forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

หลอกโอนเงินช่องโหว่อันดับ 1 ของอังกฤษ

พฤติกรรมการฉ้อโกงเพื่อหลอกลวงเหยื่อผ่านช่องทางออนไลน์ กลายเป็นปัญหาสร้างความเดือดร้อนให้คนทั่วโลกไม่เฉพาะต่อคนไทยเท่านั้น ในประเทศอังกฤษเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา มีกรณีหลอกให้ เหยื่อหลงเชื่อและโอนเงิน (Authorized push payment fraud: APP Fraud) กว่า 207,372

ครั้งมูลค่าความเสียหาย ราว 485 ล้านยูโร หรือ ประมาณ 18,850 ล้านบาท
มาสเตอร์การ์ดรายงานว่า พฤติกรรมการหลอกให้โอนเงินในประเทศอังกฤษ กำลังสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนและธุรกิจจำนวนมากและสั่นคลอนความเชื่อมั่นต่อระบบการรักษาความปลอดภัยทางการเงิน โดยมิจฉาชีพจะใช้วิธีเหมือนกันทั่วโลก คือการโอนเงินที่ฉ้อโกงมาได้ไปยัง "บัญชีม้า" เพื่ออำพรางเงินและป้องกันการตรวจสอบ
ตลอด 5 ปีที่ผ่านมานี้ มาสเตอร์การ์ดได้ทำงานร่วมกับธนาคารในอังกฤษ 9 แห่ง ได้แก่ Lloyds Bank, Halifax, Bank of Scotland, Nat West, Monzo และ TSB เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ด้วยการติดตามความเคลื่อนไหวของเงินไปจนถึงบัญชีปลายทางต้องสงสัยและปิดบัญชีเหล่านี้ลง
ด้วยข้อมูลการติดตามการเดินเงินดังกล่าวช่วยให้สามารถจัดระดับความเสี่ยงการทำธุรกรรมในแต่ละครั้ง ผ่านการใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence) ตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมได้แบบบัญชีต่อบัญชี (accountto-account)ช่วยคาดการณ์และป้องกันการทำธุรกรรมจากสแกมเมอร์ในทุกรูปแบบ
โดยAI จะวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายปัจจัย อาทิ ชื่อบัญชี จำนวนเงินที่โอน ประวัติธุรกรรมของผู้โอนและผู้รับ และความเป็นไปได้ที่บัญชีผู้รับเงินอาจเกี่ยวข้องกับการโจรกรรม ช่วยให้หลายธนาคารสามารถระงับการทำธุรกรรมที่ต้องสงสัยได้แบบเรียลไทม์ก่อนที่เงินของเหยื่อจะสูญหาย
อย่างไรก็ตาม แม้ระบบรักษาความปลอดภัยจะมีความก้าวหน้ามากเพียงใดแต่นักต้มตุ๋นมักปรับเปลี่ยนกลไกในการหลอกล่อให้แยบยลยิ่งขึ้น โดยเปลี่ยนเป้าหมายการโจรกรรมเป็นการโน้มน้าวบุคคลและธุรกิจเพื่อหลอกให้โอนเงิน
วิธีนี้เป็นการหลอกให้เชื่อว่าเป็นการ โอนเงินให้แก่บุคคลหรือสถาบันที่มีอยู่จริง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คู่ค้าที่รู้จัก รวมถึงการซื้อสินค้าปลอมผ่านช่องออนไลน์ หรือที่เรียกว่า การหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อและโอนเงิน (Authorized push payment fraud:APP Fraud)
อาเจย์ บัลลา ประธานฝ่าย Cyber and Intelligence มาสเตอร์การ์ด กล่าวว่า การโจรกรรมในลักษณะนี้ ยากต่อการตรวจสอบมากผู้เสียหายทำการโอนเงินของพวกเขาด้วยตัวเอง โดยที่มิจฉาชีพไม่จำเป็นต้องละเมิดมาตรการรักษาความปลอดภัยใดๆ การฉ้อโกงเหล่านี้เป็นตัวทำลายความเชื่อมั่นต่อการทำธุรกรรมออนไลน์
การใช้เทคโนโลยี AI เวอร์ชันล่าสุด จึงจะช่วยให้ธนาคารสามารถจำแนกและตรวจจับการใช้จ่ายที่มีพิรุจ และยับยั้งการโจรกรรมได้อย่างทันท่วงทีขึ้น
ด้านพอล เดวิส ผู้อำนวยการฝ่ายการป้องกันการทุจริต ธนาคาร TSB ในประเทศอังกฤษ กล่าวว่า อาชญากรรมพัฒนาความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การตรวจจับและแยกแยะธุรกรรมทางการเงินที่ผิดปกติออกจากธุรกรรมที่ถูกกฎหมายซึ่งเกิดขึ้นนับล้านครั้งในทุกวัน ยากจนเปรียบเหมือนการงมเข็มในมหาสมุทร การใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและพฤติกรรมการเงินของลูกค้า จึงช่วยป้องกันการโจรกรรมได้ดีขึ้น สามารถตรวจจับและจำแนกรูปแบบการโจรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโจรกรรมที่เป็นการหลอกเหยื่อให้ชำระเงิน โอนเงินให้ธุรกิจหรือบุคคลตัวปลอมโดยปัจจุบันพบว่าการหลอกลวงให้ชำระเงินคิดเป็น 57% ของการฉ้อฉลที่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษและเป็นช่องโหว่ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศ
โดยในปี 2565 ที่ผ่านมาอังกฤษมีกรณีหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อและโอนเงิน (APP) ทั้งสิ้น 207,372 ครั้ง มูลค่าความเสียหายประมาณ 485 ล้านยูโร หรือราว 18,850 ล้านบาท.
Source: ไทยรัฐออนไลน์

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"