forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

Nikkei คาด ธนาคารกลางญี่ปุ่นทุ่มทุนแทรกแซงค่าเงินเยนไปแล้วมากกว่า 1 ล้านล้านบาท

Nikkei Asia ได้คาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น ได้ใช้เงินมากถึง 5.5 ล้านล้านเยน หรือราวๆ 1.41 ล้านล้านบาท เพื่อที่จะแทรกแซงค่าเงินเยนในช่วงที่ผ่านมา หลังจากที่ค่าเงินเยนได้อ่อนค่าอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทำสถิติใหม่อ่อนค่าที่สุดในรอบ 32 ปี

ข้อมูลจากธนาคารกลางญี่ปุ่นและรวบรวมโดย Nikkei Asia ในเดือนตุลาคมธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ใช้เงินไปแล้วกว่า 5.5 ล้านล้านเยน ซึ่งมากว่าเดือนกันยายนที่ธนาคารกลางได้ใช้เงินแทรกแซงค่าเงินไปแล้วถึง 2.8 ล้านล้านเยน
ค่าเงินเยนที่อ่อนค่านั้นสาเหตุสำคัญมาจากนโยบายการเงินของญี่ปุ่นนั้นแตกต่างกับประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ เนื่องจากญี่ปุ่นเองต้องการแก้ปัญหาเงินฝืดซึ่งเกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน จึงต้องใช้นโยบายด้านการเงินแบบผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ รวมถึงการอัดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน
ซึ่งนโยบายการเงินของญี่ปุ่นถือว่าตรงข้ามกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ที่ใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ไปจนถึงการลดสภาพคล่องในระบบ เพื่อที่จะลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อในตอนนี้ ส่งผลทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่นนั้นห่างออกไปเรื่อยๆ ส่งผลทำให้เม็ดเงินไหลออกจากญี่ปุ่น จึงทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าอย่างหนัก
ก่อนหน้านี้ Shunichi Suzuki รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ได้ออกมากล่าวกับสื่อว่าจะดำเนินการอย่างเหมาะสมและเด็ดขาดกับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนที่อ่อนค่ามากเกินไป โดยตัวเขามองว่าค่าเงินที่อ่อนค่านั้นถูกขับเคลื่อนโดยนักเก็งกำไรค่าเงิน ไม่เพียงเท่านี้เขายังกล่าวว่าทางการสามารถที่จะเข้าไปแทรกแซงโดยไม่ต้องประกาศให้สาธารณชนรับรู้ได้
นอกจากนี้ญี่ปุ่นได้พยายามแก้ปัญหาค่าเงินเยนที่อ่อนค่า ไม่ว่าจะเป็นการเปิดประเทศเพื่อที่จะรับนักท่องเที่ยว ส่งผลทำให้เม็ดเงินไหลเข้า นอกจากนี้ปัจจัยดังกล่าวยังดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ไปญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่า เมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศในเอเชีย
โดยในบทวิเคราะห์ของ JPMorgan ได้คาดการณ์ว่าค่าเงินเยนจะอ่อนค่ามากที่สุด 155 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดือนธันวาคม ก่อนที่จะค่อยๆ ทยอยแข็งค่ามากขึ้นในปี 2023
Wattanapong Jaiwat

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"