forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ถอดรหัส'เฟด'กับหน้าที่ธนาคารกลาง

ศุกร์ที่แล้ว ตลาดการเงินโลกใจจดใจจ่ออยู่กับสุนทรพจน์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ในงานสัมมนา Jackson Hole Symposium ประจำปี ว่าจะพูดถึงทิศทางนโยบายการเงินสหรัฐอย่างไร ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง

เพราะเฟดส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะขึ้นดอกเบี้ยต่อไปจนกว่าแรงกดดันเงินเฟ้อจะผ่อนคลาย
แต่ที่สำคัญกว่าคือการย้ำและสร้างเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของเฟดในฐานะธนาคารกลางของประเทศที่ต้องรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ คือดูแลอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำและมีเสถียรภาพ เป็นหน้าที่ที่เฟดต้องทำโดยไม่มีเงื่อนไข เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ นักลงทุนต้องเข้าใจ เพื่อเข้าใจว่าทำไม เฟดต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากและต่อเนื่อง นี่คือประเด็นที่จะเขียนวันนี้
Jackson Hole Symposium เป็นงานสัมมนานโยบายเศรษฐกิจประจำปีที่ธนาคารกลางสหรัฐแห่งแคนซัสซิตีเป็นเจ้าภาพ จัดมาตั้งแต่ปี 2525 เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างผู้ทำนโยบายการเงินคือธนาคารกลาง ผู้บริหารกระทรวงการคลัง นักวิชาการ และนักการเงินจากทั่วโลก เป็นโอกาสที่จะได้ฟังความเห็น และแนวคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจและนโยบายการเงินโดยเฉพาะจากผู้ว่าการธนาคารกลางประเทศสำคัญ ทำให้ตลาดการเงินให้ความสำคัญกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในงานสัมมนานี้
โดยเฉพาะสุนทรพจน์ของประธานเฟด ซึ่งปีนี้ก็ไม่ผิดหวัง เพราะนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟด พูดสั้นแต่ชัดเจนและตรงไปตรงมา เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐว่า
เป้าหมายของคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐ คือดูแลอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำกว่าระดับ 2% เพราะเสถียรภาพราคาสำคัญมากต่อเศรษฐกิจ เพราะถ้าประเทศไม่มีเสถียรภาพราคา คือไม่มีอัตราเงินเฟ้อ ที่ต่ำ ประเทศก็จะไม่มีเศรษฐกิจ หมายถึง เศรษฐกิจของประเทศก็จะเติบโตไม่ได้ เฟดจึงให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพราคา และจะทำหน้าที่นี้อย่างไม่มีเงื่อนไข
ย้ำว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ ต้องทำเพื่อลดแรงกดดันของเงินเฟ้อแม้จะมีผลต่อเศรษฐกิจ มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลัง ชะลอแต่พื้นฐานเศรษฐกิจของสหรัฐมีโมเมนตัมที่เข้มแข็ง และเตือนว่าการลดเงินเฟ้อจะใช้เวลา ทำให้ความเจ็บปวดทั้งต่อ เศรษฐกิจและการจ้างงานจะมีต่อไปอีก ระยะหนึ่ง แต่ถ้าไม่ทำ คือไม่ขึ้นดอกเบี้ย อัตรา เงินเฟ้อในประเทศก็จะสูงต่อเนื่อง และความเจ็บปวดต่อเศรษฐกิจจะมีมากกว่า
ที่สำคัญย้ำว่าเฟดจะทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพราคาอย่างไม่มีเงื่อนไข แม้สาเหตุเงินเฟ้อจะมาจากด้านอุปทานที่ทำให้อุปสงค์และอุปทานในประเทศขาดความสมดุล การลดอัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าเป็นงานตามหน้าที่ที่เฟดต้องทำ โดยเฟดมีอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือ และจะทำหน้าที่ต่อไปจนกว่างานจะจบ คือบรรลุผล
ชัดเจนจากคำแถลงว่า ธนาคารกลาง สหรัฐจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนกว่า แรงกดดันเงินเฟ้อจะลดลง จะมากหรือน้อย ในแต่ละครั้งและจะปรับขึ้นอีกนานเท่าไรคงขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจและตัวเลขเงินเฟ้อที่จะออกมา เป็นการส่งสัญญาณที่ตรงไปตรงมา และตลาดหุ้นสหรัฐปรับ ลดลงทันทีหลังประธานเฟดกล่าวจบ เพราะนักลงทุนห่วงผลระยะสั้นที่อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะมีต่อเศรษฐกิจและราคาสินทรัพย์ ซึ่งตั้งแต่เดือน มี.ค.ปีนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐได้ปรับขึ้นไปแล้ว 2.25% และคงจะปรับขึ้นอีก ทำให้อัตราดอกเบี้ยสหรัฐจะอยู่ในระดับสูงอย่างน้อยจนถึงปลายปีหน้า ซึ่งจะมีผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์และราคาสินทรัพย์ทั่วโลก
อีกประเด็นที่ประธานเฟดพูดและน่าสนใจคือ บทเรียนทางนโยบายที่ได้จากการแก้ปัญหาเงินเฟ้อในอดีตที่เฟดใช้เป็นไกด์หรือเป็นข้อมูลประกอบการทำนโยบาย ซึ่งบทเรียนเหล่านี้เป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ทำนโยบายปัจจุบันในทุกธนาคารกลาง ที่ควรรับรู้ในแก้ปัญหาเงินเฟ้อ
1.ในอดีตการขึ้นดอกเบี้ยในภาวะที่อัตราเงินเฟ้อสูงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมาก เพราะห่วงผลที่จะมีต่อเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันการถกเถียงไม่มีแล้ว มีข้อยุติแล้วจาก ประสบการณ์ในอดีตว่านโยบายการเงินต้องให้ ความสำคัญสูงสุดกับการรักษาเสถียรภาพราคา คือ ดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในเกณฑ์ต่ำ และอัตราดอกเบี้ยจำเป็นต้องปรับสูงขึ้นเพื่อแก้เงินเฟ้อแม้จะมีผลต่อเศรษฐกิจ เพราะถ้าเงินเฟ้อแก้ไม่ได้ ก็จะไม่มีเศรษฐกิจอย่างที่กล่าว
2.ในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดเงินเฟ้อ การลดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือหยุด การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไปจะไม่สามารถแก้เงินเฟ้อได้ เงินเฟ้อจะกลับมาใหม่ ดังนั้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยต้องทำต่อเนื่องจนกว่างานจะเสร็จ คืออัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างชัดเจน
3.ต้องให้ความสำคัญกับอัตราเงินเฟ้อ ที่ประชาชนคาดหวังหรือคาดการณ์ เพราะถ้า ประชาชนคาดว่าเงินเฟ้อจะสูง พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชนและผู้ประกอบการ ก็จะไปทางนั้น คือทุกคนจะปรับราคาขึ้นรวมถึงผู้ใช้แรงงานที่จะเรียกร้องอัตราค่าจ้าง ที่สูงขึ้น เกิดวงจรเงินเฟ้อขับเคลื่อนเงินเฟ้อ ทำให้เงินเฟ้อจะยิ่งสูงและแก้ยาก การแก้จึงต้องเน้นการตัดวงจรนี้ โดยการแก้ปัญหาที่เร็วและ ทำอย่างเข้มแข็งเพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าเงินเฟ้อจะไม่สูงขึ้นและจะไม่เป็นปัญหา
ทั้งสามบทเรียนนี้สำคัญต่อการแก้เงินเฟ้อ และสำหรับบ้านเราก็เช่นกัน เพราะชี้ว่าการแก้เงินเฟ้อที่ช้าและไม่หนักแน่น หรือชะลอการขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยลงเร็วเกินไป จะทำให้การแก้เงินเฟ้อไม่สัมฤทธิผล เงินเฟ้อจะสูงต่อเนื่องและความเจ็บปวดต่อเศรษฐกิจจะยิ่งมีมาก เป็นเรื่องที่ผู้ทำนโยบายที่ตัดสินใจ เรื่องการขึ้นดอกเบี้ยจะต้องรับรู้และเข้าใจเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด
คอลัมน์ เศรษฐศาสตร์บัณฑิต: บัณฑิต นิจถาวร
ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"