forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

บทความพิเศษ: ตัวเลข 'จีดีพี' ล่าสุดของ 'สภาพัฒน์' น่ากังวลแค่ไหน

เรียกได้ว่าช็อกตลาดพอสมควร สำหรับตัวเลขอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ แถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทย ซึ่งปกติไม่ค่อยตอบสนองต่อตัวเลขสภาพัฒน์ เปิดติดลบทันที และ ปิดสิ้นวันลบไป 6.62 จุด

ก่อนที่ตัวเลขสภาพัฒน์จะออก ตลาดมองว่าเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวจาก ปีก่อนหน้าร้อยละ 3.2 ขณะที่ตัวเลขจริงออกมาร้อยละ 2.6
ตัวเลขสองตัวนี้อาจจะดูต่างกันไม่มาก แต่ต้องอย่าลืมว่า ตลาดมีตัวเลขจริงแล้ว 3 ไตรมาส ขาดเพียงไตรมาสสุดท้ายของปีเท่านั้น ถ้าดูเฉพาะไตรมาสที่ 4 ส่วนต่างระหว่าง ตัวเลขคาดการณ์ของตลาดกับตัวเลขจริงจะเท่ากับประมาณร้อยละ 2 คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ปรับฤดูกาลแล้วแบบไตรมาสต่อไตรมาส เศรษฐกิจไตรมาสที่ 4 จะลดลงจากไตรมาสที่ 3 ถึงร้อยละ 1.5
สภาพัฒน์อธิบายว่า ที่เศรษฐกิจไทย ในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวได้ต่ำ เป็นเพราะการหดตัวของการส่งออกสินค้า ซึ่งในรูปของปริมาณติดลบถึงร้อยละ 10.5 ในไตรมาสที่ 4 จากที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาสที่ 3
อย่างไรก็ตาม ในแง่ของการเปรียบเทียบตัวเลขจริงที่ออกมากับตัวเลขคาดการณ์ของตลาดแล้ว การหดตัวของการส่งออกไม่ใช่คำตอบทั้งหมด เพราะตลาดรับทราบข้อมูลการส่งออกที่ติดลบมาสักพักแล้ว ตัวเลขคาดการณ์ของสำนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ ซึ่งออกมาในช่วงต้นปีนี้ได้รวมตัวเลขการส่งออกในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนของปี 2565 ไปแล้ว
ในมุมของสำนักวิเคราะห์ อีกตัวเลขหนึ่งที่ผิดคาด พอสมควร คือตัวเลขการใช้จ่ายภาครัฐ แม้หลายฝ่ายจะคาดไว้ อยู่แล้วว่ารายจ่ายภาครัฐ อยู่ในทิศทางชะลอตัว จาก งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจใน ปีนี้ที่ลดลง และจากผลของฐานสูงที่รัฐบาลใช้เงินมหาศาลในการดูแลเศรษฐกิจใน ปีก่อนหน้า แต่ข้อมูลที่ออกมาสะท้อนอัตราการเบิกจ่ายที่ต่ำกว่าที่ตลาดคาดด้วย
แต่เอาจริงๆ แค่ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4 ที่ต่ำกว่าคาดไม่ควรจะมีผลมาก เพราะเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว และหลายประเทศก็ขยายตัวได้ไม่ดีในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้วเช่นกัน ตัวเลขที่ผมคิดว่าสำคัญกว่า คือช่วงคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจใน ปีนี้ ที่ปรับลดลงจากร้อยละ 3.0-4.0 เป็นร้อยละ 2.7-3.7 ซึ่งก่อนหน้านี้ แทบไม่มีสำนักวิเคราะห์ไหนเลยที่คิดว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะต่ำกว่าร้อยละ 3.0
นอกจากนี้ ค่ากลางของช่วงคาดการณ์ของ สภาพัฒน์ที่ร้อยละ 3.2 ยังต่ำกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ร้อยละ 3.7 อย่างมีนัย ทั้งๆ ที่ตัวเลขใหม่นี้ใช้สมมติฐานจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างประเทศถึง 28 ล้านคนแล้ว
หากไปดูไส้ในของคาดการณ์ พบว่า สภาพัฒน์ให้การส่งออกสินค้าและการใช้จ่าย ภาครัฐ ซึ่งเป็นปัจจัยลบหลักของเศรษฐกิจใน ไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว ติดลบในปีนี้ทั้งคู่โดยคาดการณ์มูลค่าการส่งออกสินค้าติดลบร้อยละ 1.6 คาดการณ์การอุปโภคภาครัฐติดลบ ร้อยละ 1.5 และคาดการณ์การลงทุน ภาครัฐขยายตัวร้อยละ 2.7
แต่การอุปโภคภาครัฐ มีขนาดมากกว่าการลงทุนภาครัฐมากจึงทำให้ คาดการณ์การใช้จ่ายรวมภาครัฐติดลบ ซึ่งตัวเลขนี้ ยังไม่ได้นับรวมความเสี่ยงที่ท่านเลขาธิการสภาพัฒน์บอกว่าการจัดทำงบประมาณ ปี 2567 อาจจะล่าช้าได้
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น ข่าวร้ายสำหรับเศรษฐกิจไทยที่เพิ่งฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด-19 ในระยะต่อไปจึงมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นบางสำนักปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้ลงตามสภาพัฒน์ อย่างไรก็ดี ผมยังมีมุมมอง เชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทย ด้วยเหตุผลหลัก สองประการ
ประการแรก ผมคิดว่าสภาพัฒน์ประมาณการผลต่อเศรษฐกิจของการ กลับมาของนักท่องเที่ยวต่างประเทศน้อย เกินไป
โดยแม้สภาพัฒน์จะให้จำนวนนักท่องเที่ยว ต่างประเทศมากถึง 28 ล้านคน แต่ให้รายได้ จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพียง 1.31 ล้านล้านบาท หรือ 4.68 หมื่นบาทต่อหัว นักท่องเที่ยว 1 คน ต่ำกว่าตัวเลขก่อนวิกฤติ โควิด-19 ที่ประมาณ 5 หมื่นบาทต่อหัว (ค่าเฉลี่ย ปี 2560-2562)
หากคำนึงถึงราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นจากผลของเงินเฟ้อ และ "Revenge spending" ของนักท่องเที่ยวจีนที่อั้น มานาน ก็เป็นไปได้ที่รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศในปีนี้จะสูงกว่าที่สภาพัฒน์ประเมิน ยังไม่นับว่าล่าสุดมีสำนักวิจัย สำนักหนึ่งคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างประเทศปีนี้จะมีถึง 30 ล้านคน
ประการที่สอง ผมคิดว่าอาจจะยังมี upside สำหรับการบริโภคภาคเอกชนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 56 ในจีดีพีได้ ตรงนี้ ต้องบอกว่าตัวเลขของสภาพัฒน์ไม่ได้แย่ไปหมด ในข่าวร้ายยังมีข่าวดีแทรกอยู่ ผมเชื่อมั่นว่าตัวเลขการขยายตัวของการบริโภค ภาคเอกชนในไตรมาส 4 ของปีที่แล้วที่ออกมาร้อยละ 5.7 สูงกว่าคาดการณ์ของทุกสำนัก
ส่วนหนึ่งจากการฟื้นตัวของภาคการ ท่องเที่ยวที่ดีกว่าคาดในไตรมาสที่ 4 สอดคล้องกับผลทวีคูณต่อการบริโภคภาคเอกชน ของการท่องเที่ยวที่สูงกว่าผลทวีคูณ ของการส่งออกสินค้า (จากความเชื่อมโยงไปการจ้างงานและรายได้ของครัวเรือน ที่สูงกว่า)
มองไปข้างหน้า หากรายได้จาก นักท่องเที่ยวต่างประเทศในข้อ 1 สูงกว่าที่สภาพัฒน์คาด การบริโภคภาคเอกชน ก็น่าจะขยายตัวได้สูงกว่าที่สภาพัฒน์คาดเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเข้มแข็งน้อยกว่าที่ผมคาดก่อนจะเห็นตัวเลขของสภาพัฒน์พอสมควร ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจเรารับมือกับความเสี่ยงในระยะข้างหน้าได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้ ผมเห็นตรงกับสภาพัฒน์ว่า
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญอันดับแรกของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและความผันผวนของระบบเศรษฐกิจการเงินโลก ซึ่งทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐจะเป็นตัวกำหนดที่สำคัญ และจำเป็นต้องติดตามใกล้ชิดครับ
ดอน นาครธรรพ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"