เตือน การส่ง SMS ผ่านเสาส่งสัญญาณมือถือปลอม ระบาด ขณะบัญชีม้ากลับมาพุ่ง สั่งปิด 9,000 บัญชีต่อเดือน ย้ำ มิจฉาชีพเปลี่ยนสูตรหลอกใหม่ๆ ถ้าตกเป็น “เหยื่อ” อย่าลืมแจ้งความใช้อายัดบัญชีกับธนาคาร Summary ธปท.เผย ภัยมิจฉาชีพ หลอกกดลิงก์ ติดตั้งแอปดูดเงิน
ยังป่วน แม้หว่านมาตรการป้องกันทุกทาง เตือน การส่ง SMS ผ่านเสาส่งสัญญาณมือถือปลอม ระบาด ขณะบัญชีม้ากลับมาพุ่ง สั่งปิด 9,000 บัญชีต่อเดือน ย้ำ มิจฉาชีพเปลี่ยนสูตรหลอกใหม่ๆ ถ้าตกเป็น “เหยื่อ” อย่าลืมแจ้งความใช้อายัดบัญชีกับธนาคาร
สถิติภัยออนไลน์ในประเทศไทยยังพุ่ง เพราะมิจฉาชีพเปลี่ยนกลวิธี ฉวยโอกาส หลอกลวงคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ไปเรื่อยๆ วัดจากกรณีล่าสุด ที่ระบบพร้อมเพย์ การโอนเงินต่างธนาคารเกิดขัดข้อง ส่งผล โอนเงิน ผ่าน Mobile Banking, Internet Banking ไม่ได้ชั่วคราว ปรากฏ มิจฉาชีพ ได้ใช้โอกาสนี้ ส่งข้อความการอัปเดต Mobile Banking ด้วยการแนบลิงก์ปลอม ให้เหยื่อเผลอกดลิงก์ จนเหยื่อถูกขโมยข้อมูลส่วนบุคคล หรือถูกติดตั้งแอปรีโมตเพื่อเข้าควบคุมโทรศัพท์ สุดท้ายถูกคนร้ายโอนเงินออกจากบัญชีจนเกลี้ยง
นี่เป็นแค่กรณีตัวอย่าง ที่เกิดขึ้น และชี้ให้เห็นว่า มิจฉาชีพยังคงรุกอย่างหนัก ในการหลอกลวงคนไทย แม้ว่า เราจะมี พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 ที่เพิ่งประกาศบังคับใช้ออกมา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา
พร้อมกับการทำงานร่วมกันป้องกันและแก้ปัญหา ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ธนาคาร สถาบันการเงิน กสทช. และ ภาครัฐ ฝ่ายบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
มิจฉาชีพพุ่ง คนไทยเสี่ยง 25.7%
ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงาน ความคืบหน้ามาตรการการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน เพื่อปิดช่อง ที่มิจฉาชีพเข้าถึง จนประชาชนตกเป็นเหยื่อหลายช่องทาง นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธปท. เผยว่า ปัจจุบันภัยทุจริตทางการเงิน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ
ขณะภัยทางการเงินของไทย เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ประเทศไทย มีอัตราโอกาสที่จะถูกทุจริตผ่านทางออนไลน์ ราว 25.7% ขณะ ฮ่องกง อัตราอยู่ที่ 16.2%, ออสเตรเลีย 28.1% ขณะสิงคโปร์ อยู่ที่ 25.3% ซึ่งแต่ละประเทศข้างต้น ได้ใช้เครื่องมือป้องกันแก้ไขภัยคุกคามทางการเงิน ที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ขณะ ธปท. เอง ก็มีมาตรการในแง่ป้องกันที่มีความเข้มข้นขึ้น ภายใต้ พ.ร.ก.ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เพิ่งประกาศใช้
นี่เป็นแค่กรณีตัวอย่าง ที่เกิดขึ้น และชี้ให้เห็นว่า มิจฉาชีพยังคงรุกอย่างหนัก ในการหลอกลวงคนไทย แม้ว่า เราจะมี พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 ที่เพิ่งประกาศบังคับใช้ออกมา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา
พร้อมกับการทำงานร่วมกันป้องกันและแก้ปัญหา ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ธนาคาร สถาบันการเงิน กสทช. และ ภาครัฐ ฝ่ายบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
มิจฉาชีพพุ่ง คนไทยเสี่ยง 25.7%
Recommended
หุ้นท่องเที่ยว สะเทือน หวั่นม็อบกดดัน หาก “พิธา” ไม่ได้เป็นนายกฯ
หุ้นท่องเที่ยว สะเทือน หวั่นม็อบกดดัน หาก “พิธา” ไม่ได้เป็นนายกฯ
ราคาน้ำมันวันนี้ 13 ก.ค. 2566 อัปเดตราคาน้ำมันทุกชนิดล่าสุด ลิตรละกี่บาท
ราคาน้ำมันวันนี้ 13 ก.ค. 2566 อัปเดตราคาน้ำมันทุกชนิดล่าสุด ลิตรละกี่บาท
"ขนส่ง" ลั่นขึ้นแน่ 10% ตามต้นทุนดีเซล
"ขนส่ง" ลั่นขึ้นแน่ 10% ตามต้นทุนดีเซล
เลือกนายกฯ ยืดเยื้อทำหุ้นปั่นป่วน เอเซีย พลัส ชี้ความไม่แน่นอนสูง แนะ “ถือเงินสด” รอดูสถานการณ์
เลือกนายกฯ ยืดเยื้อทำหุ้นปั่นป่วน เอเซีย พลัส ชี้ความไม่แน่นอนสูง แนะ “ถือเงินสด” รอดูสถานการณ์
ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงาน ความคืบหน้ามาตรการการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน เพื่อปิดช่อง ที่มิจฉาชีพเข้าถึง จนประชาชนตกเป็นเหยื่อหลายช่องทาง นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธปท. เผยว่า ปัจจุบันภัยทุจริตทางการเงิน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ
ขณะภัยทางการเงินของไทย เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ประเทศไทย มีอัตราโอกาสที่จะถูกทุจริตผ่านทางออนไลน์ ราว 25.7% ขณะ ฮ่องกง อัตราอยู่ที่ 16.2%, ออสเตรเลีย 28.1% ขณะสิงคโปร์ อยู่ที่ 25.3% ซึ่งแต่ละประเทศข้างต้น ได้ใช้เครื่องมือป้องกันแก้ไขภัยคุกคามทางการเงิน ที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ขณะ ธปท. เอง ก็มีมาตรการในแง่ป้องกันที่มีความเข้มข้นขึ้น ภายใต้ พ.ร.ก.ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เพิ่งประกาศใช้
ADVERTISEMENT
READ MORE
แอปดูดเงิน เปลี่ยนรูปแบบใหม่
ทั้งนี้ พบว่าปัจจุบัน รูปแบบภัยทุจริตทางการเงินที่เกิดขึ้นในไทย ยังคงเป็นแบบเดิมๆ เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ SMS หลอกลวง และแอปดูดเงิน
โดยผลดำเนินการปราบปรามที่ผ่านมา ยังแกว่ง หลังช่วงไตรมาสแรก พบกรณีที่เกี่ยวข้องกับแอปดูดเงินลดน้อยลง จากการที่หลายฝ่ายช่วยกันปิดช่องโหว่ แต่ช่วงเดือน พ.ค. / มิ.ย. พบกรณีดังกล่าว มีแนวโน้มกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง โดยมิจฉาชีพมีการปรับปรุงรูปแบบ และวิธีการใหม่ๆ เครื่องมือใหม่ๆ เพื่อหลบเลี่ยงการป้องกันของเจ้าหน้าที่และธนาคาร เป็นแอปดูดเงินรูปแบบใหม่เข้ามาแทน
ขณะกลอุบายของมิจฉาชีพที่น่ากังวล และต้องเฝ้าระวังกันเพิ่มเติมขณะนี้ ได้แก่
การหลอกเป็นหน่วยงานราชการ เช่น กรมที่ดิน การไฟฟ้า และกรมสรรพากร
การหลอกเป็นคนรู้จัก เพื่อนเก่า ญาติพี่น้อง
การหลอกให้ลงทุน เช่น บริษัทใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ หลอกลงทุนคริปโตฯ
การส่ง SMS ผ่านเสาส่งสัญญาณมือถือปลอม หรือ เรียกว่า ปลากระเบน
ทั้งนี้ ตัวเลขความเสียหายจากแอปดูดเงิน เมื่อ เดือน มี.ค. 2566 อยู่ที่ 135 ล้านบาท เดือน เม.ย. 116 ล้านบาท เดือน พ.ค. 200 ล้านบาท และเดือน มิ.ย. เสียหาย 173 ล้านบาท
หน้าที่เดินหน้ากวาดล้าง จำนวนบัญชีม้าลดน้อยลงประมาณ 5,000 บัญชีต่อเดือน ก่อนที่ช่วงเดือน เม.ย. และ เดือน พ.ค. เริ่มกลับมาอยู่ในระดับทรงตัว แต่เดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ดีดกลับขึ้นมาอยู่ที่ 9,000 บัญชีต่อเดือน โดยทั้งหมดถูกปิดอายัดเรียบร้อยแล้ว
ขณะ นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. กล่าวว่า ในทางป้องกัน บัญชีม้า ว่า มีความคืบหน้าต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ธปท.ได้มีแนวนโยบาย จำกัด 1 บัญชีผู้ใช้งาน และ ให้ใช้งานได้ใน 1 อุปกรณ์เท่านั้น
อีกทั้ง ได้ใช้มาตรการกำหนดเพดานวงเงินถอน/โอนให้เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงบุคคล, การเริ่มการสแกนใบหน้า ยืนยันตัวตนจำนวนเงินขั้นต่ำด้วย biometrics กับกรณี
การโอนเงินจำนวนมาก (50,000 บาท/ครั้ง หรือ 200,000 บาท/วัน)
ปรับเพิ่มวงเงินเกิน 50,000 บาท
ส่วนมาตรการอื่นๆ ที่ดำเนินการปิดช่องโหว่ให้กับประชาชน ส่วนใหญ่เสร็จสิ้นแล้ว เช่น
การให้ธนาคารงดส่งลิงก์ทุกประเภท ผ่าน SMS อีเมล และงดส่งลิงก์ขอข้อมูลสำคัญของลูกค้า เช่น ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และเลขบัตรประชาชนผ่านโซเชียลมีเดีย
การปิดกั้น SMS และเบอร์ Call Center ที่แอบอ้างเป็นธนาคาร /ปิด เว็บไซต์หลอกลวง ร่วมกับ กสทช. สกมช. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ TB-CERT
การให้ธนาคารปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย บน Mobile Banking ให้ทันสมัย เท่าทันภัยการเงินรูปแบบใหม่ๆเสมอ
การให้ธนาคารแจ้งเตือนบน Mobile banking ก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง และให้ผู้ใช้งานประเมิน และตระหนักรู้ต่อภัยทุจริตเป็นระยะๆ (เสร็จแล้ว 70%)
รู้ตัวตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ อย่าลืมแจ้งความ
ส่วนกรณี การตรวจจับและติดตามบัญชี ธุรกรรมต้องสงสัย กรณีที่พบบัญชีผิดปกติ แล้วมีการร้องเรียนจากประชาชนผู้ตกเป็นเหยื่อ แล้วปรากฏว่า สถาบันการเงิน ยังไม่สามารถอายัดบัญชีได้ทันที และยังมีการซื้อ-ขาย บัญชีม้าอยู่มากนั้น
ธปท.รายงานว่า ขณะนี้ในกระบวนการ แจ้งความออนไลน์ ได้สะดวกขึ้น มีการทำงานร่วมกันระหว่าง สตช. สมาคมธนาคารไทย และ สถาบันการเงินของรัฐนั้น แล้วเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อเพิ่มช่องทางให้กับประชาชน รวมไปถึง การกำหนดเงื่อนไขการตรวจจับ ติดตามธุรกรรมเข้าข่ายผิดปกติ หรือกระทำความผิด เพื่อ รายงานไป ปปง. ก็เสร็จแล้วเช่นกัน
เหลือเพียง การที่ภาคธนาคารต้องมีการปรับปรุงระบบตรวจจับ ติดตามธุรกรรมเข้าข่ายผิดปกติได้ แบบ Near real-time เพื่อระงับธุรกรรม เมื่อตรวจพบให้รวดเร็ว ขณะนี้ความคืบหน้า 25% คาดจะเสร็จพร้อมกันช่วง ธ.ค.2566
อย่างไรก็ดี นางสาวสิริธิดา ย้ำเตือนว่า “เวลาที่เราตกเป็นเหยื่อ ถูกมิจฉาชีพหลอกแล้ว นอกจากรีบแจ้งธนาคารที่เกี่ยวข้องแล้ว ต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการอายัดบัญชี เพราะขณะนี้ ธนาคารมีอำนาจระงับบัญชีที่ต้องสงสัย เพียงแค่ 72 ชั่วโมงเท่านั้น”
Source: ไทยรัฐออนไลน์
Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you