forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ส่อง “อัตราดอกเบี้ย” ทั่วโลก

นับเป็นช่วงเวลาขาขึ้นของ “อัตราดอกเบี้ย” เมื่อคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 (ตามเวลาไทย) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังการประชุมเมื่อวันที่ 20-21 กันยายน 2565 อีก 0.75%

สู่ระดับ 3.00-3.25% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 ในการลดอัตราเงินเฟ้อที่ใกล้ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980
ไม่เพียงเท่านั้น เฟดยังส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะสู่ระดับ 4.40% ภายในสิ้นปี 2565 และจะเพิ่มขึ้นถึงระดับ 4.60% ในปี 2566 เพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ขณะเดียวกันเฟดส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปี 2567 ถึง 3 ครั้ง และปรับลดในปี 2568 อีก 4 ครั้ง ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยลงสู่แนวโน้มมัธยฐานที่ 2.9%
อ่านข่าวเพิ่มเติม : “เฟด” มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3หวังสกัดเงินเฟ้อ พร้อมส่งสัญญาณปรับขึ้นอีกครั้งในปี 65
ขณะที่ธนาคารกลางอื่นๆ ต่างมีท่าทีปรับ "อัตราดอกเบี้ย" เพื่อสู้กับเงินเฟ้อเช่นกัน โดยประเทศต่างๆ มีการปรับดังนี้
"แบงก์ชาติปารากวัย" ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% แตะระดับ 8.50% ท่ามกลางเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 14 ปี
"ธนาคารกลางอังกฤษ" เสียงแตกขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี
"ธนาคารกลางฮ่องกง"ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ตามเฟด หวังรักษาค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงจับตาท่าทีแบงก์พาณิชย์
"แบงก์ชาติญี่ปุ่น"คงนโยบายการเงินตามคาด เยนอ่อนค่าสุดในรอบ 24 ปี แตะ 145 เยนต่อดอลล์
"ธนาคารแห่งชาติสวิส"ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% สิ้นสุดยุคดอกเบี้ยติดลบในยุโรป
"แบงก์ชาติฟิลิปปินส์" ขึ้นดอกเบี้ย0.50% บรรเทาแรงกดดันเงินเฟ้อ-เปโซทรุดตัว
แบงก์ชาติอินโดนีเซีย ปรับขึ้นดอกเบี้ย0.50% ครั้งใหญ่สุดตั้งแต่ปี 2561
ธนาคารกลางนอร์เวย์ ปรับขึ้นดอกเบี้ย0.50% ส่งสัญญาณขึ้นต่อถึง 3.00%
Source: การเงินธนาคารออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"