forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

JP Morgan ทดลองทำธุรกรรมผ่าน DeFi เป็นครั้งแรกบนบล็อกเชนสาธารณะ

JP Morgan กลุ่มบริษัทสถาบันการเงินข้ามชาติยักษ์ใหญ่ ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกรรมข้ามประเทศผ่านระบบการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi) บนเครือข่ายบล็อกเชนสาธารณะเป็นครั้งแรก! โดยทำผ่านเครือข่าย Polygon

ซึ่งเป็นเลเยอร์สอง​Ethereum โดยนำโค้ดของโปรโตคอล AAVE มาดัดแปลง
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีทางการเงินของธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ระบุว่าความสำเร็จของการทดสอบครั้งนี้ถือเป็น "พัฒนาการขั้นสำคัญไปสู่ระบบการเงินระดับโลกที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียว"
การทดสอบระบบเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Guardian ที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ องค์การเงินตราแห่งประเทศสิงคโปร์ หรือ MAS ซึ่งมีสถานะเป็นธนาคารกลางของสิงคโปร์ โดยโครงการ Guardian คือแผนงานสำหรับใช้ทดสอบนำร่องระบบการเงินที่มีเป้าหมายในการ "ศึกษาศักยภาพของกานำระบบการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi) มาประยุกต์ใช้ในการจัดหาเงินทุนระหว่างสถาบันการเงินต่าง ๆ"
อีกนัยหนึ่งคือการทดสอบนำร่องนี้ถือเป็นการก้าวขึ้นไปอีกขั้น เพื่อศึกษาแนวทางว่าสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมจะสามารถนำสินทรัพย์ที่อยู่ในรูปของโทเคนดิจิทัลและโปรโตคอล DeFi มาใช้ในการดำเนินธุรกรรมทางการเงินได้อย่างไรบ้าง รวมไปถึงการมองหาศักยภาพในการนำมาประยุกต์ใช้งานด้านอื่น ๆ
นอกจากนี้ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการทดสอบนำร่องดังกล่าวก็มีทั้งธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์อย่าง DBS Bank,บริษัทสถาบันการเงินที่มีฐานใหญ่อยู่ในโตเกียวอย่าง SBI Digital Asset Holdings รวมไปถึงแพลตฟอร์มที่เป็นศูนย์รวมของบรรดาผู้นำทางธุรกิจอย่าง Oliver Wyman Forum ด้วยเช่นกัน
การทำธุรกรรมดังกล่าวใช้ช่องทางของ Polygon ซึ่งเป็นเครือข่ายลำดับชั้นที่ 2 ของ Ethereum โดยนำโค้ด Smart Contract (สัญญาอัตโนมัติ) ของโปรโตคอล AAVE มาดัดแปลงเพื่อการใช้งาน
ด้าน MAS เผยว่า "การทำธุรกรรมข้ามสกุลเงิน" ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้มีการทดลองฝากเงินดอลลาร์สิงคโปร์และเยนญี่ปุ่นที่ถูกแปลงให้อยู่ในรูปของโทเคนดิจิทัล รวมไปถึงการจำลองซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลในรูปแบบโทเคนดิจิทัล
ในประเด็นนี้ Tyrone Lobban หัวหน้าทีม Blockchain Launch และ Onyx Digital Assets ที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ Onyx บริษัทย่อยในเครือ JP Morgan ได้เผยแพร่ข้อมูลออกมาผ่านทางทวิตเตอร์ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พร้อมกับระบุว่าการฝากเงินดอลลาร์สิงคโปร์ในรูปแบบโทเคนดิจิทัลนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ธนาคาร JP Morgan รับเงินฝากที่เป็นโทเคนดิจิทัลเข้ามาในระบบ
ในขณะที่ Sopnendu Mohanty ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีทางการเงินของ MAS กล่าวว่าการทดสอบครั้งนี้ถือเป็น "พัฒนาการขั้นสำคัญ" ไปสู่ระบบการเงินที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และการทดสอบนำร่องครั้งล่าสุด ได้ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศ ดังที่ได้แสงความคิดเห็นไว้ว่า
"โครงการทดสอบนำร่องด้วยการใช้งานจริงที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของบรรดาผู้เล่นในอุตสาหกรรมการเงินเป็นการแสดงให้เห็น ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลและระบบการเงินแบบกระจายศูนย์ล้วนแต่มีศักยภาพที่จะเข้ามาพลิกโฉมตลาดเงินตลาดทุนให้ก้าวหน้าขึ้น ภายใต้เงื่อนไขของการมีมาตรการกำกับดูแลอย่างเหมาะสม"
Umar Farooq ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ “Onyx โดย JP Morgan” ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์ของ JP Morgan ที่มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนได้ให้สัมภาษณ์กับทาง Bloomberg ไว้เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนว่าการทำธุรกรรมของ JP Morgan ผ่านเครือข่ายบล็อกเชนนั้นถือเป็น "ครั้งแรกที่ธนาคารยักษ์ใหญ่...และเป็นครั้งแรกของธนาคารบนโลกนี้ที่ได้รับการฝากเงินเข้ามาในรูปแบบของโทเคนดิจิทัลผ่านเครือข่ายบล็อกเชนสาธารณะ"
ด้าน AAVE ซึ่งเป็นโปรโตคอลสำหรับการกู้ยืมคริปโทฯ ในโลกของ DeFi ก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อการทดสอบนำร่องในครั้งนี้ โดยกล่าวว่าการทำธุรกรรมผ่าน DeFi ของสถาบันการเงินรายใหญ่ถือเป็น "หมุดหมายสำคัญ" สำหรับอุตสาหกรรมคริปโทฯ ด้วยการ "แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าครั้งยิ่งใหญ่ของการเชื่อมโยงสินทรัพย์จากระบบการเงินแบบดั้งเดิมให้เข้ามาสู่โลกของ DeFi"
ทั้งนี้ โครงการ Guardian มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2022 ซึ่งเป็นระยะเวลาประมาณหนึ่งเดือนหลังจากที่ทาง JP Morgan และ DBS ได้ประกาศความร่วมมือในการสร้างแพลตฟอร์มบล็อกเชนเพื่อการใช้งานระหว่างธนาคารซึ่งจะเข้ามาส่งเสริมประสิทธิภาพของ สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC)
ความเคลื่อนไหวในครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่บรรดาผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมการเงินต่างออกมาทำนายว่าจะเกิดปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองจากการนำสินทรัพย์ในโลกจริงมาแปลงให้อยู่ในรูปของโทเคนดิจิทัลบนบล็อกเชน
จากรายงานฉบับเดือนกันยายนปี 2022 นั้น ทาง Boston Consulting Group ประเมินว่ามูลค่ารวมของสินทรัพย์ที่อยู่ในรูปแบบโทเคนดิจิทัลซึ่งมีสภาพคล่องต่ำจะเติบโตขึ้นไปแตะ 16.1 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2030
ทั้งนี้ Cynthia Wu ผู้เป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของแพลตฟอร์มให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัล Matrixport ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง Cointelegraph เมื่อไม่นานมานี้ว่า "ในเวลาอีกสัก 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า แทบทุกสิ่งบนโลกนี้จะสามารถแปลงมาเป็นโทเคนดิจิทัลได้" และสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัวและไม่สามารถใช้ทดแทนกันได้ หรือ NFT จะสามารถนำมาใช้เป็นตราสารแสดงสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่อยู่นอกบล็อกเชนอย่างเช่นโฉนดอสังหาริมทรัพย์ หุ้น และพันธบัตร
Source: สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"