forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

กูรูการเงิน วิเคราะห์ ทำไม ธนาคาร Silicon Valley Bank ถึงล้ม ?

‘บรรยง วิทยวีรศักดิ์’ กูรูวงการการเงิน วิเคราะห์ทำไม ธนาคาร Silicon Valley Bank ถึงล้ม ? จับตาสึนามิทางการเงินอาจจะมาอีกหลายระลอก วันที่ 12 มีนาคม 2566 นายบรรยง วิทยวีรศักดิ์ กูรูวงการการเงิน และอดีตประธานสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก (APFinSA)

โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า ทำไม ธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ถึงล้ม ?
Silicon Valley Bank ถือว่าเป็นธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของสหรัฐ ธนาคารแห่งนี้เน้นให้เงินกู้แก่ Tech Start Up และกองทุน Venture Capital มีเงินฝากถึง 190 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 6 ล้านล้านบาท
แล้วทำไมถึงล้ม วันนี้มีคำเฉลย
ในบทความก่อน ๆ ผมเคยกล่าวไว้ว่า การจะทำธุรกิจธนาคารได้นั้น ไม่ใช่แค่เรามีอาคารสำนักงาน มีโต๊ะเก้าอี้ ก็รับฝากเงินได้แล้ว แต่เราต้องมีเงินทุนที่มากพอ เพื่อเป็นหลักประกันว่า ในกรณีที่ธนาคารปล่อยกู้ให้กับลูกค้าแล้ว ตามเก็บเงินกู้ไม่ได้ ธนาคารต้องมีเงินทุนของตนเอง เอามาชดเชยส่วนนี้ให้กับลูกค้าที่ฝากเงินได้ด้วย
ในสมัยก่อน มีการกำหนดเงินกองทุนของธนาคารว่า ต้องไม่ต่ำกว่า 8% นั่นหมายความว่า ถ้ารับเงินฝากจากลูกค้ามา 100 บาท ธนาคารต้องมีเงินทุนของตนเองต่างหากอีก 8 บาท ถ้ารับฝากเงินมา 100,000 ล้านบาท ก็ต้องมีเงินทุนของตัวเอง 8,000 ล้านบาท โดยเงินส่วนนี้ ต้องเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องพร้อมเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที
ซึ่งในทางการเงินการธนาคาร เราเรียกเงินส่วนนี้ว่าเงินกองทุน หรือเงินลงทุนของเจ้าของธุรกิจ ที่ภาษาบัญชีเรียกว่า ส่วนของผู้ถือหุ้นนั่นเอง
ในภาวะปกติ ธนาคารมักทำกำไรจากการปล่อยกู้และเก็บหนี้ได้ตามปกติ และหากมีเงินเหลือก็อาจจะไปซื้อหุ้นกู้หรือพันธบัตร ซึ่งก็สามารถทำกำไรได้อีกทางหนึ่ง
เมื่อธนาคารมีกำไร ราคาหุ้นมักจะขึ้นสูง ใคร ๆ ก็อยากมาลงทุนด้วย
แต่พอเศรษฐกิจไม่ดี เริ่มจะมีปัญหา เก็บเงินกู้ได้ไม่ครบ โดยช่วงที่ผ่านมา บริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐเฟื่องฟูมาก มีการขยายกำลังผลิตกันมาก แต่พอเกิดปัญหาสงครามยูเครน มีการกีดกันการค้า มีการคว่ำบาตรทางการค้า ยอดขายของบริษัทไฮเทคไม่เป็นไปตามเป้า ทำให้บางบริษัทมีปัญหาในการชำระหนี้
แต่ปัญหานี้ ค่อย ๆ เกิดขึ้น ธนาคารมีเวลาตั้งตัว ค่อย ๆ แก้ไข ขายตราสารระยะสั้นมาชดเชย ค่อย ๆ สำรองหนี้เสียได้
สิ่งที่เป็นระเบิดลูกใหญ่และมาเร็วจนตั้งตัวไม่ทันคือ การเกิดวิกฤตศรัทธา จนนำไปสู่การแห่ถอนเงิน ที่เรียกกันว่า Bank run มันเกิดขึ้นได้อย่างไร
ผมคิดว่ามันเกิดจากการที่ธนาคารวางยุทธศาสตร์ผิดพลาด กล่าวคือ เมื่อธนาคารเห็นว่า การปล่อยกู้อาจจะมีปัญหา จึงนำเงินฝากส่วนใหญ่ไปซื้อพันธบัตรและหุ้นกู้ของบริษัทที่มั่นคงหรือมีหลักประกัน รับดอกเบี้ยชัวร์ ๆ ไม่มีความเสี่ยงเรื่องเงินต้นสูญ
แต่เขาลืมเรื่อง ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย หรือความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ที่อาจจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อมูลค่าของตราสารทางการเงิน ซึ่งในที่นี้คือมูลค่าของพันธบัตรและหุ้นกู้ที่ธนาคารซื้อเอาไว้
นักลงในตราสารหนี้ทุกคนจะรู้ว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้จะผกผันกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด กล่าวคือถ้าดอกเบี้ยในท้องตลาดปรับขึ้น มูลค่าของตราสารหนี้ที่มีอยู่จะปรับลดลง แต่ถ้าดอกเบี้ยลดลง มูลค่าของตราสารหนี้จะเพิ่มขึ้น
มันหมายความว่ายังไง
สมมุติว่าเราซื้อตราสารหนี้หรือพันธบัตรที่มีอายุ 10 ปี ที่หน้าตั๋วระบุการจ่ายดอกเบี้ย 1.5% ทุกปี ตลอดอายุตราสาร เกิดเราซื้อพันธบัตรนี้มา 2 ปี ปรากฏว่าธนาคารกลางเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อขจัดเงินเฟ้อ ภายในปีเดียว ดอกเบี้ยของพันธบัตร 10 ปี ขึ้นจากจาก 1.5% เป็น 4%
ถ้าดอกเบี้ยพันธบัตรล่าสุดที่ออกมาขายอยู่ที่ 4% ถามว่าหากเราจะขายพันธบัตรที่เราถือครองอยู่ในราคาเท่าเดิมจะมีใครซื้อหรือไม่
คำตอบคือไม่มี เพราะพันธบัตรที่เราซื้อไว้แล้ว ระบุการจ่ายดอกเบี้ยตายตัวที่ 1.5% มันไม่ได้จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นลอยตัวตามรุ่นใหม่ที่ออกมา ถ้าซื้อของเก่าได้ดอกเบี้ย 1.5% แต่ถ้าซื้อของใหม่ได้ดอกเบี้ย 4% ถามว่าใครจะมาซื้อพันธบัตรรุ่นเก่าที่เราถือเอาไว้ครับ
แต่ละปี ดอกเบี้ยที่ได้รับห่างกันถึง 2.5% ระยะเวลาที่เหลืออีก 8 ปี ดอกเบี้ยที่จะได้รับต่างกันถึง 2.5×8=20%
แล้วมันเป็น 20% ที่ตายตัว เพราะราคาหน้าตั๋วระบุเป็นดอกเบี้ยคงที่ตลอด 10 ปี ซื้อรุ่นเก่าได้ 1.5% อีก 8 ปีที่เหลือ ซื้อรุ่นใหม่ได้ 4% ของ 10 ปีที่เหลือ ดังนั้นถ้าจะขายตราสารนี้ ต้องมีส่วนลด 20% เพื่อชดเชยดอกเบี้ยที่หายไปของผู้ซื้อตราสาร (เพื่อไปถือ) ต่อจากเรา (แต่ถ้าหุ้นกู้นั้นมีระยะเวลาเหลืออีกไม่กี่ปี อัตราการขาดทุนก็จะลดน้อยลง ตามจำนวนปีที่เหลือ)
ผู้บริหารธนาคารอาจจะคิดเพียงว่า รับฝากมาที่ต้นทุนดอกเบี้ย 0.5-1% เอาไปซื้อพันธบัตรได้ดอกเบี้ย 1.5% หุ้นกู้ได้ดอกเบี้ย 2-3% ตราบใดที่เราไม่ขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ทนถือจนครบสัญญา ธนาคารก็ได้รับเงินต้นคืนมาพร้อมดอกเบี้ย 1.5-3% แน่นอน ไม่มีขาดทุน (ถ้าธนาคารคาดการณ์ว่าจากนี้ไปดอกเบี้ยในตลาดจะไม่สูงไปกว่านี้ เพราะธนาคารกลางคงจะพิมพ์ดอลลาร์ออกมาเรื่อยๆ ทำให้ดอกเบี้ยลดลง เนื่องมีอุปทานออกมามาก)
แต่เหตุการณ์ไม่เป็นอย่างที่คิด
มีข่าวว่า SVB มีการลงทุนที่ผิดพลาด ไปทุ่มซื้อตราสารหนี้ระยะยาวเอาไว้พอสมควร ในภาวะที่ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น เพราะคาดการณ์ว่าอย่างไรเสีย ดอกเบี้ยก็ไม่น่าจะขึ้นสูงในภาวะที่เงินท่วมโลก ทำให้ราคาของตราสารหนี้ที่ธนาคารซื้อไว้มีราคาตลาดลดลงมาก
ซ้ำร้าย Peter Thiel นักลงทุนใน Start Up ชื่อดัง ผู้ซึ่งเคยเทขายบิตคอยน์ออกจากพอร์ตทั้งหมดก่อนตลาดดิ่ง ได้แนะนำให้นักลงทุนที่เขารู้จัก ถอนเงินออกจาก SVB ทำให้ปัญหาสภาพคล่องของ SVB หนักขึ้นไปอีก
เมื่อมีคนแห่กันมาถอนเงิน เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของธนาคาร ธนาคารจึงจำเป็นต้องขายตราสารหนี้ที่มีอยู่ แม้ในราคาที่ขาดทุน
ลองนึกภาพดูว่าถ้าตราสารหนี้ที่ถือไว้จำนวนมหาศาลต้องขายขาดทุนในอัตรา 20% เหมือนที่ผมยกตัวอย่างมา ขณะที่เงินกองทุนของธนาคารอาจมีเพียง 10-15% ของเงินฝาก สุดท้ายมันก็ไปกินเงินกองทุนของผู้ถือหุ้นจนหมด
ข่าวแจ้งว่า SVB ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีหลักประกันระยะ 10 ปี (10-year maturity mortgage-backed securities) ถึง 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในช่วงที่มีคนแห่กันมาถอนเงินทางธนาคารได้ขายตราสารหนี้ไปบางส่วนจำนวน 21,000 หมื่นล้านเหรียญ ทำให้ขาดทุนไป 1,800 ล้านเหรียญ จน SVB ต้องประกาศเพิ่มทุน 3 พันล้านเหรียญ ก่อนที่ทางการจะเข้ามาควบคุม
แต่พอข่าวนี้ออกไป ก็ยิ่งทำให้คนตื่นตระหนกแห่กันไปถอนเงินกันมากยิ่งขึ้น จนธนาคารขาดสภาพคล่อง ทางการจึงต้องเข้าไปควบคุม
อย่าลืมว่า หนี้สินของธนาคารก้อนใหญ่ที่สุดคือเงินฝากของประชาชน เมื่อธนาคารได้เงินมาก็นำไปปล่อยกู้หรือซื้อทรัพย์สินหรือหลักทรัพย์อื่นเอาไว้ หากเกิดภาวะตื่นตระหนก ทุกคนแห่กันมาถอนเงินสด มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ธนาคารจะเรียกคืนหนี้จากลูกหนี้ทุกคนทันที หรือขายทรัพย์สินทุกตัวเพื่อมาใช้หนี้ให้กับคนฝากเงิน
ความน่าเชื่อถือของธนาคารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจธนาคาร
กรณีของ SVB จึงเป็นเคสคลาสสิก ที่ธนาคารแห่งนี้ดำเนินธุรกิจทุกอย่างถูกต้อง แต่ประมาทเกี่ยวกับความเสี่ยงเรื่องอัตราดอกเบี้ย ที่ทำให้สินทรัพย์ที่ถืออยู่ในมือลดค่าทันที ถึงแม้มันจะเป็นขาดทุนทางบัญชี (unrealized loss) แต่ถ้าถูกบีบให้รีบขาย การขาดทุนทางบัญชีก็จะเป็นการขาดทุนที่แท้จริง (realized loss) ทันทีที่ขายออกไป จนธนาคารต้องล้มในที่สุด
ผลกระทบที่เกิดขึ้น อาจจะมีอีกหลายระลอก เพราะมีกองทุนบางแห่งฝากเงินไว้ที่บริษัทนี้เป็นเงินหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทยักษ์ใหญ่บางแห่งใช้ธนาคาร SVB ในการจ่ายเงินเดือนพนักงาน แน่นอนว่า ถึงแม้เงินของบริษัทจะไม่ได้อยู่ที่ธนาคารนี้ทั้งหมด แต่การเปลี่ยนโอนให้ธนาคารอื่นมาดูแล รับผิดชอบเงินเดือนของคนหลายหมื่นคนก็ไม่สามารถทำได้ในชั่วเวลาข้ามคืน
บางบริษัทอาจทำเรื่องกู้ยืมเงินไว้กับธนาคาร SVB เอาไว้ (เปิด credit line) แต่เมื่อยังไม่ได้ดึงวงเงินที่กู้ออกมาใช้ ก็ต้องทำเรื่องกู้จากธนาคารอื่น ซึ่งก็ต้องใช้เวลาในการพิจารณา ทำให้ธุรกรรม/ธุรกิจต่าง ๆ ต้องสะดุดไปพอสมควร
ข่าวนี้ทำให้ธนาคารขนาดกลางอีกเกือบ 25 แห่งต้องมีความเสี่ยงที่จะล้มตาม เพราะเกิดวิกฤตศรัทธา และประชาชนแห่กันไปถอนเงิน ธนาคารขนาดใหญ่จะยิ่งมีความมั่นคงขึ้น เพราะคนถอนเงินจากธนาคารเล็กไปฝากธนาคารใหญ่ ถึงแม้จะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเล็กน้อย แต่ชั่วโมงนี้การรักษาเงินต้นไว้สำคัญที่สุด
สึนามิทางการเงินอาจจะมาอีกหลายระลอก เพราะธนาคารหลายแห่งต้องขายสินทรัพย์ออกมา ไม่ว่าหุ้นกู้หรือหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมเงินมารักษาสภาพคล่องของธนาคาร และมันอาจจะกระทบถึงหุ้นในประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยที่ต่างชาติมาลงทุนไว้ด้วย งานนี้เรียกว่ากระทบกันไปหมด ก็ให้จับตาอย่ากระพริบครับ
Source: ประชาชาติธุรกิจ

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"