forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

“ค่าเงินบาทผันผวนคือ “ตัวปรับสมดุล” หรือ “ตัวป่วน” เศรษฐกิจไทย?”

การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนทำหน้าที่เป็นกลไกราคาที่สำคัญในการช่วยรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย หรือยิ่งทำให้เศรษฐกิจผันผวนขึ้นกันแน่? เพื่อตอบคำถามข้างต้น คณะผู้วิจัยได้ศึกษาที่มาของความผันผวนค่าเงินบาท และผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจและในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยพบว่า

ค่าเงินบาทถูกขับเคลื่อนโดยปัจจัย (shock) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (เช่น การเปลี่ยนแปลง risk sentiment ของนักลงทุน) สูงถึง 63% อย่างไรก็ดี shock ดังกล่าวส่งผลต่อความผันผวนของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อน้อยมาก โดยหากเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1% จะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวลดลง 0.11% และเงินเฟ้อปรับลดลงเพียง 0.034% เท่านั้น จึงไม่ได้เป็นต้นตอของความผันผวนต่อเศรษฐกิจไทย
ในขณะที่ shock ที่มาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ (เช่น การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยอุปสงค์อุปทาน) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อไทยในระดับสูง
แต่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทก็มีส่วนช่วยปรับสมดุลให้กับเศรษฐกิจไทยได้ดีในระดับหนึ่ง เช่น ในยามที่เศรษฐกิจไทยเผชิญกับวิกฤต เงินบาทจะปรับอ่อนค่าลง ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้บ้าง จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้น การปล่อยให้ค่าเงินบาทมีความยืดหยุ่นและเคลื่อนไหวได้ตามปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อาจส่งผลดีต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจมากกว่าการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่
📌 ที่มา: บทความวิจัย aBRIDGEd เรื่อง “ค่าเงินบาทผันผวน: “ตัวปรับสมดุล” หรือ “ตัวป่วน” เศรษฐกิจไทย” โดย ดร.พิม มโนพิโมกษ์, ดร.นุวัต หนูขวัญ และ คุณเจตวัฒน์ ภัทรรังรอง

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"