forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

แม้หลายประเทศเคลื่อนไหวเพิ่มสกุลเงินทางเลือก แต่ ‘ดอลลาร์สหรัฐ’ ยังคงครองตลาดโลก

สถานีโทรทัศน์ CNBC เผยรายงานอ้างอิงความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์ที่ระบุว่า เริ่มเห็นความเคลื่อนไหวในหลายประเทศทั่วโลก ตั้งแต่บราซิลไปจนถึงประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการดำเนินการค้าขายในสกุลเงินอื่นๆ

นอกเหนือจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเลิกพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อการค้า
ทั้งนี้ ดอลลาร์สหรัฐถือเป็นสกุลเงินหลักที่ครองตลาดการค้าโลกมานานหลายทศวรรษ ซึ่งสาเหตุไม่ใช่เพราะสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ยังเป็นผลสืบเนื่องจากการที่น้ำมัน ซึ่งเป็นสินค้าหลักที่จำเป็นสำหรับเศรษฐกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็กทั้งหมดทั่วโลก มีราคาซื้อขายอิงกับสกุลเงินดอลลาร์ ขณะที่สินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่มีราคาและซื้อขายในสกุลเงินดอลลาร์เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างได้รับบทเรียนสำคัญ จากการปรับเปลี่ยนนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไม่กี่ปีให้หลังที่ Fed เดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงเพื่อต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ จนทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดกั้นเงินทุนไหลออก และการอ่อนค่าลงอย่างมากของสกุลเงินของตนเอง
Cedric Chehab จาก Fitch Solutions กล่าวว่า สถานการณ์ดังกล่าวทำให้การกระจายการถือครองสกุลเงินสำรองไปยังพอร์ตการลงทุนหลายสกุลเงินมากขึ้นมีความจำเป็น และจะช่วยลดแรงกดดันดังกล่าวต่อภาคส่วนภายนอกได้
ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์อีกส่วนหนึ่งมองว่า พลวัตทางเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงกำลังผลักดันแนวโน้มที่เรียกว่าการลดการพึ่งพาค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นในหลายๆ ด้าน โดย Marcos Caramuru อดีตเอกอัครราชทูตบราซิลประจำประเทศจีน ชี้ว่า การซื้อขายในสกุลเงินท้องถิ่น “ช่วยให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสมดุลกับความเสี่ยง มีทางเลือกมากขึ้นในการลงทุน มีความแน่นอนมากขึ้นเกี่ยวกับรายได้และยอดขาย”
ด้าน Mark Tinker จาก ToscaFund Hong Kong กล่าวเมื่อต้นเดือนเมษายนว่า ประโยชน์อีกประการหนึ่งสำหรับประเทศต่างๆ ที่เลิกใช้เงินดอลลาร์ในฐานะตัวกลางในการค้าทวิภาคีคือ “ช่วยให้ประเทศเหล่านี้ขยับสถานะเพิ่มขึ้นในระบบห่วงโซ่มูลค่าบนเวทีโลก” พร้อมกับชี้ว่า การเติบโตของสหรัฐฯ ไม่ใช่ประเด็นอีกต่อไป เพราะประเทศอื่นๆ ทั่วโลกก็มีการเติบโตเช่นกัน
ในขณะเดียวกัน การเติบโตของกลุ่มเศรษฐกิจนอกสหรัฐฯ ยังกระตุ้นให้เศรษฐกิจเหล่านี้ผลักดันการใช้สกุลเงินของตนให้กว้างขึ้น โดย IMF ประมาณการว่าเอเชียสามารถมีส่วนร่วมมากกว่า 70% ในการเติบโตทั่วโลกในปีนี้
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความพยายามในหลายประเทศ โดยเฉพาะในจีน ที่มีความเคลื่อนไหวเพื่อหวังลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างชัดเจน และหันมาค้าขายด้วยสกุลเงินหยวนเพิ่มมากขึ้น กระนั้น มีข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ว่า สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงครองตลาดทุนสำรองเงินตราต่างประเทศทั่วโลก แม้ว่าส่วนแบ่งในทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของธนาคารกลางจะลดลงจากกว่า 70% ในปี 1999 ก็ตาม
ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Currency Composition of Foreign Exchange Reserves (COFER) ของ IMF ระบุว่า ดอลลาร์สหรัฐคิดเป็น 58.36% ของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศทั่วโลกในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2022 ขณะที่เงินยูโรตามมาเป็นอันดับที่ 2 คิดเป็นประมาณ 20.5% ของทุนสำรองระหว่างประเทศ ส่วนเงินหยวนของจีน ซึ่งมีความพยายามอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็มีสัดส่วนเพียง 2.7%
อย่างไรก็ตาม จีนมีโอกาสที่จะผลักดันสนับสนุนการใช้สกุลเงินหยวนให้เพิ่มมากขึ้นได้ โดยจากการคำนวณข้อมูลของ IMF เกี่ยวกับทิศทางการค้าในปี 2025 ของ CNBC จีนแผ่นดินใหญ่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดทั้งด้านการนำเข้าและส่งออกของ 61 ประเทศทั่วโลกเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของ 30 ประเทศ
Chehab กล่าวกับ CNBC เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า การที่เศรษฐกิจของจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั่นหมายความว่าจีนจะมีอิทธิพลมากขึ้นในสถาบันการเงินระดับโลกและการค้า มากจนกระทั่งเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์ได้เช่นกัน
ปัจจุบันจีนซึ่งเคยเป็นผู้ถือครองสกุลเงินดอลลาร์และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อันดับที่ 2 ของโลก ได้ปรับลดการถือครองสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์อย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า จีนมีการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มูลค่าเกือบ 849,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 12 ปี
Source : THE STANDARD WEALTH

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"