forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

แบงก์ชาติยุโรปอาจยังไม่เลิกคุมเข้มนโยบายเร็ววันนี้ เหตุเงินเฟ้อพื้นฐานสูงต่อเนื่อง

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่อเค้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในวันพฤหัสบดี (2 ก.พ.) โดยเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายหันมาให้ความสนใจอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน แทนที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป

แม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในยูโรโซนเริ่มปรับตัวลดลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากราคาพลังงานที่ลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
นายพอล ฮอลลิงส์เวิร์ธ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำยุโรปของธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ (BNP Paribas) กล่าวว่า "เราคิดว่าต้องใช้เวลายาวนานขึ้นอย่างมาก กว่าที่แรงกดดันเงินเฟ้อจากภาคบริการจะชะลอตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจยูโรโซนยืดหยุ่นต่อภาวะตื่นตระหนกด้านพลังงานและตลาดแรงงานยังคงตึงตัว"
นอกจากนี้ เศรษฐกิจในยูโรโซนมีความยืดหยุ่นมากกว่าที่คาดการณ์ และสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจหดตัวได้ในไตรมาส 4/2565 โดยเศรษฐกิจของฝรั่งเศสและสเปนขยายตัวขึ้น ซึ่งชดเชยภาวะเศรษฐกิจหดตัวในอิตาลีและเยอรมนี
ขณะเดียวกัน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกเป็นครั้งแรกในหนึ่งรอบปี โดยได้ปัจจัยหนุนจากการที่จีนเปิดประเทศและอุปสงค์ที่มีเสถียรภาพของสหรัฐ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลดีต่อกลุ่มประเทศยูโรโซน รวมถึงจีนและสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มประเทศในยูโรโซน
นายมาร์ค วอลล์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำธนาคารดอยซ์แบงก์ระบุว่า "ก๊าซสำรองเพิ่มสูงขึ้นและราคาก๊าซปรับตัวลดลง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเริ่มลดลงและความไม่แน่นอนกำลังลดลง ดังนั้น เราจึงได้ตัดความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยออกจากการคาดการณ์ในปี 2566 ของเรา"
ทั้งนี้ นายวอลล์มองว่า ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% ในสัปดาห์นี้ ก่อนจะปรับขึ้นอีก 0.50% ในเดือนมี.ค. และ 0.25% ในเดือนพ.ค. โดยจบลงด้วยอัตราดอกเบี้ยสุดท้ายที่ 3.25% พร้อมระบุว่า "เราคาดว่า ECB จะตรึงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่ระดับสุดท้ายไปจนถึงกลางปี 2567 แล้วจึงเริ่มปรับลดลงครั้งละ 0.25% ต่อไตรมาส จนกระทั่งอัตราดอกเบี้ยหวนคืนสู่ระดับกลางในปี 2568"
โดย วรวิชญ์ สิทธิวัง/รดา สิริสายพิรุณ
Source: สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"