forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

รัสเซียปิดท่อส่งก๊าซ "นอร์ดสตรีม 1" อีกครั้ง

รัสเซียระงับส่งก๊าซไปยุโรปผ่านทางท่อส่งก๊าซ ‘นอร์ดสตรีม 1’ (Nord Stream 1) อีกครั้ง โดยบอกว่าเป็นการปิดเพื่อซ่อมบำรุง นี่ถือเป็นการตอกย้ำถึงความไม่มั่นคงทางพลังงานที่ยุโรปต้องเผชิญนับตั้งแต่เกิดสงครามในยูเครน

ที่รัสเซียเลือกใช้แต้มต่อด้านพลังงาน ตอบโต้การคว่ำบาตรของสหภาพยุโรป
ก๊าซพรอม รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานยักษ์ใหญ่ของรัสเซียประกาศระงับการส่งก๊าซธรรมชาติผ่านท่อนอร์ดสตรีม 1 ไปยังเยอรมนีอีกครั้งเป็นเวลา 3 วัน เพื่อดำเนินการซ่อมแซม โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ไปจนถึง 3 กันยายน
แม้ก๊าซพรอมจะบอกว่าการหยุดส่งก๊าซเป็นมาตรการชั่วคราวและจำเป็นสำหรับการซ่อมบำรุง แต่รัฐบาลเยอรมนีและบรรดาผู้บริหารบริษัทพลังงานต่างมองว่านี่มาจากแรงจูงใจทางการเมืองที่รัสเซียต้องการใช้การหยุดส่งก๊าซมาตอบโต้ที่สหภาพยุโรปคว่ำบาตรรัสเซียต่อการก่อสงครามในยูเครน
โดยเมื่อวานนี้ ( 30 ส.ค.) นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ของเยอรมนี ได้กล่าวระหว่างต้อนรับการเยือนของนายกรัฐมนตรีเปโดร ซานเชซ ของสเปน ยืนยันว่ารัฐบาลเยอรมนีเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ปั่นป่วนที่จะเกิดขึ้นจากความไม่มั่นคงด้านพลังงาน โดยเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของระบบเศรษฐกิจของเยอรมนี
การหยุดส่งก๊าซครั้งนี้ทำให้เกิดความกังวลเช่นกันว่า รัสเซียจะกลับมาส่งก๊าซผ่านท่อนอร์ดสตรีม 1 อีกครั้งหรือไม่หลังครบกำหนด 3 วัน ซึ่งก๊าซพรอมก็ระบุในแถลงการร์ว่าจะกลับมาส่งก๊าซผ่านท่อดังกล่าวอีกครั้งหากไม่พบความผิดปกติใดๆ
โดยปริมาณก๊าซที่จะกลับมาส่งจะอยู่ที่ร้อยละ 20 ของขีดความสามารถในการส่งก๊าซของท่อนอร์ดสตรีม 1 เป็นปริมาณเดียวกับที่ส่งในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม หลังมีการปิดใช้งานท่อนอร์ดสตรีม 1 ครั้งก่อนหน้านี้เป็นเวลา 10 วัน
ส่วนดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซียก็ยืนยันว่า จะมีการกลับมาส่งก๊าซอีกครั้ง หากไม่มีปัญหาขัดข้องทางเทคโนโลยีที่เป็นผลจากการคว่ำบาตรเกิดขึ้น
ท่อก๊าซนอร์ดสตรีม 1 ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงทางพลังงานของยุโรป ท่อก๊าซความยาว 1,222 กิโลเมตร ท่อนี้เป็นช่องทางลำเลียงก๊าซธรรมชาติจากเมืองวึยบอร์ก ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซียที่อยู่ใกล้ฟินแลนด์มายังเยอรมนี โดยเป็นท่อส่งก๊าซที่ถูกสร้างลอดทะเลบอลติก
สามารถส่งก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียมาเยอรมนีได้สูงสุดถึงวันละ 170 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีบริษัทนอร์ดสตรีม เอจี ที่ก๊าซพรอมถือหุ้นใหญ่เป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครน และทำให้สหภาพยุโรปใช้มาตรการคว่ำบาตรตอบโต้ การส่งก๊าซธรรมชาติผ่านท่อนอร์ดสตรีม 1 ก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
เมื่อช่วงกลางเดือนมิถุนายน ก๊าซพรอมตัดการส่งก๊าซผ่านท่อนอร์ดสตรีม 1 ลง 75% จากวันละ 170 ล้านลูกบาศก์เมตรเหลือแค่ราว 40 ล้านลูกบาศก์เมตร
และเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ก๊าซพรอมก็หยุดการส่งก๊าซผ่านท่อนอร์ดสตรีม 1 เป็นเวลา 10 วัน เพื่อซ่อมบำรุง และเมื่อกลับมาเปิดใช้งานอีกครั้งก็ลดปริมาณก๊าซที่ส่งลงมาครึ่งหนึ่ง เหลือเพียง 20 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ความปั่นป่วนด้านพลังงานที่เกิดขึ้น ทำให้ราคาส่งก๊าซธรรมชาติสูงกว่าเมื่อช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วกว่า 400%
นอกจากการลดการจ่ายก๊าซและปิดท่อนอร์ดสตรีม 1 เป็นครั้งคราวโดยอ้างว่าเพื่อซ่อมบำรุงแล้ว รัสเซียยังได้ตัดการส่งก๊าซธรรมชาติไปยังบัลแกเรีย เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ และโปแลนด์ลงอย่างสิ้นเชิงด้วย โดยอ้างเหตุผลว่าบริษัทพลังงานของประเทศเหล่านี้ไม่ยอมจ่ายค่าก๊าซเป็นเงินรูเบิล ซึ่งถือเป็นการทำตามที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ได้ประกาศไว้ว่าจะหยุดส่งก๊าซให้ประเทศ “ที่ไม่เป็นมิตร” หากไม่ยอมจ่ายค่าก๊าซเป็นเงินรูเบิล
ส่วนเมื่อวานนี้ ก๊าซพรอมยังประกาศว่าจะระงับการส่งก๊าซทั้งหมดให้กับเอ็นจี (Engie) บริษัทสาธารณูปโภคยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศสตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนเป็นต้นไป เนื่องจากมีความขัดแย้งกันในเรื่องสัญญา โดยระบุว่าก๊าซพรอมได้รับเงินไม่ครบสำหรับค่าจัดส่งก๊าซให้กับเอ็นจีในเดือนกรกฎาคม และจะกลับมาส่งก๊าซให้อีกครั้งเมื่อได้รับเงินทั้งหมด
ด้านเอ็นจีไม่ให้ความเห็นต่อแถลงการณ์ของก๊าซพรอม แต่บอกว่าได้รับการแจ้งตัดส่งก๊าซล่วงหน้าแล้ว และบริษัทได้เตรียมมาตรการเพื่อจัดหาพลังงานให้กับลูกค้าแล้วหากการจัดส่งก๊าซจากก๊าซพรอมขัดข้อง
ทั้งนี้ ยุโรปพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียอย่างหนักทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน โดยก่อนสงครามในยูเครนจะปะทุขึ้น ก๊าซธรรมชาติ 40% ที่ใช้กันในยุโรปมาจากรัสเซีย
แต่หลังรัสเซียเริ่มรุกรานยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อียูก็ประกาศมาตรการคว่ำบาตรลงโทษรัสเซีย รวมถึงจะแบนการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียบางส่วนในปีนี้
แม้จะยังไม่มีแผนแบนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย แต่อียูก็ตั้งเป้าลดความต้องการก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียลง 2 ใน 3 ภายในสิ้นปีนี้
และในขณะที่รัสเซียก็ตัดลดการส่งก๊าซให้กับยุโรปหลายครั้งหลายโอกาสนับตั้งแต่เกิดสงครามในยูเครน เพื่อตอบโต้ที่ถูกคว่ำบาตร ยุโรปยิ่งจำเป็นต้องมองหาทางเลือกอื่น
คำถามสำคัญคือ ท่ามกลางความไม่มั่นคงด้านพลังงานที่เกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ ยุโรปมีแผนอย่างไรที่จะรับมือโดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนสำรองก๊าซธรรมชาติให้เพียงพอสำหรับฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง ซึ่งความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในยุโรปจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และในฤดูหนาวที่ทุกบ้านต้องการฮีตเตอร์ การขาดแคลนก๊าซธรรมชาติที่ช่วยให้เครื่องทำความร้อนทำงานได้ย่อมกลายเป็นวิกฤต
โดยวิธีการที่สหภาพยุโรปใช้เพื่อรับมือวิกฤตพลังงานที่อาจเกิดขึ้น มีทั้งการตัดลดการใช้ก๊าซ หาก๊าซจากแหล่งอื่น ไปจนถึงเพิ่มพลังงานทางเลือกซึ่งเป็นการลดการพึ่งพารัสเซียในระยะยาว
เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีพลังงานของ 27 ประเทศสมาชิกอียู ยกเว้นฮังการี เห็นชอบในข้อเสนอตัดลดการใช้ก๊าซลง 15% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยการใช้ก๊าซช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยนี่เป็นมาตรการโดยสมัครใจและจะดำเนินไปตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีนี้ถึงมีนาคมปีหน้า
แต่เป้าหมายตัดลดการใช้ก๊าซ 15% โดยสมัครใจนี้จะกลายเป็นมาตรการบังคับหากรัสเซียหยุดส่งก๊าซทั้งหมดมายังยุโรป เพื่อตอบสนองข้กตกลงประหยัดพลังงาน ตอนนี้เยอรมนีได้ปิดไฟประดับอนุสาวรีย์และอาคารประวัติศาสตร์หลายแห่ง
ส่วนรัฐบาลสเปนก็สั่งห้ามอาคารสาธารณะและพาณิชย์เปิดเครื่องปรับอากาศอุณหภูมิต่ำกว่า 27 องศาเซลเซียสในช่วงหน้าร้อน และไม่เปิดฮีทเตอร์สูงกว่า 19 องศาเซลเซียสในหน้าหนาว รวมถึงขอให้ร้านค้าต่างๆ ปิดไฟหลัง 4 ทุ่ม โดยมาตรการเหล่านี้จะมีไปจนถึงพฤศจิกายนปีหน้า นอกจากมาตรการประหยัดพลังงาน ผู้นำยุโรปหลายคนก็พยายามหาก๊าซจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่รัสเซีย
เมื่อเดือนที่แล้ว นายกรัฐมนตรีมาริโอ ดรากี ของอิตาลีได้เดินทางไปแอลจีเรียเพื่อทำข้อตกลงเพิ่มการนำเข้าก๊าซ 20%
ส่วนประธานคณะกรรมาธิการยุโรปก็ได้เดินทางไปอาร์เซอร์ไบจาน เพื่อลงนามข้อตกลงเพิ่มการจัดส่งก๊าซผ่านเครือข่าวท่อส่งจากทะเลแคสเปียนมายังยุโรป
อียูยังได้หันไปหาธรรมชาติเหลว หรือ LNG จากสหรัฐฯ และการ์ตาที่จัดส่งมาทางเรือ โดยอียูนำเข้าก๊าซ LNG จากประเทศอื่นๆ มากเป็นประวัติการณ์ เมื่อเดือนเมษายนที่แล้วยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 47.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ทั้งนี้ ข้อมูลจากรอยเตอร์สระบุว่าโดยภาพรวมแล้วตอนนี้สหภาพยุโรปมีก๊าซสำรองอยู่ที่ 80.17% ถือว่าเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าต้องมีสำรอง 80% ภายในวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศในยุโรปเริ่มหนาว
หลายประเทศในยุโรปยังพยายามหันไปหาพลังงานทางเลือกเพื่อลดการพึ่งพารัสเซีย เมื่อวานนี้ 8 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งอยู่รอบทะเลบอลติก ได้แก่ เดนมาร์ก เยอรมนี โปแลนด์ ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย ฟินแลนด์ และสวีเดน ได้เห็นชอบในการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่งเป็น 7 เท่าภายในปี 2030
โดยนายกฯ เดนมาร์กระบุว่า นี่เป็นทั้งการพยายามเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด และลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย
ปัจจุบันทะเลบอลติกมีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่งอยู่ 2.8 กิกะวัตต์
ขณะที่การเพิ่มขีดควาด้านเอ็นจีไม่ให้ความเห็นต่อแถลงการณ์ของก๊าซพรอม แต่บอกว่าได้รับการแจ้งตัดส่งก๊าซล่วงหน้าแล้ว และบริษัทได้เตรียมมาตรการเพื่อจัดหาพลังงานให้กับลูกค้าแล้วหากการจัดส่งก๊าซจากก๊าซพรอมขัดข้อง
ทั้งนี้ ยุโรปพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียอย่างหนักทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน โดยก่อนสงครามในยูเครนจะปะทุขึ้น ก๊าซธรรมชาติ 40% ที่ใช้กันในยุโรปมาจากรัสเซีย
แต่หลังรัสเซียเริ่มรุกรานยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อียูก็ประกาศมาตรการคว่ำบาตรลงโทษรัสเซีย รวมถึงจะแบนการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียบางส่วนในปีนี้
แม้จะยังไม่มีแผนแบนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย แต่อียูก็ตั้งเป้าลดความต้องการก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียลง 2 ใน 3 ภายในสิ้นปีนี้
และในขณะที่รัสเซียก็ตัดลดการส่งก๊าซให้กับยุโรปหลายครั้งหลายโอกาสนับตั้งแต่เกิดสงครามในยูเครน เพื่อตอบโต้ที่ถูกคว่ำบาตร ยุโรปยิ่งจำเป็นต้องมองหาทางเลือกอื่น
คำถามสำคัญคือ ท่ามกลางความไม่มั่นคงด้านพลังงานที่เกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ ยุโรปมีแผนอย่างไรที่จะรับมือโดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนสำรองก๊าซธรรมชาติให้เพียงพอสำหรับฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง ซึ่งความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในยุโรปจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และในฤดูหนาวที่ทุกบ้านต้องการฮีตเตอร์ การขาดแคลนก๊าซธรรมชาติที่ช่วยให้เครื่องทำความร้อนทำงานได้ย่อมกลายเป็นวิกฤต
โดยวิธีการที่สหภาพยุโรปใช้เพื่อรับมือวิกฤตพลังงานที่อาจเกิดขึ้น มีทั้งการตัดลดการใช้ก๊าซ หาก๊าซจากแหล่งอื่น ไปจนถึงเพิ่มพลังงานทางเลือกซึ่งเป็นการลดการพึ่งพารัสเซียในระยะยาว
เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีพลังงานของ 27 ประเทศสมาชิกอียู ยกเว้นฮังการี เห็นชอบในข้อเสนอตัดลดการใช้ก๊าซลง 15% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยการใช้ก๊าซช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยนี่เป็นมาตรการโดยสมัครใจและจะดำเนินไปตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีนี้ถึงมีนาคมปีหน้า
แต่เป้าหมายตัดลดการใช้ก๊าซ 15% โดยสมัครใจนี้จะกลายเป็นมาตรการบังคับหากรัสเซียหยุดส่งก๊าซทั้งหมดมายังยุโรป เพื่อตอบสนองข้กตกลงประหยัดพลังงาน ตอนนี้เยอรมนีได้ปิดไฟประดับอนุสาวรีย์และอาคารประวัติศาสตร์หลายแห่ง
ส่วนรัฐบาลสเปนก็สั่งห้ามอาคารสาธารณะและพาณิชย์เปิดเครื่องปรับอากาศอุณหภูมิต่ำกว่า 27 องศาเซลเซียสในช่วงหน้าร้อน และไม่เปิดฮีทเตอร์สูงกว่า 19 องศาเซลเซียสในหน้าหนาว รวมถึงขอให้ร้านค้าต่างๆ ปิดไฟหลัง 4 ทุ่ม โดยมาตรการเหล่านี้จะมีไปจนถึงพฤศจิกายนปีหน้า นอกจากมาตรการประหยัดพลังงาน ผู้นำยุโรปหลายคนก็พยายามหาก๊าซจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่รัสเซีย
เมื่อเดือนที่แล้ว นายกรัฐมนตรีมาริโอ ดรากี ของอิตาลีได้เดินทางไปแอลจีเรียเพื่อทำข้อตกลงเพิ่มการนำเข้าก๊าซ 20%
ส่วนประธานคณะกรรมาธิการยุโรปก็ได้เดินทางไปอาร์เซอร์ไบจาน เพื่อลงนามข้อตกลงเพิ่มการจัดส่งก๊าซผ่านเครือข่าวท่อส่งจากทะเลแคสเปียนมายังยุโรป
อียูยังได้หันไปหาธรรมชาติเหลว หรือ LNG จากสหรัฐฯ และการ์ตาที่จัดส่งมาทางเรือ โดยอียูนำเข้าก๊าซ LNG จากประเทศอื่นๆ มากเป็นประวัติการณ์ เมื่อเดือนเมษายนที่แล้วยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 47.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ทั้งนี้ ข้อมูลจากรอยเตอร์สระบุว่าโดยภาพรวมแล้วตอนนี้สหภาพยุโรปมีก๊าซสำรองอยู่ที่ 80.17% ถือว่าเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าต้องมีสำรอง 80% ภายในวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศในยุโรปเริ่มหนาว
หลายประเทศในยุโรปยังพยายามหันไปหาพลังงานทางเลือกเพื่อลดการพึ่งพารัสเซีย เมื่อวานนี้ 8 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งอยู่รอบทะเลบอลติก ได้แก่ เดนมาร์ก เยอรมนี โปแลนด์ ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย ฟินแลนด์ และสวีเดน ได้เห็นชอบในการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่งเป็น 7 เท่าภายในปี 2030
โดยนายกฯ เดนมาร์กระบุว่า นี่เป็นทั้งการพยายามเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด และลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย
ปัจจุบันทะเลบอลติกมีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่งอยู่ 2.8 กิกะวัตต์
ขณะที่การเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต 20 เท่า ให้สามารถผลิตได้ 20 กิกะวัตต์ จะได้ไฟฟ้าเพียงพอต่อการใช้งานของประชากร 20 ล้านครัวเรือนมสามารถในการผลิต 20 เท่า ให้สามารถผลิตได้ 20 กิกะวัตต์ จะได้ไฟฟ้าเพียงพอต่อการใช้งานของประชากร 20 ล้านครัวเรือน
Source: PPTV

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"