forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ดาวโจนส์พุ่งไม่หยุด ล่าสุดบวกกว่า 100 จุด ขานรับถ้อยแถลง "พาวเวล"

ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดพุ่งขึ้นกว่า 100 จุด ขานรับถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งระบุว่า เฟดมีความมุ่งมั่นในการสกัดเงินเฟ้อ ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีความแข็งแกร่ง

 เปิดสถิติเงินบาท"แข็งค่า-อ่อนค่า" ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

หลังจากที่เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าในรอบ 5 ปี อยู่ที่ 35.03 บาท/ดอลลาร์ ท่ามกลางปัจจัยกดดันจากต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดรอติดตามผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 15 มิ.ย. นี้ โดยคาดว่า เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย 50bp

‘Stagflation’ เวอร์ชันปี 2022 เหมือนหรือต่างอย่างไรกับปี 1974

Stagflation หรือภาวะที่เศรษฐกิจซบเซา ในขณะที่เงินเฟ้อพุ่งสูง เคยกัดกร่อนเศรษฐกิจของโลกอย่างรุนแรงเมื่อปี 1973-1974 เป็นผลจากราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นกว่าเท่าตัวในขณะนั้น
ปัจจุบันภาวะ Stagflation หวนกลับมาสร้างความกังวลอีกครั้ง

 “พันธบัตรทั่วโลก” กำลังเข้าสู่ตลาดหมี หลังเงินเฟ้อสหรัฐพุ่งเร็วสุดรอบ 40 ปี

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ว่า พันธบัตรทั่วโลกกำลังเข้าสู่ตลาดหมี (Bear Market) หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐสูงขึ้นเร็วที่สุดในรอบ 4 ทศวรรษ ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2537 ในสัปดาห์นี้

ดาวโจนส์พุ่งกว่า 200 จุด ตลาดรับรู้เฟดเล็งขึ้นดอกเบี้ย 0.75% คืนนี้

ดาวโจนส์พุ่งกว่า 200 จุด ขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในวันนี้เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ณ เวลา 20.37 น.ตามเวลาไทย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์อยู่ที่ 30,571.94 จุด บวก 207.11 จุด หรือ 0.68%

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"