forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

IMF ออกรายงานวิเคราะห์ดุลบัญชีเงินสะพัดโลกกระจุกตัวในกลุ่มเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้ว

ผลการวิเคราะห์ Global Imbalance จาก International Monetary Fund (IMF) สรุปว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดในระบบเศรษฐกิจโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมเศรษฐกิจโลก

อย่างไรก็ดี ร้อยละ 40–50 ของดุลบัญชีเงินสะพัดอยู่ในระดับ ‘excessive’ และกระจุกตัวในกลุ่มเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้ว โดยกลุ่มประเทศที่มีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินกว่าระดับที่เหมาะสม ประกอบด้วย ประเทศทางตอนเหนือของยุโรป (เยอรมนี สวีเดน เนเธอร์แลนด์) จีน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มประเทศหลักที่มีดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยกว่าระดับที่เหมาะสม ได้แก่ สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา โดยความไม่สมดุลของดุลบัญชีเงินสะพัด ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วต่างๆ ทั่วโลก ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจและกระตุ้น protectionist sentiment

อย่างไรก็ดี ผลการวิเคราะห์พบว่า protectionist policies ไม่กระทบดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมีนัยสำคัญ แต่ส่งผลเสียต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ทั้งนี้ IMF ประเมินว่าความไม่สมดุลของดุลบัญชีเดินสะพัดในระบบเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวภายใต้นโยบายเศรษฐกิจปัจจุบันของประเทศหลัก และภาวะไม่สมดุลอย่างต่อเนื่องจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับโลก อาทิ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจการคลังของสหรัฐฯ ทำให้ดุลบัญชีเงินสะพัดขาดดุลมากขึ้น ส่งผลให้สหรัฐฯ ต้อง normalize นโยบายการเงินเร็วขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้ global financial condition ตึงตัวและอาจกลายเป็น disruptive force ต่อประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนาทั่วโลก

ทั้งนี้ IMF สนับสนุนให้ประเทศที่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล
1) ลดการขาดดุลบงบประมาณ
2) กระตุ้นให้เกิดการออมในภาคครัวเรือน
3) normalize นโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป และ
4) ปฏิรูปตลาดแรงงานเพื่อเพิ่ม productivity

ขณะที่ประเทศที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลควร 1) กระตุ้นให้เกิดการลงทุน ลดการออม และ 2) ใช้จ่ายภาครัฐมากขึ้น อนึ่ง แม้นโยบายเปิดเสรีทางการค้าไม่สามารถบรรเทาความไม่สมดุลของดุลบัญชีเดินสะพัดในระบบเศรษฐกิจโลก แต่สามารถช่วยให้ productivity และ welfare ปรับดีขึ้น และลดความเสี่ยงของการตอบโต้ในลักษณะ protectionist policies ซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ฝ่ายใด

Source: BOTSS

- Entrenched Trade Imbalances Risk Curbing Global Growth, IMF Says
คลิก

- IMF Blog : Addressing Global Imbalances Requires Cooperation
คลิก

- U.S. Increasingly Large Driver of Global Trade Deficits, IMF Reports:
คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"