forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

‘เซมิคอนดักเตอร์’ สำคัญกับสหรัฐฯ แค่ไหน? ทำไมเพโลซีต้องไปพบประธาน TSMC ขณะเยือนไต้หวัน

แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้พบกับ มาร์ก หลิว ประธานบริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Co. หรือ TSMC ระหว่างการเดินทางเยือนไต้หวัน เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อกฎหมายชิปและวิทยาศาสตร์ (CHIPS and Science Act)

ที่สหรัฐฯ เพิ่งผ่านการอนุมัติในสภาคองเกรสเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวบัญญัติให้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ จัดหางบประมาณอุดหนุนวงเงิน 5.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ให้แก่บริษัทชิปหรือเซมิคอนดักเตอร์ที่ลงทุนในสหรัฐฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสามารถในการผลิตชิปของประเทศขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ CHIPS Act ยังจำกัดการลงทุนในประเทศจีนสำหรับบริษัทที่ได้รับเงินอุดหนุนจากสหรัฐฯ ด้วย
ทำไมเพโลซีต้องพบซีอีโอ TSMC?
TSMC ถือว่ามีความสำคัญด้านความมั่นคงของบริษัทเทคโนโลยีสหรัฐฯ รายใหญ่หลายแห่ง ซึ่งรวมถึง Apple, Google, Qualcomm และ Nvidia เนื่องจากเป็นผู้ผลิตชิปตามสัญญาของบริษัทเหล่านี้
โดยก่อนหน้านี้สหรัฐฯ เคยแสดงท่าทีกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงในการจัดหาชิป และความเป็นไปได้ที่อาจเกิดความขัดแย้งทางการเมืองในเอเชีย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก จึงเห็นได้ว่าเพโลซีและคณะผู้แทนได้เดินทางต่อไปยังเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเอเชียทันทีหลังเดินทางออกจากไต้หวัน
อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์สำคัญอย่างไร?
เซมิคอนดักเตอร์ถือเป็นสมองของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเป็นสมรภูมิสำคัญระหว่างวอชิงตันและปักกิ่ง ในการต่อสู้เพื่อตำแหน่งมหาอำนาจทางเทคโนโลยี
อย่างไรก็ตาม นักพัฒนาจำนวนมากในสหรัฐอเมริกากำลังพึ่งพาเทคโนโลยีการผลิตชิปขั้นสูงในเอเชีย โดยเฉพาะเทคโนโลยีของ TSMC ไม่ว่าจะเป็นโปรเซสเซอร์สมาร์ทโฟน เซิร์ฟเวอร์ศูนย์ข้อมูล หรือซูเปอร์คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้เครื่องบินรบ F-35 ของอเมริกา ยังใช้ชิปของ TSMC ด้วย
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในสหรัฐฯ TSMC กำลังสร้างโรงงานชิปมูลค่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในรัฐแอริโซนา ซึ่งถือเป็นโรงงานผลิตขั้นสูงแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในสหรัฐฯ ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
จุดนี้ทำให้ผู้กำหนดนโยบายและนักการเมืองสหรัฐฯ หลายคนแสดงความกังวลว่าจีนอาจยึด TSMC ในไต้หวัน เพื่อควบคุมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ล้ำหน้าที่สุดในโลก
อย่างไรก็ตาม ประธาน TSMC ยืนยันว่า “ไม่มีใครสามารถควบคุม TSMC ได้โดยใช้กำลัง หากคุณใช้กำลังทหารหรือการบุกรุก คุณจะทำให้โรงงาน TSMC ไม่สามารถทำงานได้ เพราะโรงงานการผลิตมีความซับซ้อน”
เซมิคอนดักเตอร์มีความสำคัญต่อไต้หวันอย่างไร?
ตามรายงานของ TrendForce ระบุว่า ไต้หวันเป็นผู้ผลิตชิปตามสัญญารายใหญ่ที่สุดในโลก โดยครองสัดส่วน 64% ของรายได้จากการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก ขณะที่ TSMC ซึ่งเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดของไต้หวัน และเป็นหนึ่งในบริษัทที่ผลิตชิปล้ำสมัยที่สุดให้แก่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ อย่างเช่น Apple, Qualcomm และ Nvidia ขณะที่เกาหลีใต้คือผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 2 รองจากไต้หวัน
หลังจากความต้องการเซมิคอนดักเตอร์พุ่งสูงขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การส่งออกชิปเซมิคอนดักเตอร์จึงครองสัดส่วนเกือบ 40% ของการส่งออกทั้งหมดของไต้หวัน และครองสัดส่วน 15% ของ GDP ไต้หวัน
ทำไมจีนถึงต้องการเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวัน?
จากมาตรการลงโทษทางการค้าต่างๆ ที่จีนประกาศออกมาล่าสุด จะเห็นได้ว่าจีนไม่ได้แตะต้องหรือสั่งระงับการนำเข้าเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวันเลย สะท้อนว่าจีนพึ่งพาการส่งออกส่วนประกอบสำคัญนี้อย่างมาก
ตามรายงานของ Congressional Research Service เมื่อปี 2020 ระบุว่า 60% ของความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกมาจากจีน โดยมากกว่า 90% ของความต้องการดังกล่าว มาจากการนำเข้าและจากบริษัทต่างประเทศที่มีการผลิตในประเทศจีน แม้จะทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่บริษัทชิปของจีน นำโดย SMIC ก็ยังครองตลาดได้ไม่ถึง 10%
เจมส์ ลี ผู้ช่วยนักวิจัยจาก Academia Sinica ในไต้หวัน ระบุว่า จีนต้องพึ่งพาไต้หวัน เพราะบริษัทออกแบบเซมิคอนดักเตอร์ของจีนมีกำลังการผลิตที่จำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตชิปขั้นสูง แม้ว่าเมื่อเร็วๆ นี้มีรายงานว่า SMIC ได้พัฒนาความสามารถในการผลิตชิปขนาด 7 นาโนเมตร อย่างไรก็ตาม การพัฒนาดังกล่าวยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังตามหลัง TSMC และ Samsung อยู่
ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง เคยกล่าวถึงการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศว่าเป็น “อันตรายที่ซ่อนเร้นที่สุด” ที่จีนกำลังเผชิญ และให้คำมั่นที่จะจัดหาชิปให้เพียงพอ
โดยภายใต้โครงการริเริ่ม ‘Made in China’ ปักกิ่งได้ให้คำมั่นว่าจะทุ่มเงิน 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ระหว่างปี 2020-2025 ในอุตสาหกรรมไฮเทค รวมถึงเซมิคอนดักเตอร์ โดยตามการวิจัยของ TechNode ในปี 2020 เพียงปีเดียว บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ของจีนได้รับเงินลงทุนกว่า 2.27 แสนล้านหยวน นับเป็นการเพิ่มขึ้น 4 เท่าจากปีก่อนหน้า
เจมส์ ลี ยังมองว่า จีนไม่น่าจะใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ขณะที่ยังคงพึ่งพาบริษัทไต้หวันในการผลิต แต่สิ่งนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้หากปักกิ่งสามารถพัฒนากำลังการผลิตให้แข็งแกร่งได้ แต่อาจใช้เวลานานอีกหลายปี
ทำไมไต้หวันถึงกลายเป็นจุดสนใจในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา?
เดล โคปแลนด์ ศาสตราจารย์ด้านกิจการระหว่างประเทศจาก University of Virginia และนักวิจัยอาวุโสของ Miller Center มองว่า แม้ไต้หวันจะเป็นชนวนของความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐฯ มายาวนานหลายทศวรรษ แต่เหตุการณ์ครั้งนี้อาจเกี่ยวข้องกับการประชุมใหญ่ระดับชาติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่กำลังจะมีขึ้น ซึ่ง สีจิ้นผิง คาดว่าจะได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเป็นสมัยที่ 3
ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้นำจีน สีจิ้นผิง พยายามสร้างชื่อเสียงด้านการฟื้นฟูชาติจีนให้แก่ตนเอง และในมุมมองของผู้สังเกตการณ์บางคนมองว่า สีจิ้นผิง จำเป็นต้องยึดไต้หวันกลับคืนมาไม่ช้าก็เร็ว เพื่อรักษาความชอบธรรมในการเป็นผู้นำไว้
นอกจากนี้หลายฝ่ายยังมองว่า การที่ สีจิ้นผิง กดดันและเข้มงวดต่อไต้หวันมากขึ้น เพราะกังวลว่าไต้หวันจะแยกห่วงโซ่ (Decoupling) เซมิคอนดักเตอร์ไฮเทคและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการผลิตออกจากจีน
เดล โคปแลนด์ ระบุอีกว่า ความกังวลดังกล่าวกำลังเพิ่มขึ้น เนื่องจากปักกิ่งรู้สึกว่าวอชิงตันมุ่งมั่นที่จะป้องกันไม่ให้จีนแซงหน้าสหรัฐฯ ในด้านอำนาจทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี
หลายปีที่ผ่านมาจีนพยายามลดการพึ่งพาการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวัน ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการผลิตสินค้าจำนวนมาก ตั้งแต่สมาร์ทโฟนไปจนถึงรถยนต์ไร้คนขับ อย่างไรก็ตาม จีนยังคงพึ่งพาไต้หวันอย่างมากสำหรับชิปไฮเทคเกือบทั้งหมดและชิปพื้นฐานส่วนใหญ่ที่ใช้
ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามอย่างหนักเพื่อโน้มน้าวให้ผู้ผลิตชิปของไต้หวันบางแห่ง รวมถึง TSMC ย้ายฐานการผลิตไปยังสหรัฐฯ และญี่ปุ่น เพื่อลดความเสี่ยงด้านการผลิตหากเกิดความขัดแย้ง
เดล โคปแลนด์ กล่าวอีกว่า เมื่อผู้นำประเทศเริ่มเชื่อว่าอีกฝ่ายกำลังพยายามลดการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศตนเองผ่านข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ ก็จะมีแนวโน้มหันไปใช้ท่าทีทางทหารมากขึ้น โดยจากมุมมองของจีน การตัดสินใจของ TSMC ในการย้ายฐานการผลิตบางส่วนไปยังสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ถือเป็นการตอกย้ำความคิดที่ว่า รัฐบาลวอชิงตันกำลังพยายามอย่างเต็มที่ในการขัดขวางไม่ให้จีนพึ่งพาชิปจากไต้หวัน
ก่อนหน้านี้ความกังวลดังกล่าวปรากฏชัดในเดือนมิถุนายน เมื่อนักเศรษฐศาสตร์ชาวจีนคนสำคัญแย้งว่า หากสหรัฐฯ คว่ำบาตรจีนแบบเดียวกับที่ทำกับรัสเซียในปีนี้ ปักกิ่งควรบุกไต้หวันเพื่อครอบครองโรงงานผลิตชิป
หนทางหลีกเลี่ยงสงคราม
เดล โคปแลนด์ แนะว่า เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ สามารถหลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนรู้สึกว่าเศรษฐกิจตนเสี่ยงจะพังทลายได้ ด้วยการให้ความมั่นใจแก่บรรดาผู้นำจีนว่า จีนจะยังคงได้รับเซมิคอนดักเตอร์จากไต้หวันต่อไป แม้ว่า TSMC จะย้ายฐานการผลิตบางส่วนไปยังสหรัฐฯ ก็ตาม
โดย วาราดา ทองจำนงค์
Source: Standard Wealth

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"