forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

 เงินเฟ้อสหรัฐพุ่งโจทย์ ใหญ่ 'ธปท.' ทาง2แพร่งขึ้นดบ.

กูรูชี้แบงก์ชาติเผชิญโจทย์หิน ทาง 2 แพร่ง "ขยับดอกเบี้ย" สู้เงินเฟ้อ ท่ามกลางแรงกดดันทางด้านเศรษฐกิจ-หนี้ครัวเรือน หลังเงินเฟ้อ สหรัฐเดือนส.ค.พุ่งเกินคาดแตะ 8.3% กดดันเฟดขึ้นอาจดอกเบี้ยแรง ทุบตลาดหุ้น ร่วงระนาว ขณะที่ทิศทางค่าบาทอ่อนยาว

ค่ำวันที่ 13 ก.ย.ตามเวลาประเทศไทย กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่มขึ้น 8.3% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.1%
ก่อนหน้านี้ ดัชนี CPI พุ่งแตะระดับ 9.1% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนส.ค. สวนทาง นักวิเคราะห์ที่คาดว่าลดลง 0.1%
ขณะเดียวกัน ดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 6.3% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.1% เมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี CPI พื้นฐานดีดตัวขึ้น 0.6% ในเดือนส.ค. โดยสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 0.3%
ตัวเลขเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าคาด ก่อให้เกิดแรงเทขายในสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ดาวโจนส์ ปิดตลาด 13 ก.ย.ร่วงกว่า 1,276.37 จุด หรือ 3.94% มาที่ 31,104.97 จุด ราคาบิทคอยน์ร่วงกว่า 9.9% มาที่ 20,155.30 ดอลลาร์ เช่นเดียวกับราคาทองคำ ตลาดโคเม็กซ์ ส่งมอบธ.ค.ลดลง 23.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,717.40 ดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 0.75% ในรอบประชุมถัดไป 21-22 ก.ย.นี้
"การสกัดเงินเฟ้อให้ชะลอตัวลงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความมุ่งมั่นและเวลามากขึ้น ถึงแม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนส.ค.บ่งชี้ถึงความคืบหน้ามากขึ้นในการทำให้เงินเฟ้อลดลงในเศรษฐกิจสหรัฐ"โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ กล่าว
คาดธปท.ไม่ขึ้นดอกเบี้ยแรง
ส่วนความเคลื่อนไหวในประเทศไทยนั้น นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การเปลี่ยนมุมมองของนักลงทุน ที่มองว่าธนาคารกลางสหรัฐ มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยไป 1% ในการประชุมรอบนี้ อาจส่งผลให้ดอลลาร์จะยิ่งแข็งค่า ต่อเนื่อง กดดันเงินบาทให้อ่อนค่าลงได้อีก จากปัจจุบันที่อ่อนค่าเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาค
"แบงก์ชาติคงไม่เลือกขึ้นดอกเบี้ยแรง เพราะปัจจุบันภาคครัวเรือนเปราะบางสูง ดังนั้น สิ่งที่แบงก์ชาติทำได้คือการดูแลเสถียรภาพเงินบาท และดูแลไม่ให้เงินบาทอ่อนค่าจนเกินไป"
นายกอบสิทธิ์ กล่าวว่า การอ่อนค่าของเงินบาท เป็นอีก 1 ปัจจัยที่ส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยลดลง เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า ทำให้ทางการต้องแทรกแซงโดยขายดอลลาร์ออกมาเพื่อพยุงค่าเงินไม่ให้อ่อนไป จนสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อ นอกจากนี้การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ในตะกร้าเงินลดลง
ปัจจุบันทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย อยู่ที่ประมาณ 2.13 แสนล้านดอลลาร์ ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 4ปี นับตั้งแต่ พ.ค.2562 ที่ต่ำสุดอยู่ที่ 2.12 แสนล้านดอลลาร์
ทีทีบีชี้ทิศทางบาทยังอ่อนค่า
นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี กล่าวว่า ทุนสำรองของไทยลดลง แต่ยังถือว่าแข็งแกร่งหากเทียบกับเพื่อนบ้าน โดยทุนสำรองลดลง มาจาก 3ปัจจัย คือ การตีมูลค่า สินทรัพย์ในทุนสำรองลดลง จากการที่ดอลลาร์แข็งค่า ถัดมาคือดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุล จากการท่องเที่ยวที่ลดลงมาก หากเทียบกับช่วงก่อนโควิด และสุดท้าย ลดลงจากการเข้าไปดูแลเงินบาท เพื่อประคองให้เงินบาทเคลื่อนไหวสอดคล้องกับภูมิภาค
ทั้งนี้หากดูทุนสำรองพบว่าลดลงราว 2.2 หมื่น ล้านดอลลาร์ ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา และขาดดุล เพิ่มขึ้นราว 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ดังนั้นทุนสำรองที่ลดลงมาจาก 2 ส่วนในข้างต้นเป็นหลัก ไม่ได้มาจากการแทรกแซงค่าเงินบาทมากนัก
อย่างไรก็ตามทิศทางค่าเงินบาท ยังมีทิศทางอ่อนค่าต่อได้อีก เพราะการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดจะยังไม่จบ เฟดอาจขึ้นดอกเบี้ย อย่างต่ำ 0.75-1% ต่อเนื่องอีก 2 ครั้งในปีนี้ ต้องจับตาว่า เงินบาทจะสามารถประคองตัวไม่ให้หลุดระดับ 37.00 บาทต่อดอลลาร์ได้หรือไม่
ทั้งนี้แม้เฟดจะมีการขึ้นดอกเบี้ยแรงกว่าตลาดคาด เพื่อคุมเงินเฟ้อ แต่เชื่อว่า กนง.ไม่น่า จะเปลี่ยนท่าที หรือทำนโยบายการเงินที่เข้มขึ้น ยังคาดว่ากนง.จะขึ้นดอกเบี้ยที 0.25% ต่อเนื่องอีก 2 ครั้งในปีนี้
หวั่นไทยไม่พ้นwage price spiral
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้า นักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร กล่าวว่า ความเสี่ยงที่เฟดไม่อาจ ปล่อยให้เงินเฟ้อค้างสูงนาน เพราะกลัวว่าท้ายที่สุด อาจเกิด Wage price spiral เช่นเดียวกับเศรษฐกิจ ไทย ที่อาจต้องเผชิญกับ Wage price spiral หากไม่ทำอะไร หรือทำช้าเกินไป ดังนั้นเงินเฟ้อจะเป็นความเสี่ยงมากขึ้น อาจส่งผลให้กนง.ถูกบีบ ให้ขึ้นดอกเบี้ยแรงขึ้นกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้
"วันนี้ไทยกำลังขึ้นบันไดทีละขั้น ในขณะที่คนอื่นๆขึ้นครั้งละ 2-3ขั้น ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะยิ่งสูงขึ้น ดังนั้นความเสี่ยงสำคัญที่จะตามมาคือ เงินบาทที่จะอ่อนค่ามากเรื่อยๆและผันผวนมาก เพราะท้ายที่สุดแม้จะบอกว่า ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไม่มีผลทำให้เงินไหลออก แต่หากส่วนต่าง ใหญ่ขึ้น ประเด็นนี้คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเงินบาท ที่อ่อนค่าจะซ้ำเงินเงินเฟ้อให้ยิ่งสูงไปอีก"
มุมมองของเรามองว่า กนง.จำเป็น ต้องขึ้นดอกเบี้ยเยอะกว่านี้ เพราะดอกเบี้ยเราต่ำเกินไป เทียบกับภาวะเงินเฟ้อที่เราเผชิญอยู่ แบงก์ชาติควรขยับแรงกว่านี้ แม้ความเป็นจริงแบงก์ชาติอาจขึ้นดอกเบี้ยแค่ 0.25% อีก 2 ครั้งที่เหลือปีนี้
แบงก์ชาติเผชิญโจทย์หิน
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) กล่าวว่า ยังเชื่อว่ากนง.จะขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% และยังไม่เปลี่ยนมุมมอง เพราะปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก จากการเติบโตช้า และแนวโน้มเงินเฟ้อข้างหน้ามีทิศทางลดลง ดังนั้นวันนี้เศรษฐกิจไทยอยู่คนละวัฏจักรเศรษฐกิจกับสหรัฐ
"แต่สิ่งที่ต้องจับตารอบนี้คือ การประชุมรอบนี้กนง.จะส่งสัญญาณดอกเบี้ยข้างหน้าอย่างไร ประชุมครั้งนี้น่าจะเสียงแตก"
ดร.อมรเทพ กล่าวว่า เงินเฟ้อคงไม่กลับเข้ากรอบธปท.ได้ในปีหน้า ดังนั้นปีหน้าอาจเห็นการทำนโยบายการเงินตึงตัวต่อเนื่อง ซึ่งหากขึ้นแรง อาจเป็นระเบิดเวลาอีกลูกที่ทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวสะดุด
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"