forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ทรัพยากรใต้ดินของ “ลาว” … ในมือ “จีน”

วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 มีการประชุมร่วมกันระหว่างทีมงานของกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ สปป.ลาว นำโดย จันสะหวาด บุบฝา รองรัฐมนตรี กับทีมงานของ Dr. Li Jinfa รองรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน หนึ่งในหัวข้อ ที่ 2 ฝ่ายได้พูดคุยกัน คือ

ความคืบหน้าของโครงการร่วมมือสำรวจเพื่อจัดทำแผนที่ธรณีวิทยาและทรัพยากรแร่ธาตุขั้นพื้นฐานด้วยวิธีสำรวจทางธรณีฟิสิกส์และธรณีเคมี ภายในพื้นที่ สปป.ลาว
ตามข้อมูลที่มีการรายงานในที่ประชุมครั้งนั้น ภาพรวมของการจัดทำแผนที่ธรณีวิทยาและทรัพยากรแร่ธาตุขั้นพื้นฐาน อัตราส่วน 1:200,000 ได้มีการสำรวจพื้นที่ไปแล้ว 162,104 ตารางกิโลเมตร หรือ 68.41% ของพื้นที่รวมของลาว และแผนที่อัตราส่วน 1:50,000 ได้มีการสำรวจพื้นที่ไปแล้ว 2,994 ตารางกิโลเมตร หรือ 1.26%
กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ของลาว และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของจีน ได้เริ่มความร่วมมือจัดทำแผนที่ธรณีวิทยาและแร่ธาตุในพื้นที่ทั่วประเทศ อัตราส่วน 1:200,000 และอัตราส่วน 1:1,000,000 มาตั้งแต่ปี 2555 จากระยะแรกเป็นการสำรวจเพื่อทำแผนที่ธรณีวิทยา อัตราส่วน 1:200,000 จำนวน 3 แผ่น ครอบคลุมพื้นที่ 5 แขวงภาคเหนือ ได้แก่ ไซยะบูลี หลวงพระบาง บ่อแก้ว อุดมไซ และเวียงจันทน์ เนื้อที่รวม 16,309 ตารางกิโลเมตร หรือ 6.87% ของพื้นที่รวมทั้งประเทศ ซึ่งเสร็จสิ้นลงแล้วเมื่อปี 2560
ต่อมา เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2560 ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อร่วมกันจัดทำแผนที่ธรณีวิทยา อัตราส่วน 1:200,000 เพิ่มเติมอีก 2 แผ่น เจาะลึกลงไปในเขตเมืองบ่อแตน เมืองแก่นท้าว เมืองทุ่งมีไซ เมืองปากลาย แขวงไซยะบูลี และเมืองซะนะคาม แขวงเวียงจันทน์ ครอบคลุมพื้นที่ 9,631 ตารางกิโลเมตร หรือ 4.06% ของพื้นที่รวมทั้งประเทศ ระยะการสำรวจเพื่อจัดทำแผนที่ เริ่มจากวันที่ 1 กันยายน 2560 กำหนดให้แล้วเสร็จวันที่ 31 ธันวาคม 2564 แต่เนื่องจากเกิดการระบาดของโควิด-19 ในปี 2563 เป็นอุปสรรคสำคัญทำให้การสำรวจต้องล่าช้าออกไปมาก คาดว่าจะการสำรวจเพื่อจัดทำแผนที่ธรณีวิทยาส่วนนี้ จะเสร็จสิ้นลงได้ในปลายปี 2567
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565 กรมธรณีวิทยาและแร่ธาตุ กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ ของลาว ได้ลงนาม MOU กับกรมใหญ่สำรวจธรณีวิทยา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ของจีน เพื่อขยายความร่วมมือด้านธรณีวิทยาและแร่ธาตุระหว่างกันต่อไปอีก โดยระยะเวลาความร่วมมือที่กำหนดไว้ใน MOU ครั้งนี้ 5 ปี
แม้ว่าปัจจุบัน ในการสำรวจพื้นที่เพื่อจัดทำแผนที่ธรณีวิทยา ลาวยังมีความร่วมมือกับเวียดนาม ซึ่งเป็นอีก 1 ประเทศ “เพื่อนมิตร” ทางฝั่งตะวันออกของลาว แต่ในแง่ของการลงทุนแล้ว ทุกวันนี้ จีนเป็นประเทศที่ลงทุนในกิจการเหมืองแร่อยู่ในลาวมากที่สุด โดยข้อมูลอีกส่วนหนึ่งที่มีการเผยแพร่ในที่ประชุมเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ระบุว่า ขณะนี้ มีนักลงทุนจากจีน 108 บริษัท ได้เข้ามาลงทุนอุตสากรรมเหมืองแร่รวม 150 กิจการในลาว ในนี้อยู่ในขั้นตอนการสำรวจและขุดค้น 54 บริษัท 59 กิจการ และอีก 54 บริษัท 91 กิจการ อยู่ในขั้นตอนตั้งแต่การจัดทำบทวิพากษ์ทางเศรษฐกิจและเทคนิค รวมถึงได้เริ่มเปิดหน้าดิน ลงมือทำเหมือง กระทั่งตั้งโรงงานแปรรูปแร่ที่ขุดขึ้นมาได้แล้ว
แร่ธาตุที่นักลงทุนจากจีน ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ให้ทำเหมืองในลาว ประกอบด้วย ทองคำ, ทองแดง, เงิน, โพแทช, แร่หายาก (rare earth), เหล็ก, ตะกั่ว, สังกะสี, หินอ่อน, ยิปซัม, แมงกานีส ฯลฯ
……
หลายปีมาแล้วที่ทองคำและทองแดงเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสินค้าส่งออกสำคัญ สร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้แก่ลาว จากข้อมูลล่าสุด ในปี 2565 ลาวส่งออกสินค้าคิดเป็นมูลค่ารวม 8,198 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในนี้ ผลิตภัณฑ์จากทองคำมียอดส่งออก 805 ล้านดอลลาร์ สูงเป็นอันดับที่ 2 รองจากไฟฟ้า ส่วนทองแดงอยู่อันดับที่ 5 ส่งออกได้ 336 ล้านดอลลาร์ โดย 3 ประเทศที่ลาวส่งสินค้าออกไปมากที่สุด คือ ไทย 2,940 ล้านดอลลาร์ จีน 2,238 ล้านดอลลาร์ และเวียดนาม 1,355 ล้านดอลลาร์
ภายในลาวมีแหล่งแร่ทองคำ และมีบริษัทที่ทำเหมืองแร่ทองคำขนาดใหญ่ อยู่ 2 แห่ง
บริษัทแรก ได้แก่ บริษัทล้านช้าง มิเนอรัล ได้รับสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำบนเนื้อที่กว่า 1,250 ตารางกิโลเมตร ในเมืองเซโปนกับเมืองวีละบูลี แขวงสะหวันนะเขต ตั้งแต่ปี 2536 ช่วงที่ได้รับสัมปทาน ล้านช้าง มิเนอรัล ถือหุ้นใหญ่โดยบริษัท Oxiana จากประเทศออสเตรเลีย ต่อมาในปี 2551 Oxiana ซึ่งเป็นบริษัทแม่ที่ออสเตรเลียประสบปัญหาทางการเงิน ทำให้ต้องขายหุ้นบริษัทล้านช้าง มิเนอรัลให้กับ Minerals and Metals Group (MMG) จากจีน ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นฮ่องกง และล่าสุด เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2561 MMG ได้ขายหุ้นล้านช้าง มิเนอรัล ต่อไปให้กับบริษัท Chifeng Jilong Gold Mining เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงเช่นกัน แต่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองฉีเฟิ่ง เขตปกครองตนเองมองโกเลีย
อีกบริษัทหนึ่ง ได้แก่ บริษัทพูเบี้ย ไมนิ่ง ได้รับสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำบนเนื้อที่กว่า 2,600 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่แขวงเชียงขวาง แขวงไซสมบูน และแขวงเวียงจันทน์ เมื่อปี 2537 ช่วงแรกที่ได้รับสัมปทาน พูเบี้ย ไมนิ่ง ถือหุ้นใหญ่โดยบริษัทแพน ออสเตรเลีย รีซอร์สเซส จากประเทศออสเตรเลีย แต่ต่อมาล่าสุด หุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทพูเบี้ย ไมนิ่ง ได้ถูกเปลี่ยนมือมาเป็นของ Guangdong Rising H.K. (Holding) บริษัทลูกของ Guangdong Rising Holding จากมณฑลกวางตุ้ง ที่มีรัฐบาลจีนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ประมาณ 5 ปีมานี้ ทรัพยากรธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งที่กำลังมีการสำรวจ ขุดค้น อยู่ในลาวอย่างเงียบๆ คือ rare earth หรือแร่หายาก ซึ่งได้กลายเป็นสินค้ายุทธศาสตร์สำคัญตัวหนึ่งของโลกไปแล้วในขณะนี้ มีบริษัทจากจีนหลายแห่งที่ได้เข้ามาขอสัมปทานสำรวจ ขุดค้น และทำเหมืองแร่ rare earth และมีอย่างน้อย 2 บริษัทที่ได้สร้างโรงงานสกัด rare earth ขึ้นมาแล้ว
ข่าวการเข้ามาสำรวจหา rare earth ในลาว เริ่มปรากฏขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 ที่กลุ่มบริษัท ลาว กอนสิน สากล จำกัด ซึ่งเดิมทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้เซ็นสัญญาความร่วมมือกับบริษัท พัฒนา ซินหยู จำกัด เพื่อขอสัมปทานจากรัฐบาลลาว สำรวจ ขุดค้น ทำเหมือง และโรงงานสกัด rare earth จากนั้น มีบริษัทจากจีนอีกนับสิบบริษัทที่ได้เข้ามาขอสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ rare earth เพิ่มเติม พื้นที่สำรวจส่วนใหญ่อยู่ในแขวงเชียงขวาง
ระหว่างวันที่ 17-21 พฤษภาคม 2566 โพไซ ไซยะสอน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ ของลาว ได้เดินทางไปร่วมประชุมความร่วมมือด้านเหมืองแร่ จีน-อาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วง มณฑลกว่างสี ภายใต้หัวข้อ “การเชื่อมโยงข้อริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง กับการพัฒนาแบบยั่งยืนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่สีเขียว” โดยรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ ของลาว ได้ขึ้นกล่าวบนเวที มีเนื้อหาบางส่วนที่น่าสนใจ ดังนี้
ลาวได้มีการพัฒนาด้านแร่ธาตุมาอย่างมั่นคง ถึงปัจจุบัน ทั่วประเทศลาวได้พบจุดปรากฏของแร่ธาตุมากกว่า 750 จุด เป็นจุดแข็งสำคัญสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของลาว ตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ กิจการเหมืองแร่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของลาวให้ขยายตัวได้อย่างแข็งแรง ในปี 2565 กิจการเหมืองแร่มีสัดส่วน 4% ของผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ (GDP) ช่วงเวลาที่ผ่านมา มีการลงทุนในกิจการเหมืองแร่ในลาวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะนักลงทุนจากจีน
นอกจากแร่ธาตุสำคัญ เช่น ทองคำ ทองแดง เงิน และ rare earth แล้ว ลาวยังเป็นประเทศผู้ผลิตแร่โพแทชรายใหญ่เพียงแห่งเดียวในอาเซียน หากอ้างอิงจากปริมาณการผลิตสะสมในช่วงที่ผ่านมา การพัฒนาแร่โพแทช ได้สร้างผลประโยชน์จำนวนมากแก่ลาว ผ่านรายรับทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ส่งไปยังรัฐบาล ลาวจึงมีแนวโน้มจะพัฒนาการผลิตแร่โพแทชให้มากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะโพแทชเป็นแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม ปัจจุบันลาวมีปริมาณสำรองของแร่โพแทชอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จึงมองเห็นโอกาสในการพัฒนาแร่โพแทชเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่มีแนวโน้มสูงขึ้นของตลาดในอาเซียน โดยเฉพาะตลาดในจีนให้ได้อย่างเพียงพอ…
แขวงคำม่วนในภาคกลางค่อนลงไปทางใต้ของลาว เป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งกำลังมีความเคลื่อนไหวในกิจการเหมืองแร่โพแทชอย่างคึกคัก มีการสำรวจพบว่าพื้นที่แขวงคำม่วนเป็นแหล่งแร่โพแทชขนาดใหญ่ที่สุดของลาว แหล่งนี้ยังกินพื้นที่ยาวต่อเนื่องเข้ามายังภาคอิสานของไทย
โพแทช หรือในภาษาลาวเรียกว่า “เกลือกาลี” เป็นกลุ่มแร่อุตสาหกรรมที่มีโพแทสเซียมเป็นส่วนประกอบหลัก เป็น 1 ใน 3 องค์ประกอบสำคัญ สำหรับผลิตปุ๋ยเคมี ซึ่งประกอบด้วย N-ไนโตรเจน P-ฟอสฟอรัส และ K-โพแทสเซียม ที่เป็นธาตุอาหารหลัก 3 ชนิดที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีรายงานว่ากว่า 90% ของโพแทชที่ขุดค้นขึ้นมาได้ทั่วโลก ถูกนำไปใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยเคมี
โพแทชไม่ใช่ทรัพยากรที่เพิ่งถูกค้นพบใหม่ในลาว เฉพาะในแขวงคำม่วนมีการทำเหมืองแร่โพแทชมานานกว่า 10 ปีมาแล้ว โดยนักลงทุนจากจีน แต่ที่ผ่านมา กระบวนการผลิตโพแทชได้สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นอย่างมากมาย จนเกิดการร้องเรียน ประท้วงของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รอบๆ เหมืองโพแทช ขึ้นหลายกรณีด้วยกัน
แต่ระยะเวลาได้ช่วยคัดกรองผู้ลงทุนเหล่านั้น จนปัจจุบันเหลือผู้ลงทุนเหมืองแร่โพแทชในลาวอยู่ไม่มากนัก
วันที่ 24 มีนาคม 2566 กระทรวงแผนการและการลงทุน ได้เซ็น MOU ให้บริษัทซิโน-อะกรีโพแทช ก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมหมุนเวียนอัจฉริยะ อาเซียน-โพแทช สากล ขึ้นบนพื้นที่ 2,000 เฮคตา หรือ 12,500 ไร่ ในแขวงคำม่วน เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับแร่โพแทช เช่น โรงงานผลิตเกลือโปแทสเซียม โรงงานผลิตปุ๋ยเคมี ไว้ในที่เดียวกัน
ซิโน-อะกรีโพแทช เป็นบริษัทจากจีนที่ได้รับสัมปทานทำเหมืองแร่โพแทชบนพื้นที่ 48.52 ตารางกิโลเมตร ในเขตบ้านหนองล่ม แขวงคำม่วน มาตั้งแต่ปี 2552 ปัจจุบันเป็นบริษัทครอบครองแหล่งโพแทช และเป็นผู้ผลิตปุ๋ยเคมีที่ใหญ่ที่สุดในลาว
วันที่ 28 เมษายน 2566 ที่แขวงคำม่วน ได้มีพิธีเฉลิมฉลองการเพิ่มกำลังการผลิตโพแทช ที่บรรลุ 1 ล้านตันต่อปี ของบริษัทลาวคายยวน ผู้ลงทุนจากจีนอีกรายหนึ่ง บริษัทลาวคายยวนก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2551 เพื่อรับสัมปทานทำเหมืองแร่โพแทชในแขวงคำม่วน ในปี 2555 ลาวคายยวนได้ขยายกำลังการผลิตโพแทชขึ้นเป็น 500,000 ตันต่อปี ก่อนจะเพิ่มเป็น 1 ล้านตันในปีนี้
ล่าสุด วันที่ 5 มิถุนายน 2566 ตัวแทนจากกรมควบคุมบ่อแร่ ร่วมกับกรมธรณีศาสตร์และแร่ธาตุ กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ กรมแผนที่แห่งชาติ กระทรวงภายใน กรมส่งเสริมการลงทุน กระทรวงแผนการและการลงทุน แผนกพลังงานและบ่อแร่ แขวงคำม่วน ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมอุโมงค์ซึ่งเจาะลึกลงไปใต้ดินเพื่อขุดค้นแร่โพแทช ของบริษัทลาวคายยวน
หากเทียบขนาดพื้นที่ ลาวเป็นเพียงประเทศขนาดเล็กๆ เมื่อเทียบกับจีน แต่ลาวกลับมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายชนิด ส่งป้อนให้กับจีน ประเด็นที่น่าติดตามคือ รัฐบาลลาวจะบริหารจัดการบทบาทนี้ให้มีประสิทธิภาพได้เช่นไร…
ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ รายงาน
Source: ThaiPublica


Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"