forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ค่าเงินบาทแข็งค่า รับผลเลือกตั้งชัดเจน GDP ไทย ไตรมาสแรกดีเกินคาด

ค่าเงินบาทแข็งค่า รับผลเลือกตั้งชัดเจน GDP ไทย ไตรมาสแรกดีเกินคาด สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2566 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (15/5) ที่ระดับ 33.73/75 บาท/ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (12/5)

ที่ระดับ 33.98/00 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หลังสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนพฤษภาคมที่ปรับตัวลดลงเกินคาด โดยออกมาที่ระดับ 57.7 ต่ำกว่าระดับคาดการณ์ที่ 63.0 ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและวิกฤตภาคธนาคาร
ค่าเงินบาทแข็งค่า รับผลเลือกตั้งชัดเจน GDP ไทย ไตรมาสแรกดีเกินคาด
สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2566 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (15/5) ที่ระดับ 33.73/75 บาท/ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (12/5) ที่ระดับ 33.98/00 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หลังสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนพฤษภาคมที่ปรับตัวลดลงเกินคาด โดยออกมาที่ระดับ 57.7 ต่ำกว่าระดับคาดการณ์ที่ 63.0 ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและวิกฤตภาคธนาคาร
นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงวิตกว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกของเฟดอาจฉุดเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่นายมิเชล โบว์แมน ผู้ว่าการเฟดเปิดเผยในวันศุกร์ว่า เฟดอาจจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป หากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 33.70-33.90 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 33.78/80 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับปัจจัยภายในประเทศเงินบาทได้รับแรงหนุนจากผลการเลือกตั้งออกมาตามที่สื่อต่าง ๆ ได้ทำการสำรวจไว้ อย่างไรก็ดี ต้องรอดูความคืบหน้าต่อไป เช่น สูตรจัดตั้งรัฐบาล การเลือกนายกรัฐมนตรี ส่วนในด้านผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของไทยในไตรมาสแรกของปี 2566 ขยายตัว 2.7% ปรับตัวขึ้นจากการขยายตัวที่ 1.4% ในไตรมาสก่อนหน้าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2566 ขยายตัวจากไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ที่ 1.9% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส
สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปีดตลาดเช้าวันนี้ (15/5) ที่ระดับ 1.0851/55 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (12/5) ที่ระดับ 1.0910/12 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ซึ่งตลาดยังคงจับตาการเปิดเผยข้อมูล GDP ของยูโรโซนในไตรมาสแรกวันอังคารนี้ (16/5) โดยตลาดคาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มจะขยายตัวเพียง 0.1% ในไตรมาสแรก นักเศรษฐศาสตร์บางคนกล่าวว่าความซบเซายังคงดำเนินต่อไป และอาจส่งผลให้เกิดภาวะถดถอยในปลายปีนี้
นอกจากนี้ตลาดยังจับตาดูดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยสถาบัน ZEW ทั้งนี้ระหว่างวันค่างินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0843-1.0880 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0864/66 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (15/5) ที่ระดับ 135.86/87 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (12/5)ที่ระดับ 134.70/73 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยในวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต เพิ่มขึ้น 5.8% ในเดือนเมษายนเมื่อเทียบรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนมีนาคมที่มีการขยายตัว 7.4% และเป็นการชะลอตัวลงติดต่อกันเดือนที่ 4 ซึ่งบ่งชี้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเริ่มปรับตัวลดลง
ข้อมูลจาก BOJ ยังระบุด้วยว่า ดัชนีราคานำเข้าในรูปสกุลเงินเยนลดลง 2.9% ในเดือนเมษายนเมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนมีนาคม ที่มีการขยายตัว 9.6% ซึ่งเป็นสัญญาณว่าต้นทุนการนำเข้าเชื้อเพลิงและวัตถุดิบกำลังผ่านจุดสูงสุด นายคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการ BOJ แถลงต่อรัฐสภาญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมว่า เขาตั้งใจที่จะยกเลิกนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield Curve Control – YCC) หากตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่นอยู่ในกรอบเป้าหมายของ BOJ ได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 135.58-136.32 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 136.24/28 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ
ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนพฤษภาคมจากเฟดนิวยอร์ก (I5/5), อัตราว่างงานเดือนมีนาคมประเทศอังกฤษ (16/5), ดุลการค้าเดือนมีนาคมสหภาพยุโรป (16/5), ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนเมษายนประเทศญี่ปุ่น (18/5), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ (18/5) และอัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนประเทศญี่ปุ่น (I9/5)
สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -11.50/-11.20 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -16.50/-14.90 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ

 

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"