forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เศรษฐกิจเยอรมนีทรุด-ซึม ผวาเป็น “คนป่วยแห่งยุโรป”

“เดสทาทิส” สำนักงานสถิติแห่งสหพันธ์รัฐของเยอรมนี แถลงเมื่อ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า จีดีพีของประเทศในช่วงระหว่างเดือนเมษายนจนถึงเดือนมิถุนายนปีนี้ อยู่ในสภาพชะงักงัน กล่าวคือมีอัตราการขยายตัวเป็นศูนย์ ในทางเทคนิคแล้ว เท่ากับว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีเลี่ยงหนีจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ได้อย่างฉิวเฉียด หลังจากที่จีดีพีของประเทศหดตัวลงต่อเนื่อง 2 ไตรมาสติดต่อกัน ติดลบ 0.4 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่สี่ของปีที่ผ่านมา และติดลบต่อเนื่องอีก 0.1 เปอร์เซ็นต์ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้
แต่การที่เศรษฐกิจขยายตัวเป็นศูนย์นั้น ไม่เพียงต่ำกว่าประมาณการของนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายอยู่ไม่น้อยแล้วเท่านั้น ยังแสดงให้เห็นว่า โดยรวมแล้วในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ เศรษฐกิจของเยอรมนีหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง และในความเป็นจริงแล้ว ตัวเลขการขยายตัวเป็นศูนย์ในไตรมาสที่ 2 อาจกลายเป็นติดลบได้อีกเช่นเดียวกัน หากมีการทบทวนปรับตัวเลขกันใหม่ในภายหลัง
ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ ด้วยตัวเลขดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจของเยอรมนีตกอยู่ในสภาพย่ำแย่ที่สุด เมื่อเทียบกับบรรดาเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ทั้งหลายในเขตยูโรโซน หรือกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรด้วยกัน
เพราะในช่วงเวลาเดียวกันนั้น เศรษฐกิจของประเทศอย่างฝรั่งเศส ขยายตัว 0.5% และจีดีพีของสเปนก็ขยายตัว 0.4% เช่นเดียวกัน
เศรษฐกิจของเยอรมนีย่ำแย่กว่า แม้แต่เมื่อเทียบกับประเทศอย่างอิตาลี ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดว่า ตลอดทั้งปีนี้เศรษฐกิจของอิตาลีจะขยายตัวถึง 1.1% ในขณะที่ฝรั่งเศส จีดีพีตลอดทั้งปีจะขยายตัว 0.9%
ตรงกันข้ามกับเยอรมนีที่ตลอดปีนี้ ทั้งไอเอ็มเอฟ และบุนเดสแบงก์ หรือแบงก์ชาติของประเทศประเมินตรงกันว่า เศรษฐกิจจะหดตัวลง จีดีพีทั้งปีจะติดลบ 0.3%
ที่น่าสนใจก็คือ ครั้งสุดท้ายที่จีดีพีตลอดปีของอิตาลีสูงกว่าเยอรมนีเช่นนี้ เกิดขึ้นเมื่อปี 2003 หรือเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา
ผู้สันทัดกรณีชี้ว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีเผชิญปัจจัยลบรอบด้าน ตั้งแต่วิกฤตการณ์พลังงาน ซึ่งก่อตัวขึ้นจากสงครามในยูเครน กลายเป็นปัญหาซ้ำเติมภาคการผลิต ซึ่งมีปัญหาต้องต่อสู้แก้ไขอยู่ก่อนแล้ว ทั้งปัญหาขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ ที่ส่งผลทำให้ผลิตภาพของแรงงานแย่ลง ซึ่งทั้งหมดเชื่อมโยงอยู่กับปัญหาเชิงประชากรในประเทศที่กำลังกลายเป็นสังคมสูงอายุมากขึ้นทุกที
ในขณะเดียวกัน ความสามารถในการ “ผลิตรถยนต์” ที่เคยโดดเด่นของเยอรมนี ก็ถูกคุกคามด้วยการแข่งขันที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้นในตลาดรถยนต์อีวี หรือรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วโลก
ทั้งหมดนั้นล้วนเป็น “ความท้าทายในระยะยาว” ซึ่งเมื่อผสมผสานกับอุปสงค์จากจีนที่อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด บวกกับนโยบายการเงินที่พลิกกลับมาเข้มงวด ก็ยิ่งบีบคั้นภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีมากยิ่งขึ้นไปอีก
ที่เป็นปัญหามากยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ จนถึงขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณใด ๆ ที่ส่อว่าเยอรมนีจะมีทางออกให้กับปัญหาระยะยาวที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังเผชิญอยู่ในเวลานี้
จอร์ก เครเมอร์ หัวหน้าทีมนักเศรษฐศาสตร์ประจำคอมเมิร์ซแบงก์ เอจี ถึงกับระบุว่า ภาวะย่ำแย่ทางเศรษฐกิจของเยอรมนีนั้นไม่ใช่เรื่องของการคาดการณ์อีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นกันอยู่แก่ตาแล้วในเวลานี้
“เราคาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะกลับมาปรากฏให้เห็นใหม่อีกครั้ง” เครเมอร์ระบุ
นักเศรษฐศาสตร์บางคน อาทิ คลีเมนส์ เฟาสท์ ประธานสถาบันไอเอฟโอในนครมิวนิก ถึงกับระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของเยอรมนีจะต่อเนื่องยืดเยื้อออกไป นำโดยภาวะทรุดตัวในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งแสดงให้เห็นเด่นชัดในผลการสำรวจรายเดือนล่าสุดที่ ไอเอฟโอ จัดทำขึ้น
เอสแอนด์พี โกลบอล ระบุว่า ผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (purchasing manager index) แสดงให้เห็นชัดเจนเช่นกันว่า สภาพอ่อนแอในภาคอุตสาหกรรมนั้นมีน้ำหนักมากกว่าการขยายตัวที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในภาคบริการ
ในฐานะที่เป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด และเป็นฐานการผลิตที่สำคัญที่สุดของยูโรโซน สถานการณ์เศรษฐกิจในเยอรมนีกำลังกลายเป็นตัวถ่วง ฉุดให้เศรษฐกิจของทั้งยูโรโซนทรุดตัวลงตามไปด้วย
โทมัส เมเยอร์ ผู้ก่อตั้งสถาบันวิจัยฟลอสบัค ฟอน สตอร์ช ซึ่งเป็นองค์กรวิชาการที่เฝ้าสังเกตการณ์ทางเศรษฐกิจมายาวนานระบุว่า การที่เศรษฐกิจของเยอรมนีตกอยู่ในสภาพคืบคลานหรือติดลบอยู่บ้าง ดูจะเป็นปัญหาระดับรองไปแล้วในเวลานี้
ปัญหาใหญ่ที่เป็นอันดับหนึ่งในเวลานี้ก็คือ เศรษฐกิจของเยอรมนีจะตกต่ำซึมยาวนานหรือไม่
เพราะในตอนนี้ก็ส่อเค้าว่าจะกลายเป็น “คนป่วยแห่งยุโรป” ที่แท้จริงเข้าไปทุกที
คอลัมน์ : ชีพจรเศรษฐกิจโลก
ผู้เขียน : ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"