forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

หนี้โลก ‘นิวไฮ’ ระเบิดอีกลูกที่ต้องจับตา

‘ไอไอเอฟ’ ชี้ สถานการณ์หนี้ทั่วโลกไตรมาสแรกของปี 2566 พบหนี้สินทั่วโลกพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 305 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (1 หมื่นล้านล้านบาท) ขณะที่ไทยพบหนี้ครัวเรือนสูงราว 90% ของจีดีพี ซึ่งอาจเป็นระเบิดลูกใหญ่ตามมา

ความเสี่ยงต่อ ‘เศรษฐกิจโลก’ เริ่มถูกเผยออกมาให้เห็นทีละเปลาะ ล่าสุด สถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือ ‘ไอไอเอฟ’ เปิดเผยรายงานฉบับล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้ทั่วโลก ซึ่งพบว่า ช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 หนี้สินทั่วทั้งโลกพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์มาอยู่ที่ระดับ 305 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยตกราวๆ 1 หมื่นล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 8 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 260 ล้านล้านบาท และการเพิ่มขึ้นของหนี้สินทั่วโลกในไตรมาสแรกปีนี้ ยังถือเป็นการเพิ่มขึ้นแบบไตรมาสต่อไตรมาสติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง เทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ที่ลดลงไปค่อนข้างมาก
สาเหตุการเพิ่มขึ้นของหนี้ทั่วโลกที่ติดสปีดอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่เผชิญกับ ‘วิกฤติการปรับตัวครั้งใหญ่’ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากนโยบายการเงินที่แข็งกร้าว หลังธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อ โดยอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งขึ้นมาเร็วและแรงตลอดช่วงปีเศษๆ ที่ผ่านมา ทำให้ต้นทุนการชำระหนี้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
รายงานของไอไอเอฟ ยังระบุด้วยว่า อัตราดอกเบี้ยที่ขยับขึ้นสูงนี้ อาจกระตุ้นให้ภาคธุรกิจเกิดการผิดนัดชำระหนี้ขึ้นมาได้เช่นกัน และอาจส่งผลให้ ‘บริษัทซอมบี้’ (Zombie Firms) หรือบริษัทที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่สามารถสร้างกำไรได้ มีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยปรากฏการณ์ Zombie Firms ถือเป็นปรากฏการณ์ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นได้ หากบริษัทนั้นไม่มีศักยภาพในการสร้างกำไร ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐราว 14% ที่เข้าข่ายดังกล่าวแล้ว
นอกจากนี้ ควรต้องติดตามภาระหนี้สินในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ด้วย โดยข้อมูลของไอไอเอฟล่าสุด ระบุว่า กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ มีระดับหนี้สินเพิ่มขึ้นแตะ 100 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราวๆ 3,300 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีประมาณ 250% โดยตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นจากระดับ 75 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราวๆ 2,500 ล้านล้านบาท เมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งประเทศที่ก่อหนี้เพิ่มขึ้นสูงจนน่าจับตามอง คือ จีน, เม็กซิโก, บราซิล, อินเดีย และตุรกี
กลับมาที่ประเทศไทยเป็นที่รู้กันว่า ช่วงวิกฤติโควิด หนี้สินจากทุกภาคส่วนต่างเพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะหนี้สาธารณะที่ทะลุระดับ 60% ต่อจีดีพี แต่ที่น่าห่วงกว่า คือ หนี้ครัวเรือนที่สูงราว 90% ของจีดีพี และหนี้ส่วนนี้โดยมากเป็นหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค เมื่อวันก่อน บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร เพิ่งออกมาแสดงความเป็นห่วงว่า หนี้สินของกลุ่มเจนวาย มีความเสี่ยงสูงมากที่จะกลายเป็นเอ็นพีแอล ซึ่งมีมูลหนี้จำนวนมหาศาล ยิ่งดอกเบี้ยนโยบายในประเทศยังเป็น ‘ขาขึ้น’ เรายิ่งควรต้องติดตามดูแลปัญหาเหล่านี้อย่างใกล้ชิด เพราะหนี้ก้อนนี้อาจกลายเป็นระเบิดเวลาของเศรษฐกิจไทยในอนาคตได้เช่นกัน แม้แต่สภาพัฒน์ยังออกมาเตือน!
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"