forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

สัญญาณเตือน “หนี้เสีย” เพิ่ม ผวาธุรกิจใหญ่-เช่าซื้อผิดนัด

แบงก์เกาะติดสัญญาณผิดนัดชำระหนี้ “เอ็นพีแอล” ขยับ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้แนวโน้มสินเชื่อภาคธุรกิจ-เช่าซื้อ ความเสี่ยงเพิ่มจากดอกเบี้ยขาขึ้น “ไทยพาณิชย์” เฝ้าระวัง “รายใหญ่-เอสเอ็มอี” ติดตามใกล้ชิดรายเซ็กเตอร์ “ทีทีบี” ยอมรับหนี้เสียกลุ่มเช่าซื้อรถมือสองเพิ่ม

เร่งปรับกลยุทธ์เจาะลูกค้ามีศักยภาพ “กรุงศรีฯ” ส่งทีมประกบลูกค้าเอสเอ็มอี เฝ้าระวังไหลเป็นหนี้เสีย
นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของระบบธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาส 1/2566 มีทิศทางปรับลดลง ทั้งในแง่ของยอดคงค้างและสัดส่วน (ratio) โดยยอดหนี้เสียคงค้างอยู่ที่ 4.97 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.70% ของสินเชื่อ ลดลงจากไตรมาส 4/2565 ที่มียอดคงค้าง 4.99 แสนล้านบาท หรือ 2.73% ทั้งนี้ ตัวเลขที่ปรับลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากธนาคารมีการบริหารจัดการหนี้เสียเชิงรุกในช่วงที่ผ่านมา
เฝ้าระวัง Q2 หนี้เสียไหลต่อ
อย่างไรก็ดี มองไปข้างหน้า ปัญหาหนี้เสียยังคงไม่ได้จบ เนื่องจากไตรมาส 2/2566 มีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทั้งในแง่เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวไม่สม่ำเสมอ และทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบลูกหนี้กลุ่มเปราะบางบางกลุ่ม ทำให้การบริหารจัดการหนี้ไม่ง่าย โดยเฉพาะสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM หรือ stage 2) เป็นหนี้ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ที่อาจเริ่มเห็นสัญญาณการขยับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของสินเชื่อภาคธุรกิจ
ดังนั้น จึงต้องติดตามการไหลของหนี้ stage 2 ของสินเชื่อภาคธุรกิจ และในส่วนธุรกิจรายย่อย จะต้องจับตากลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อ และกลุ่มรายได้เปราะบาง ซึ่งอาจมีปัญหาการชำระหนี้จากแนวโน้มดอกเบี้ยขยับขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อไม่มีหลักประกันจะเป็นสินเชื่อที่อาจผิดนัดชำระหนี้มากกว่ากลุ่มอื่น จึงต้องติดตามการไหลของสินเชื่อ stage 2 ไปสู่หนี้ผิดนัดชำระหนี้ (stage 3) หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) หรือไม่
“ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์จัดการปัญหาหนี้เชิงรุก ทำให้ภาพรวมหนี้ลดลง และคาดว่าเอ็นพีแอลจะลงต่ำกว่ากรอบล่าง 2.70% จากที่ศูนย์วิจัยประมาณไว้ 2.70-2.75% แต่สิ่งที่ต้องจับตามอง คือ การไหลของหนี้ stage 2 ที่ขยับเพิ่มขึ้น ดังนั้นแม้ว่าทิศทางเอ็นพีแอลปรับลดลง ไม่ได้หมายความว่าจะเพิ่มขึ้นไม่ได้ โดยเราคาดการณ์ว่าเอ็นพีแอลในไตรมาส 2/66 ขยับจะอยู่ในกรอบ 2.72-2.78% หรือมีค่ากลางอยู่ที่ 2.75%”
จับตา “สินเชื่อธุรกิจ” เสี่ยงผิดนัด
ด้านนายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สัญญาณการไหลเพิ่มขึ้นของสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ไปเป็นเอ็นพีแอล มีสัญญาณเพิ่มขึ้น แม้ว่าเศรษฐกิจมีทิศทางฟื้นตัว เพราะลูกค้ากลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และธุรกิจขนาดใหญ่ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ จึงต้องจับตาอย่างใกล้ชิด
อย่างไรก็ดี ในแง่ภาพรวมของธุรกิจรายใหญ่ มองว่า ยังคงมีความแข็งแรง แต่ยอมรับว่าอาจจะไม่ได้แข็งแรงทั้ง 100% อาจมีเซ็กเตอร์ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ดังนั้น ธนาคารจึงต้องมีการพิจารณาเป็นรายเซ็กเตอร์ และติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ส่วนจะเห็นการไหลเป็นหนี้เสียอย่างมีนัยสำคัญอาจจะต้องรอดูสถานการณ์อีกครั้ง
“ในแง่ของการเติบโตสินเชื่อในปี 2566 คงเป็นไปอย่างระมัดระวัง ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งเดิมธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อขยายตัวราว 5% อาจจะเหลือเติบโตเพียง 2-3% ขณะที่ในส่วนของหนี้เอ็นพีแอล แม้ว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับธุรกิจรายใหญ่รายหนึ่ง แต่ธนาคารได้สำรองไปแล้ว ประกอบกับภาพรวมเรายังมองว่าธุรกิจรายใหญ่ยังคงแข็งแรง แต่ก็ต้องติดตามเป็นรายเซ็กเตอร์ เช่นเดียวกับเอสเอ็มอี ส่วนจะทำให้หนี้เสียเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญนั้นอาจจะต้องรอดู แต่เราเชื่อว่าหนี้เสียยังอยู่ในกรอบที่เราตั้งไว้”
เช่นกรณีผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในภาคส่งออกก็มีความเสี่ยงมากขึ้น จากตัวเลขส่งออกที่ชะลอตัว เพราะความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก ความเสี่ยงเศรษฐกิจคู่ค้า รวมทั้งต้นทุนในการประกอบธุรกิจ รวมถึงต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
สินเชื่อรถยนต์หนี้เสียโต
นายฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต หรือทีทีบี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แนวโน้มการไหลของสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ไปเป็นหนี้เสียหรือเอ็นพีแอล จะเห็นในกลุ่มของสินเชื่อรถยนต์ที่มีการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียอยู่บ้าง โดยเฉพาะ “รถมือสอง” ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับทั้งตลาด ดังนั้น ธนาคารจึงมีการปรับกลยุทธ์ เน้นการเติบโตผ่านแพลตฟอร์มรถมือสองจากกลุ่มพันธมิตรหลัก เช่น อย่าง Car Hero, Carsome, Cars 24 เป็นต้น เพื่อคัดเลือกกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพและความเสี่ยงต่ำ และเน้นสินเชื่อรถใหม่และสินเชื่อรถแลกเงิน ที่ยังมีความต้องการสูง โดยเฉพาะลูกค้าต่างจังหวัด
ผลกระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้นนั้น ยังไม่ส่งผลกระทบทางตรงกับสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เนื่องจากเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ถูกล็อกไว้อยู่แล้ว จึงยังไม่เห็นสัญญาณที่น่ากังวล โดยปัจจุบันบัตรเครดิตเอ็นพีแอลอยู่ที่ราว 1% ส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลอยู่ที่ประมาณ 2% ถือว่าต่ำกว่าตลาดค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันธนาคารหันมาเน้นการช่วยลดภาระดอกเบี้ย ผ่านโปรแกรม balance transfer หรือการรวบหนี้และสินเชื่อสวัสดิการให้กับกลุ่มลูกค้าที่มีบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคาร (payroll)
สำหรับ “สินเชื่อบ้าน” น่าจะเป็นกลุ่มที่มีผลกระทบจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทำให้ค่างวดที่ผ่อน จะเป็นส่วนของดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น แต่โดยปกติธนาคารจะมีการคำนวณค่างวดเผื่อการขึ้นดอกเบี้ยไว้อยู่แล้ว หากดอกเบี้ยไม่ขึ้นมากไปกว่านี้ ก็ไม่น่าจะกระทบมาก แต่ทั้งนี้หากลูกค้ามีปัญหาก็สามารถขอรับความช่วยเหลือในเรื่องของการปรับโครงสร้างได้
“การบริหารจัดการหนี้ของเราในภาพรวมก็มีการขายหนี้เอ็นพีแอลออกไปบ้าง ซึ่งธนาคารก็วิเคราะห์ลูกค้ากลุ่มไหนที่เราติดต่อได้ ก็บริหารจัดการเองก่อน ส่วนไหนเริ่มยากขึ้นก็ให้ outsource หรือขายหนี้ออกไปเลยดีกว่า”
กรุงศรีฯตั้งทีมประกบลูกหนี้
นางสาวดวงกมล ลิมป์พวงทิพย์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แนวโน้มหนี้เอ็นพีแอล คาดว่าจะทยอยดีขึ้นตามลำดับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยตัวเลขเอ็นพีแอลในปี 2566 จะขยับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 5.45% จากสิ้นปี 2565 อยู่ที่ 4.8% แต่ยังคงต้องจับตาความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจโลก ทิศทางอัตราดอกเบี้ย และความต้องการของคู่ค้า ซึ่งประเด็นเหล่านี้อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้
ทั้งนี้ วิธีการบริหารจัดการและควบคุมไม่ให้เอ็นพีแอลปรับเพิ่มขึ้นนั้น นอกจากจะปรับโครงสร้างหนี้และการชำระเงินตามรายกรณี ธนาคารจะให้ทีมลูกค้าสัมพันธ์ ติดต่อและติดตามลูกค้าใกล้ชิด โดยเฉพาะกลุ่ม SM เพื่อช่วยเหลือและประคองก่อนเป็นหนี้เสีย โดยลูกค้าแต่ละรายจะมีมาตรการช่วยเหลือแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม
“ยอมรับว่าลูกค้ากลุ่มเปราะบางยังมีอยู่ ซึ่งเป็นไปตามธุรกิจเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีบางกลุ่มที่ตัดสินใจไม่ดำเนินธุรกิจต่อ หรือบางกลุ่มที่ยังคงอยู่ในโครงการช่วยเหลือ โดยปัจจุบันธนาคารมีลูกค้าที่ได้รับความช่วยเหลืออยู่ 7,600 ราย คิดเป็นวงเงิน 7.5 หมื่นล้านบาท แต่แนวโน้มความช่วยเหลือจะลดลงเรื่อย ๆ เพราะหลายรายเริ่มกลับมาชำระหนี้ดีขึ้น”
ก่อนหน้านี้ นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารตั้งเป้าเอ็นพีแอลปีนี้อยู่ระดับต่ำกว่า 3.25% ซึ่งในไตรมาส 1/2566 อยู่ที่ 3.04% วิธีการบริหารจัดการหนี้ของธนาคารมีหลากหลายวิธี เช่น ตัดขายหนี้ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) รวมถึงขายหนี้ให้บริษัทร่วมทุนของธนาคาร ผ่านบริษัทบริหารสินทรัพย์ เจเค จำกัด (JK AMC) ตลอดจนการตัดหนี้สูญ (write off) เป็นต้น โดยปีที่ผ่านมาธนาคารมีการตัดขายหนี้เสียไปราว 7 หมื่นล้านบาท และตัดหนี้สูญรวมกว่า 5.9 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ดี ปีนี้ธนาคารยังไม่ได้มีการวางเป้าตัวเลขแต่อย่างใด
source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"