forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

'เงินเฟ้อ'ต่ำคาด-แนะกนง.หยุดขึ้นดอกเบี้ย

นักเศรษฐศาสตร์ มองเงินเฟ้อเดือน ก.ค.บวก 0.38% โตต่ำต่อเนื่อง สะท้อน ไร้แรงส่งผ่านต้นทุน ย้ำหากเทียบดอกเบี้ยนโยบายถือว่า Over Tighten เกินไป พร้อมแนะ กนง. หยุดขึ้นดอกเบี้ยรอดูสถานการณ์ "พาณิชย์" คาดเดือน ส.ค.ยังขยายตัวในกรอบแคบๆ ประเมิน ทั้งปีโต 1-2%

กระทรวงพาณิชย์ประกาศเงินเฟ้อเดือน ก.ค.2566 สูงขึ้นเพียง 0.38% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และอยู่ระดับต่ำกว่า 1% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 นับตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา สาเหตุหลัก มาจากการลดลงของราคาเชื้อเพลิง เนื้อสุกร และเครื่องประกอบอาหาร ขณะที่เงินเฟ้อเฉลี่ย 7 เดือน สูงขึ้นเพียง 2.19% และเริ่มทยอยปรับเข้าสู่กรอบเป้าหมายแล้ว
นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้า นักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่า ถ้าดูตัวเลขเงินเฟ้อปัจจุบันเทียบอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ต้องถือว่า Over tighten เกินไป เพราะตัวเลขเงินเฟ้อปัจจุบันโดยเฉพาะเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงเร็วมาก โดยเฉลี่ยเดือนต่อเดือน อยู่เพียง 0.04% และคาดเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ระดับ 0.50% เท่านั้น ดังนั้นแรงกดดันจากเงินเฟ้อ ถือว่าต่ำค่อนข้างมาก
ทั้งนี้แม้เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังฟื้นตัว การท่องเที่ยวเริ่มกลับมาได้ค่อนข้างเร็วก็คาดการณ์ว่า เงินเฟ้ออาจไม่ได้ไปเกินระดับ 2% อีกทั้ง หากเงินเฟ้อมาจากปัญหาเอลนีโญ ก็เชื่อว่าไม่ใช่เหตุผลหลัก ที่กนง.จะขึ้นดอกเบี้ย เพื่อไปดูแลเงินเฟ้อจากประเด็นดังกล่าว
"นโยบายการเงินจริงๆต้องดูที่ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ว่าวันนี้เป็นอย่างไร เพราะหากดูอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน วันนี้ต่ำที่สุดไม่ถึง1% จากระดับเงินเฟ้อที่ขึ้นไปพีคสุดที่ 3% แต่วันนี้ เหลือเพียง 0.86% หากเทียบกับ ปีก่อน และหากเทียบเดือนต่อเดือนถือว่าขยับน้อยมาก เหล่านี้สะท้อนว่า Demand pull inflation ไม่มี เพราะเศรษฐกิจไทยปัจจุบันไม่ได้ดีจนขนาดที่คนจะส่งผ่านต้นทุนไปสู่ราคาสินค้าได้ และดูเงินเฟ้อปัจจุบัน เทียบกับดอกเบี้ย ก็ถือว่า tighten เกินไปแล้ว"
ดังนั้นการดำเนินนโยบายการเงิน จึงควรหยุดรอดูสถานการณ์ก่อน หากเงินเฟ้อขึ้นเหมือนอย่างที่ประเมินไว้ ค่อยขึ้นดอกเบี้ยได้ไม่สายเกินไป ดังนั้นควร Wait and see ภายใต้ความเสี่ยงปัจจุบันที่มีสูงมากขึ้น
ดอกเบี้ยจบแล้วที่ 2.25%
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า เงินเฟ้อเดือนก.ค.ที่ออกมา ขยายตัวเพียง 0.38% ถือว่าไม่ได้รุนแรงอย่างที่คิด ทำให้ความน่าห่วงจาก Food inflation จากราคาอาหาร ไม่ได้มีสัญญาณความน่ากังวล สะท้อนว่า กนง.น่าจะเบรกขึ้นดอกเบี้ยแล้วในระยะถัดไป โดยดอกเบี้ยจะจบที่ 2.25% เพราะแรงกดดันจากเงินเฟ้อแผ่วลง
และหากดูระยะข้างหน้า จาก สิ่งที่ กนง.กังวล คือ การผลักภาระต้นทุน ไปสู่ผู้บริโภคเมื่อเศรษฐกิจฟื้น ทำให้คาดการณ์เงินเฟ้อระยะข้างหน้าอาจเพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่า ไม่น่าจะเกินระดับ 2% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่า ดอกเบี้ยนโยบาย
ดังนั้นสิ่งที่น่ากังวลไม่ใช่เงินเฟ้อ แต่คือความเสี่ยงจากทั้งปัจจัยทางการเมือง จากเศรษฐกิจจีน และการส่งออก รวมถึงหนี้ครัวเรือนในระยะข้างหน้ามากกว่า
อย่างไรก็ตาม ที่ต้องติดตามหลังจากนี้คือ มาตรการภาครัฐ หลังจัดตั้ง รัฐบาลเสร็จสิ้น ว่าจะมีมาตรการอะไร ออกมา เช่นมาตรการขึ้นค่าแรง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่อาจเป็นตัวเร่งให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นหรือไม่
เงินเฟ้อต่ำไร้เหตุกดดัน กนง.ขึ้นดบ.
นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า หากดูอัตราเงินเฟ้อที่ออกมา ถือว่าอยู่ระดับต่ำ โดยเฉพาะเงินเฟ้อ พื้นฐาน ดังนั้นเชื่อว่าการที่เงินเฟ้อทรงตัวระดับต่ำต่อเนื่อง จะไม่เป็นปัจจัยกดดันให้กนง.ขึ้นดอกเบี้ย และคาดการขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ผ่านมา เป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายแล้ว เพราะไม่สะท้อน Real demand หรือสะท้อนความต้องการซื้อมากนักในปัจจุบัน แต่ปัญหามาจาก Supply side จากอุปทาน ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ยไปอาจไม่ได้ช่วย
อย่างไรก็ตาม ยังไม่ถือว่าปิดประตูการขึ้นดอกเบี้ย แม้เชื่อว่าดอกเบี้ยได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว เพราะเชื่อว่ากนง.จะดูจาก Data dependent เป็นหลัก จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมา และหากเงินเฟ้อขึ้นแรงเพราะการขาดแคลนอาหารหลังจากนี้
"ส่วนตัวไม่คิดว่า ธปท.จะขึ้นดอกเบี้ยต่อ เชื่อว่าผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว เพราะไม่สะท้อน Real demand เพราะปัญหามาจาก supply side ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ยคงไม่ช่วย เพราะหากเงินเฟ้อมาจาก ราคาพลังงาน หรือราคาพืชผลทางการเกษตร การขึ้นดอกเบี้ยก็คงไม่ช่วย"
"พาณิชย์"ชี้เงินเฟ้อต่ำสุดในอาเซียน
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้ออยู่ระดับต่ำต่อเนื่องสาเหตุมาจากการชะลอตัวของราคาสินค้าหมวดอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มเนื้อสุกรและเครื่องประกอบอาหารที่ราคาปรับลดลงติดต่อเป็นเดือนที่ 3 และน้ำมันเชื้อเพลิงราคาปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 เมื่อเทียบช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับฐานราคาเดือน ก.ค.2565 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้ออยู่ระดับสูง
ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อไทยเมื่อเทียบต่างประเทศจากข้อมูลเดือน มิ.ย.2566 พบว่า อัตราเงินเฟ้อหลายประเทศ ทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของไทยอยู่กลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ และต่ำที่สุดในอาเซียนจาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข ประกอบด้วย สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซียและเวียดนาม
"กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2566 อยู่ระหว่าง 1.0-2.0% โดยค่ากลางอยู่ที่ 1.5% ภายใต้ สมมติฐานผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ (จีดีพี) ระหว่าง 2.7-3.7% น้ำมันดิบดูไปเฉลี่ยทั้งปีที่ 71-81 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 33.5-35.5 และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง"
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ค.2566 ที่สูงขึ้น 0.38% ดังกล่าว มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ประกอบด้วย หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 1.49% (YoY) ชะลอตัวลงค่อนข้างมากจากเดือนที่ผ่านมา
นายพูนพงษ์ กล่าวว่าเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้น 0.86% (YoY) ชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยเดือน มิ.ย.2566 สูงขึ้น 1.32% (YoY) สำหรับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 7 เดือนแรกของปี 2566 (ม.ค.-ก.ค.) เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 2.19% (AoA) ซึ่งอยู่ในกรอบเป้าหมายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กำหนด 1.0-3.0%
คาดเงินเฟ้อ ส.ค.ขยายตัวกรอบแคบๆ
นายพูนพงษ์ กล่าวว่า แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ส.ค.2566จะขยายตัวเล็กน้อยกรอบแคบๆ โดยรับแรงสนับสนุนจากสินค้าอาหารบางประเภทที่ยังคงขยายตัว เนื่องจากสภาพอากาศปีนี้ค่อนข้างแล้งกว่า ปีที่ผ่านมาทำให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย รวมทั้งราคาอาหารสำเร็จรูปที่ยังอยู่ในระดับสูง และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มขยายตัวจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศ OPEC และความขัดแย้ง ระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่มีความตึงเครียดมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ฐานราคาที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อในเดือน ส.ค.2565 อยู่ระดับสูง ทำให้อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ระดับต่ำ และเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ทั้งนี้ ความผันผวนของราคาน้ำมัน เชื้อเพลิง สถานการณ์ภัยแล้ง เศรษฐกิจโลก และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กระทบอัตราเงินเฟ้อที่จะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เพิ่มเติม

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"