forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

 หนี้พุ่ง-ออมหด ครัวเรือนสหรัฐแบกศก.ชาติ

ไม่ว่าจะมองจากมุมใด เศรษฐกิจสหรัฐในขณะนี้ก็นับได้ว่าฟื้นตัวเต็มที่แล้วชนิดเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือเมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นอัตราว่างงานที่ต่ำราว 4% จีดีพีขยายตัวได้ติดต่อกันนานที่สุดเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์สหรัฐ

เงินเฟ้อขยายตัวสูงสุดรอบ 6 ปี และตลาดหุ้นที่ทุบสถิติไปเป็นว่าเล่นในปีนี้

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาดูกันในรายละเอียดจะพบว่าเศรษฐกิจสหรัฐที่กำลังฟื้นตัวดีขึ้นในแทบทุกมิติขณะนี้ กำลังแลกมาด้วย "หนี้" และ "เงินออม" อีกครั้ง โดยในครั้งนี้มาจากกลุ่มรายได้ฐานราก 60% ซึ่งเป็นกลุ่มหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศในปี 2016-2017 ที่ผ่านมา

จากรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลภาคครัวเรือนอเมริกันโดยรอยเตอร์ส พบว่า กลุ่มผู้มีรายได้ 60% ของฐานล่างพีระมิด คือสัดส่วนหลักของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในสหรัฐตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าช่วงนั้นเศรษฐกิจสหรัฐจะยังไม่นับว่าฟื้นตัวเต็มที่ก็ตาม และยังเป็นสัดส่วนที่ทุบตัวเลขเดิมตลอดหลายทศวรรษ จากเดิมที่เป็น กลุ่มรายได้ฐานรากประมาณ 40%

ตัวเลขนี้กำลังถูกตีความทั้งใน "แง่บวก" และ "แง่ลบ" ไปพร้อมๆ กัน ในเชิงบวกนั้น การก่อหนี้เพิ่มขึ้นหมายถึงความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจในบ้านว่าฟื้นตัวได้ดีและมีการจ้างงานที่มากพอ เมื่อผู้คนเชื่อว่าจะไม่ตกงานก็จะพร้อมกู้เงินมาใช้จ่ายเพิ่ม เช่นเดียวกับธนาคารที่พร้อมปล่อยกู้ให้ โดยปัจจุบัน อัตราว่างงานของสหรัฐอยู่ในระดับต่ำมากจนใกล้แตะระดับสุดตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา และยังมีอัตราการเปิดรับสมัครงานสูงสุดทุบสถิติใหม่ ทำให้ชาวอเมริกันอาจเลือกหางานเสริมเพิ่มมารองรับร่ายจ่ายที่มากขึ้นได้

ผลสำรวจของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อเดือน พ.ค.ก็ระบุในทิศทางเดียวกันว่า ชาวอเมริกันส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นด้านการเงินของตัวเองกันมากขึ้น นอกจากนี้ เมื่อมองไปยังภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เคยเป็นต้นเหตุของวิกฤตซับไพรม์เมื่อ 10 ปีก่อน ยังพบว่า ตลาดที่อยู่อาศัยในปัจจุบันยังห่างไกลจากปัญหาฟองสบู่เมื่อปี 2007

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองเชิงลบนั้นก็ยังมีความน่ากังวลที่ต้องจับตาเช่นกัน เพราะแม้เศรษฐกิจในปีนี้จะยังขยายตัวได้ดี แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นจากเรื่องสงครามการค้า รวมถึงปัจจัยอื่นๆ อาทิ ต้นทุนกู้ยืมที่แพงขึ้นตามการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น และอานิสงส์นโยบายลดภาษีของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่กำลังค่อยๆ หมดลง

และแม้ว่าจะไม่ต้องห่วงเรื่องการตกงานในยุคที่หาคนทำงานไม่ได้เช่นนี้ แต่ในรายละเอียดเชิงลึกกลับพบว่า ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้นได้พุ่งแซงหน้ารายได้ (ก่อนหักภาษี) ไปแล้วสำหรับกลุ่มรายได้ฐานราก 40% จากการสำรวจการเงินครัวเรือนอเมริกันช่วง 5 ปี จนถึงกลางปี 2017 ที่ผ่านมา

ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าอัตราค่าแรงที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากพอเมื่อเทียบกับตลาดการจ้างงานที่ขยายตัวอย่างร้อนแรง โดยเฉพาะค่าแรงของกลุ่มชนชั้นกลางและผู้มีรายได้น้อย ซึ่งที่สุดแล้วนอกจากจะก่อหนี้เพิ่มไปตามบรรยากาศเศรษฐกิจที่ ฟื้นตัว ก็ยังต้องขุดเอา "เงินออม" ออกมาใช้เพิ่มขึ้นไปด้วยด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจหากจะพบว่าตลอดปี 2017 ที่ผ่านมา ครัวเรือนอเมริกันกลุ่มฐานรากจะมีความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น และทำให้อัตราค้างชำระสินเชื่อรถยนต์และ สินเชื่อบัตรเครดิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ท่ามกลางตัวเลขการออมเงินที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา

ทั้งนี้ รอยเตอร์สได้ยกตัวอย่างของ มีนา วิทนีย์ ผู้ช่วยด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเดร็กเซล วัย 27 ปี ว่า การได้งานประจำเมื่อ 3 ปีก่อน ทำให้เจ้าตัวเชื่อมั่นว่ามีความมั่นคงทางการเงินเพียงพอ จึงนำไปสู่การกู้ซื้อรถฮอนด้า โอดิสซีย์ และกู้ซื้อบ้านราคาเกือบ 1.2 แสนดอลลาร์สหรัฐ แต่หลังจากนั้นก็พบว่าทั้งหมดนี้เป็นภาระที่หนักเกินไป แม้ว่าตัวเองจะหาเงินได้ 16.47 ดอลลาร์/ชม. หรือมากกว่าแรงงานในสหรัฐราว 40% ก็ตาม ทำให้ต้องงัดเอาเงินออมออกมาใช้ จนทำให้เหลือเงินออมเพียง 900 ดอลลาร์ จากเดิมที่มีถึง 1 หมื่นดอลลาร์

ออกซฟอร์ด อีโคโนมิกส์ ระบุว่า ที่ผ่านมากลุ่มชนชั้นกลางอเมริกัน 40% ที่เหลือจากฐาน 60% คือผู้ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นหลักมาโดยตลอดผ่านทางรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่นับตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา ตัวที่ขับเคลื่อนหลักกลับเป็นส่วนของเงินออมของกลุ่มฐานราก 60% แทน โดยส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการปล่อยสินเชื่อสำหรับผู้มีรายได้น้อยมากขึ้นในยุคปลายวัฏจักรเศรษฐกิจขาขึ้น

ในบรรยากาศภาพรวมที่อะไรๆ ก็ดูดีขึ้นเช่นนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ชาวอเมริกันจะยอมงัดเอาเงินออมออกมาใช้มากขึ้น มากกว่าจะยอมลดรายจ่ายเหมือนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา ทว่าเศรษฐกิจที่ต้องแลกมาบนกองหนี้และเงินออมของอเมริกันชนผู้มีรายได้น้อยในเวลานี้ ก็สุ่มเสี่ยงในช่วงที่วัฏจักรขาขึ้นกำลังค่อยๆ หมดเวลาลง และอาจปะทุปัญหาระลอกใหม่ในอีกไม่กี่ปีนี้ตามมาเช่นกัน

โดย นันทิยา วรเพชรายุทธ

Source: posttoday

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"