนถึงปัจจุบันในอังกฤษ
ตั้งแต่เริ่มต้นของยุคสัมฤทธิ์เมื่อหลายพันปีก่อน พวกช่างโลหะ (ที่ลงท้ายด้วย '_smiths') ทั้งหลาย..ถือได้ว่าเป็นคนที่ได้รับการยกย่องในสังคมยุคนั้น
พวกช่างโลหะ _smiths ทั้งหลาย เป็นผู้ที่มีความจำเป็นในงานการก่อสร้าง..สถาปัตยกรรม ..สงคราม ..และงานศิลป เช่น blacksmith ช่างตีเหล็ก ..bladesmith ช่างตีดาบ ..gunsmith ช่างปืน ..goldsmith silversmith ช่างทอง เงิน
ช่างทอง goldsmith ยังเป็นผู้ให้บริการงานแบ้งกิ้งยุคแรกเริ่มอีกด้วย
ในประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของมนุษยชาติ โลหะถูกใช้เป็น money นั่นคือ ทองคำและซิลเวอร์ ..คนทั่วๆไปรู้ดีว่าการเก็บทองคำและซิลเวอร์จำนวนมากไว้ที่บ้านย่องเป็นการเสี่ยงต่อโจรภัย
แต่พวก goldsmiths เองก็มีห้องนิรภัยของตนที่ร้านอยู่แล้ว เพราะเป็นผู้มีอาชีพโดยตรง
จึงไม่แปลกที่ชาวบ้านทั่วไปในเมืองฝากทองคำไว้ที่ช่างทองเหล่านี้เพื่อความปลอดภัย โดยมีค่าใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆ..
นี่คือระบบแบ้งกิ้งในแบบโบราณ ลูกค้าต้องจ่ายค่าฝากทรัพย์ให้กับช่างทอง
แต่ในช่วงเวลาที่ John Campbell ก่อตั้งธนาคารของเขาในปลาย 1600s นั้น มันเป็นตอนที่ ช่างทองที่เป็นแบ้งเกอร์มีการปล่อยเงินกู้กันแล้ว ..โดยเก็บส่วนน้อยของเงินฝากไว้เป็นสำรอง นอกนั้นปล่อยให้กู้เพื่อกินดอกเบี้ย
นี่เป็นรูปแบบเดียวกันกับโมเดลของแบ้งค์ที่มีอยู่ในปัจจุบันเลย ที่สถาบันการเงินขนาดใหญ่มีการบริหารจัดการเงินนับล้านล้านดอลล่าร์ ที่มีผู้ฝากไว้
เก็บส่วนย่อยๆของเงินนี้ไว้เป็นรีเสิร์ฟสำรอง ที่อาจจะแค่ 1% ...อีก 99% เอาไปปล่อยกู้ หรือบางทีก็เอาไปเก็งกำไรในแบบที่มันไม่ค่อยจะโปร่งใสนัก
ถ้าจะดูตัวอย่างก็นี่เลย
สิบกว่าปีมาแล้ว Wachovia หนึ่งในสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดของโลก ที่ทำกำไรเมื่อปี 2007 นับพันล้าน ..มีทรัพย์สินใน balance sheet เกือบ $8 แสนล้าน
ในรายงานของปี 2007 ยังบอกอีกด้วยว่า Wachovia มี 'ลูกหนี้' เงินกู้อยู่ถึง $461,000 ล้าน ..และยังมี 'การลงทุน' อีก $115,000 ล้าน ...ฟังดูดีนะ
แต่รายละเอียดที่ไม่ได้บอกคือ ลูกหนี้เงินกู้แบบไหน ..การลงทุนแบบไหน ความเสี่ยงที่เอาเงินลูกค้าไปบริหารจัดการน่ะ มันระดับไหน
มันเป็นเรื่องลึกลับดำมืด ที่เหมือนกับธนาคารทั่วๆไปเวลานั้น ..Wachovia ไม่ได้บอกรายละเอียดว่าทำอะไรกับเงินฝากลูกค้า
เงินที่ปล่อยกู้ไป..และการลงทุนอยู่ในความเสี่ยงสุดๆ ..สุดท้ายธนาคารไม่มีเงินพอที่จะจ่ายคืนผู้ฝากเงิน
ภายในสิบเดือนจากนั้น Wachovia ก็สลายตัว
เป็นคนละเรื่องเลยกับยุคที่ช่างทองโบราณในฐานะนายแบ้งค์รักษาชื่อเสียงด้านความมั่นคงของกิจการ
ทุกวันนี้ ไม่มีเดือนไหนที่ไม่มีข่าวการฉ้อฉลขนานใหญ่ของธนาคารเลย
ครั้งหนึ่งผมเคยเขียนถึงธนาคารแห่งหนึ่งที่พยายามจะย้อนยุคไปยังสมัยของธนาคารเริ่มแรก
มันคือธนาคาร TNB ที่มีโมเดลแบบง่ายๆ
TNB วางแผนนำเงินฝากลูกค้าทั้ง 100% ฝากไว้กับ Federal Reserve ไม่มีการปล่อยกู้ ไม่มีการลงทุน ไม่มีการนำเงินไปเสี่ยงกับการเก็งกำไรที่ไหนทั้งนั้น
และก็ยังจ่ายดอกเบี้ยได้ด้วย
(ธนาคาร TNB ไม่รับฝากเงินจากบุคคลทั่วไป แต่รับเฉพาะจากธนาคารอื่นๆทั่วไปเท่านั้น)
มีเรื่องที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้อยู่เรื่องหนึ่งคือ ..ปกติธนาคารพาณิชย์ที่มีทุนสำรองฝากที่ Federal Reserve จะได้รับดอกเบี้ย ที่เรียกว่า Interest on Required Reserve (IORR) ซึ่งขณะนี้ ณ วันที่ 1 เมษายน 2019 อยู่ที่ 2.4%
เรียกว่า business model ของ TNB คือการรักษาเงินฝาก "ทั้งหมด" เอาไว้ที่ Fed และแบ่งส่วนหนึ่งของดอกเบี้ย 2.4% นั้นให้กับลูกค้า ก็ง่ายๆและปลอดภัยดี ..ดูๆไปแล้วน่าจะดีกว่า ธนาคารโบราณแบบ original ของพวกช่างทองซะอีก
คุณๆฟังแล้วก็คงคิดว่า ถ้ามีธนาคารที่ไม่เอาเงินฝากลูกค้ามาเสี่ยงแบบนี้ ไม่เสี่ยงกับการเกิดวิกฤติ ก็ดีน่าซี..และ Federal Reserve ก็คงจะยินดีอนุโมทนาสาธุล่ะดิ
ไม่มีทาง ..Fed ไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น และปฏิเสธข้อเสนอของ TNB
เรื่องที่น่าสนใจอยู่ตรงนี้ : TNB ยื่นฟ้องขอใช้อำนาจศาลให้ Fed ชี้แจง ..ซึ่งคำชี้แจงก็เป็นเรื่องที่ทำให้สาธารณชนเกิดอาการงงเต้กไปตามๆกัน
จากเอกสารที่มีการเปิดเผยจากศาล ..Fed ปิดประตูไม่รับ business model ของ TNB โดยอ้างว่า แผนของ TNB ที่จะ "นำเงินฝากจากสถาบันที่ร่ำรวยอยู่แล้ว มาเข้าในบัญชีของ Fed เพื่อส่งผ่านดอกเบี้ยส่วนหนึ่งให้ผู้ฝาก โดยเก็บไว้เองอีกส่วนหนึ่ง"
เป็นการขัดขวาง Fed ที่กำลังรักษาเสถียรภาพและกำลังโปรโมทให้เศรษฐกิจของประเทศแข็งแกร่ง
เพราะขณะนี้ ธนาคารพาณิชย์ทุกๆแห่ง ต่างก็จ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากแค่ 0.01% ของดอกเบี้ยรับของแบ้งค์ โดยเก็บไว้ 99.99%
Fed ไม่มีปัญหาตอนที่ Wells Fargo ทำแบบนั้น ...แต่การที่ TNB จะทำแบบที่ผู้ฝากปลอดความเสี่ยงเลย Fed รับไม่ได้
Fed เชื่อว่า ธนาคารที่ปลอดความเสี่ยงจะไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ
หนี้และการเก็งกำไรแบบเสี่ยงๆ เท่านั้นที่เป็นสิ่งดีต่อระบบเศรษฐกิจ
ในโลกที่เต็มไปด้วยธนาคารที่มีแต่เรื่องโกง ระบบจำเป็นต้องคัดกรองเอาผู้ที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยออกจากระบบหรือ
ที่ผมติดตามเรื่องนี้เพราะแผนธุรกิจที่ผมใช้กับกองทุนที่ผมบริหารก็เดินแนวเดียวกับที่ TNB พยายามทำอยู่นี่แหละ
เมื่อระบบการเงินไม่ให้ความสำคัญต่อ safety และความโปร่งใส ...มันจะเป็นเหตุผลที่ดีอีกอย่างของการถือครองทองคำและเงินสด
Cr.Sayan Rujiramora
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/