forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ตอนที่ 2 (พันธบัตร)

นอกจากการออมเงินโดยบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ แล้ว ก็ยังมีรูปแบบการออมเงินและการลงทุนที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ำและได้ผลตอบแทนมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งอยู่ที่ 1.5% นั้นคือ “พันธบัตรรัฐบาล”

พันธบัตรรัฐบาล คือ หนึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินในกลุ่ม “ตราสารหนี้” โดยผู้ซื้อพันธบัตรจะมีฐานะเป็น “เจ้าหนี้” และผู้ออกตราสารจะมีฐานะเป็น “ลูกหนี้” โดยพันธบัตรรัฐบาลออกโดยหลายหน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงการคลัง, ธนาคารแห่งประเทศไทย, รัฐวิสาหกิจ และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

การแบ่งประเภทพันธบัตรรัฐบาล ก็แบ่งเช่นเดียวกับตราสารหนี้ ซึ่งอาจแบ่งได้หลายลักษณะ ดังนี้

1. แบ่งตามอายุ ได้แก่ ระยะสั้น กลาง และยาว

2. แบ่งตามลักษณะของการจ่ายดอกเบี้ย เช่น จ่ายดอกเบี้ยในอัตราคงที่, จ่ายดอกเบี้ยในอัตราลอยตั, จ่ายดอกเบี้ยทบต้น หรือไม่จ่ายดอกเบี้ย เป็นต้น

3. แบ่งตามลักษณะการออกใบตราสาร ได้แก่

• ชนิดมีใบตราสาร (Scrip) มีการออกใบตราสารซึ่งระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้ให้ครอบครอง

• ชนิดไร้ใบตราสาร (Scripless) บันทึกกรรมสิทธิ์ไว้ในบัญชีของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์โดยไม่มีการออกใบตราสาร

การซื้อพันธบัตร คือการเอาเงินวางลงทุนไว้เลย โดยไม่สามารถถอนออกก่อนเวลาที่กำหนดได้ ปัจจุบันพันธบัตรรัฐบาลไทยมีตั้งแต่ระยะเวลาเริ่มต้น 3 – 10 ปี โดยระยะเวลามีผลต่ออัตราผลตอบแทนที่ได้ ยิ่งระยะเวลานานก็ยิ่งได้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า มีระยะเวลา 3 ปี (ดอกเบี้ย 1.85% – 2.00%), 5 ปี (ดอกเบี้ย 2.05% – 2.35%), 7 ปี (ดอกเบี้ย 2.45% – 2.56%) และ 10 ปี (ดอกเบี้ย 3.00% – 3.50%)

ซื้อพันธบัตรรัฐบาลได้จากที่ไหน?

สำหรับบุคคลทั่วไปแนะนำให้หาซื้อผ่านธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินที่มีใบอนุญาติค้าหลักทรัพย์ เช่น ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์ ฯลฯ และ บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร ฯลฯ

อีกทั้งผู้ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวด ทั้งบุคคลธรรมดาที่อยู่ในไทย และบุคคลธรรมดาที่มิได้อยู่ในไทย

โดย นิรมล นิตย์นิธิพฤทธิ์ (นักวิเคราะห์การเงิน, Olymp Trade)

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"