forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

 'เฟด'บีบกนง.ขึ้นดอกเบี้ยแรง

"นักเศรษฐศาสตร์" ชี้เงินเฟ้อสหรัฐพุ่งนิวไฮรอบ 40 ปี กดดันดำเนินนโยบายการเงินของไทย "เคเคพี-ซีไอเอ็มบี"ประเมินหากเฟดขึ้นดอกเบี้ย 1% กดดัน กนง.ขยับเพิ่ม 0.50% "ทีทีบี"คาดเงินบาทอ่อนค่า 38-39 บาทต่อดอลลาร์ แต่ไม่น่ากังวล

เชื่อ กนง.ขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป "บล.ทิสโก้" คาดแบงก์ชาติจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 3 ครั้ง แต่จะเร็วหรือช้าอยู่ที่ตัวเลขเงินเฟ้อ
อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐในเดือนมิ.ย.ทะยานทำสถิติสูงสุดในรอบ 40 ปี ที่อัตรา 9.1% ท่ามกลางสารพัดปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้าทั้งราคาพลังงาน อาหาร และค่าใช้จ่ายด้านต่างๆที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ภาคครัวเรือนอเมริกันแบกรับภาระ มากขึ้น และอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยแรงอีกรอบ เพื่อลดความร้อนแรงของอัตราเงินเฟ้อ
แนวโน้มที่เกิดขึ้นนี้ เพิ่มโอกาสที่จะทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยตัวเลขการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐ (ซีพีไอ) เพิ่มขึ้นถึง 9.1% ถือเป็นการเพิ่มขึ้นรายปีที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2524 สาเหตุหลักเกือบครึ่งหนึ่งมาจากต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นปัญหาที่เฟดจะต้องเร่งหาทางแก้ไข แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่รวดเร็วที่สุดในรอบสามทศวรรษ เพื่อหวังจะควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้ลดลงแล้ว แต่จากตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุด มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในปลายเดือนนี้ ถึง 0.75% เช่นเดียวกับเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง
เฟดขึ้นดอกเบี้ยแรงกดดัน กนง.
นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้า นักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร (KKP) เปิดเผยว่า เป็นไปได้ ที่การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) วันที่ 26-27 ก.ค.2565 ตลาดคาดการณ์ว่ามีโอกาส 70% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 1% เพราะก่อนหน้านี้ นักลงทุนคาดการณ์อยู่แล้วว่าเงินเฟ้อสูง ซึ่งคาดอยู่ที่ระดับ 8.8-8.9% แต่ล่าสุดเงินเฟ้อขึ้นไปถึง 9.1% ซึ่งถือว่ามากกว่าที่ตลาดคาดการณ์
ดังนั้นหากเฟดขึ้นดอกเบี้ย 1% มองว่ากระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินไทยแน่นอน ประเด็นแรกเนื่องจากเป็นประเทศเปิด เมื่อมีความเสี่ยงจากโลกมากขึ้น ไทยย่อมถูก กระทบ ดังนั้นเมื่อเงินเฟ้อโลกยังไม่ถึงจุดสูงสุด (พีค) โอกาสเงินเฟ้อไทยจะสูงต่อเนื่องมีมากขึ้น
โดยเฉพาะหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยิ่งไม่อะไร จะยิ่งทำให้เงินเฟ้อคาดการณ์ยิ่งเพิ่มขึ้นสูง จะเข้าไปอยู่ในใจของคนมากขึ้น เพราะเราอยู่ในโลกของเงินเฟ้อสูง คนจะมองว่าเงินเฟ้อสูงเป็นเรื่องธรรมดา ถัดมา คือ กนง.จะเผชิญแรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยของประเทศทั่วโลกมากขึ้น จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยกว้างมากขึ้น
คาด ส.ค.กนง.ขึ้นดอกเบี้ย0.50%
ทั้งนี้จะยิ่งกระทบจให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า ที่อาจสร้างแรงกดดันให้ประเทศ อื่นๆได้ เช่นที่เราเห็นจากที่ยุโรป และญี่ปุ่น ที่ยังไม่ปรับดอกเบี้ย แต่ล่าสุดเงินอ่อนค่า มากขึ้น ทำให้ประเทศเหล่านี้ถูกกระทบมากขึ้น อีกทั้งเงินบาทยิ่งอ่อนค่ายิ่งเพิ่มแรงหนุนให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
ดังนั้นมองว่า การประชุมกนง.รอบเดือนส.ค.อาจจะมีการขึ้นดอกเบี้ยแรงขึ้นที่ระดับ 0.50% จากระดับที่เคยมอง 0.25% และค่อยเพิ่ม เพียง 0.25% ในการประชุมอีกสองครั้ง ที่เหลือปีนี้
"เรามองว่ากนง.จะขึ้นดอกเบี้ย 0.50% เพราะหากเราทำช้าขึ้น เงินเฟ้ออาจขยายวงไปสู่ ส่วนอื่นที่ไม่ใช่ต้นทุนแล้ว ดังนั้นเหล่านี้ถือเป็น ข้อจำกัดของกนง. ที่ต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย และยิ่งรอนานกนง.จะยิ่งเผชิญกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นไปอีก ดังนั้นสิ้นปีเรามองดอกเบี้ยจะไปที่ระดับ 1.50%"
เฟดใช้ยาแรงขึ้นดอกเบี้ย1%
นายอมรเทพ จาวะลาผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) กล่าวว่า คาดเฟด มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย 1% จากเดิม 0,75% เพื่อแตะเบรก ลดความร้อนแรง เงินเฟ้อสหรัฐที่พุ่งสูงในขณะนี้ ดังนั้นคาดดอกเบี้ยสหรัฐ จะขยับขึ้นเป็น3.75%-4% จากเดิมคาดที่ระดับ 3.5% ในสิ้นปีนี้
ทั้งนี้การที่เฟดขึ้นดอกเบี้ยแรงเช่นนี้ ยังเป็นความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ ภาวะถดถอยเร็วกว่าที่คาดจากเดิมต้นปี 2566 เป็นปลายปีนี้ ซึ่งยังต้องติดตามใกล้ชิด แต่การที่เศรษฐกิจถดถอยยังไม่ใช่วิกฤติ แต่เป็นการชะลอตัวชั่วคราวของภาวะเศรษฐกิจ และสุดท้ายเชื่อว่าจะเห็นเฟดกลับมาลดดอกเบี้ยได้ในปี 2566 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐเมื่อเงินเฟ้อปรับลดลง
สำหรับนดอกเบี้ยของไทย ยังมีความเสี่ยง ของการขึ้นดอกเบี้ยแรงในเดือนส.ค.และ ก.ย.นี้ มองว่า ในการประชุมกนง. นัดวันที่ 10 ส.ค.นี้ อาจมีโอกาสเห็นการขยับขึ้นดอกเบี้ยเป็น 0.50% จากเดิมอย่างน้อยขึ้น 0.25% และอาจจะมีเสียงแตกของการขยับขึ้นดอกเบี้ยระหว่าง 0.25% กับ 0.5% เพื่อสกัดเงินเฟ้อของไทย
กนง.ไม่ต้องประชุมนัดพิเศษ
ส่วนตัวเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะยังไม่จำเป็นต้องมีการประชุมนัดพิเศษในช่วงนี้เพราะใกล้จะถึงการประชุม กนง.วันที่ 10 ส.ค.นี้ น่าจะรอความชัดเจนของเฟดได้ เพราะปัญหาเงินเฟ้อไทยที่พุ่งขึ้นเกิดในฝั่งอุปทาน (Supply) ต่างจากเงินเฟ้อสหรัฐที่เกิดในฝั่งอุปสงค์ (Demand) และพื้นฐาน เศรษฐกิจไทยค่อนข้างต่างกับประเทศอื่น ที่ฟื้นตัวกลับมาเท่าก่อนโควิดแล้วขึ้นดอกเบี้ยได้ เช่น ฟิลิปปินส์ ขึ้นดอกเบี้ย 0.76%
มุมมองระยะสั้นยังเห็นแนวโน้มเงินบาทอ่อนค่าต่อ 37 บาทต่อดอลลาร์ ยังไม่ถึง 40 บาท ต่อดอลลาร์ เพราะตลาดค่อนข้างรับข่าวเฟดขึ้นดอกเบี้ย 1% ไปมากแล้ว การที่เฟดขึ้นดอกเบี้ย 1% ตลาดอาจตีความเป็นเรื่องดี สะท้อนเงินภาพเฟ้อกำลังใกล้จุดสูงสุดและกำลังจะย่อลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ชัดเจนขึ้น
สำหรับมุมมองระยะสั้นยังเห็นแนวโน้มเงินบาทอ่อนค่าต่อไปที่ 37 บาทต่อดอลลาร์ แต่ยังไม่ถึง 40 บาทต่อดอลลาร์ เพราะตลาดค่อนข้างรับข่าวเฟดขึ้นดอกเบี้ย 1% ไปมากแล้ว และการที่เฟดขึ้นดอกเบี้ย 1% ตลาดอาจตีความเป็นเรื่องดี สะท้อนเงินภาพเฟ้อกำลังใกล้ถึงจุดสูงสุดและกำลังจะย่อลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ชัดเจนขึ้น
ระยะสั้นบาทอ่อนแตะ 39บาทต่อดอลล์
นายนริศ สถาผลเดชาหัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ธนาคารทหารไทยธนชาต กล่าวว่า การประชุมเฟดรอบนี้จะขึ้นดอกเบี้ย 1% จากเดิมที่ 0.75% ส่งผลให้ฟันด์โฟลว์ไหลออกอีก แต่ไม่น่าจะมากเพราะการถือครองพันธบัตรไทยและหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติมีสัดส่วนน้อยมาก และสภาพคล่องในประเทศยังเพียงพอ ดังนั้นระยะสั้นคาดเงินบาทอ่อนค่าที่ 38-39 บาท ต่อดอลลาร์
สำหรับขณะนี้ที่เงินบาทดอ่อนค่า เป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน เงินบาท อ่อนค่าราว 8.5% เป็นอันดับ 4 ขณะที่เงินเยน ญี่ปุ่น อ่อนค่าเป็นอันดับ 1 ที่ 17% รองมาเป็น อันดับ 2 เงินวอน เกาหลีใต้ อ่อนค่า 9.4% อันดับ 3 เงินเปโซ ฟิลิปปินส์ อ่อนค่า 9.2% โดยยังไม่ได้น่ากังวลที่ กนง.ต้องประชุมฉุกเฉิน เพราะไม่สามารถออกมาตรการ สวนตลาดได้ ส่วนกรณีเฟดขึ้นดอกเบี้ย 1% จริงมองว่ายังเป็นความเสี่ยงให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยเร็วขึ้นเป็นไตรมาส 4 ปีนี้จากเดิมคาดไว้ต้นปีหน้า
ศก.ไทยโอกาสถดถอยน้อย
ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวแรง ดังนั้นโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยมีน้อยกว่า เพราะหากพิจารณาเงินเฟ้อพื้นฐานของไท ยยังต่ำอยู่ที่ 2.5% เทียบเงินเฟ้อพื้นฐานสหรัฐ สูงถึงระดับ 6% ยกเว้นหากการวิ่งขึ้นของเงินเฟ้อพื้นฐานของไทยที่ระดับ 4-5% ซึ่งจำเป็น ต้องประชุมฉุกเฉิน อย่างไรก็ตามมาตรการที่จะออกมาตอนนี้ อาจต้องดูแลกลุ่มที่ยังมีภาระหนี้สูงเป็นหลักมากกว่า
ดังนั้นไทยจึงไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยแรงตามสหรัฐ โดยเชื่อ กนง.จะขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นครั้งละ 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยสิ้นปีนี้เฉลี่ยที่ 1.0-1.25%
"การขึ้นดอกเบี้ยแก้ปัญหาเงินอ่อนค่าไม่ได้ เช่น เกาหลีใต้ขึ้นดอกเบี้ยแต่ค่าเงิน ยิ่งอ่อนค่ามากกว่าไทย และต้องจับตาการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังมีความหวังกับการฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคยังดี แต่ยังมีความเสี่ยงจากภายนอก ซึ่งต้องรอดูภาพในไตรมาส 3 นี้ชัดเจนก่อน น่าจะเป็นจุดที่เงินเฟ้อไปถึงจุดสูงสุดแล้ว ยังคงมุมมองจีดีพีปีนี้โต 2.8%"
เชื่อฟันด์โฟลว์ไหลออกไม่แรง
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า แม้ว่าตลาดจะมองว่า มีโอกาสที่เฟดจะ เร่งขึ้นดอกเบี้ย 1% กว่า 83% (จาก CME Fedwatch tool) แต่ไม่สามารถฟันธงได้ว่า เฟดจะเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงดังกล่าวได้หรือไม่เนื่องจากต้องติดตามตัวเลขแนวโน้มเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะกลาง ซึ่งตลาดจะรอลุ้น U of Michigan 5-year Inflation expectations ในวันนี้ (15 ก.ค.) ถ้าหากเงินเฟ้อคาดการณ์ "คงที่หรือลดลง" เฟดก็อาจไม่จำเป็นต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยตามที่ตลาดมองได้
ทั้งนี้แม้ว่าส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐกับไทยที่กว้างขึ้นไม่เป็นประเด็นให้เงินทุนไหลออกรุนแรง เพราะตลาดคาดการณ์ แล้ว ที่ผ่านมาเงินทุนไหลออกจากหุ้นไทย ซึ่งซึ่งเป็นไปตามความกังวลเศรษฐกิจถดถอยมากกว่า กังวลส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ดังนั้น ธปท.จึงไม่น่าจำเป็นต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง หรือมีประชุมนอกรอบแต่อย่างใด และมองกรอบเงินบาทระยะสั้น ที่ 37-37,50 บาท ต่อดอลลาร์
ไทยขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการ รองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ และประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (เฟทโก้) กล่าวว่า หากดูเงินเฟ้อของสหรัฐล่าสุด 9.1% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ทำให้การคาดการณ์มีโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.50-0.75% ในการประชุมครั้งหน้าส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ 67% เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ไปถึง 1% เพราะตลาดคาดเงินเฟ้ออาจดื้อยาจึงต้องใส่ยาแรงเพราะยาเบาไปก็ไม่ช่วย
ทั้งนี้ถ้อยแถลงของเฟดในช่วงที่ผ่านมา ที่คาดจะขึ้นดอกเบี้ยไปจบที่ 3.4% สิ้นปีนี้ และปีหน้าที่ 3.8% แต่ปัจจุบันเงินเฟ้อไป แรงกว่าที่คาดที่ 9.1% ดังนั้นตลาดคาดการณ์ว่า ดอกเบี้ยอาจขึ้นไปมากกว่าคาดนี้ได้พอ สมควร
ดังนั้นมองว่าการประชุมครั้งนี้ เฟดจะเผชิญแรงกดดันมากจากเงินเฟ้อ เพราะเงินเฟ้อที่ออกมา ถือว่ามากกว่าคาด อีกทั้งยังขยายตัวต่อเนื่อง หากเทียบกับเดือนก่อนถึง 1.3% และเงินเฟ้อพื้นฐาน ปรับเพิ่มขึ้น ถึง 0.7% ซึ่งสูงสุดในรอบ 12 เดือน สะท้อนว่าแรงกดดันเงินเฟ้อยังมีต่อเนื่อง และยังมีต่อไป
ขณะที่การดำเนินนโยบายการเงินของไทย มองว่า กนง.จะค่อยๆปรับดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น เพราะวัฏจักรเศรษฐกิจไทย และสหรัฐต่างกันสิ้นเชิง อีกทั้งเศรษฐกิจไทยพึ่งฟื้นตัว ดังนั้นจะเห็นการขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปครั้งละ 0.25% ในช่วง 3 ครั้งที่เหลือทำให้ปลายปีดอกเบี้ยนโยบายการเงินจะอยู่ที่ 1.25%
'ทิสโก้'คาดเงินเฟ้อตัวชี้ขึ้นดอกเบี้ยช้า-เร็ว
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐที่รายงานออกมาพุ่งขึ้นมาที่ระดับ 9.1% สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 8.8% และเป็นตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบ 40 ปี ส่งผลสร้างความกังวลต่อนักลงทุนที่ยังคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเร่งขึ้น อัตราดอกเบี้ยต่อไป และมองว่าตัวเลขเงินเฟ้อทั่วโลกน่าจะใกล้จุดพีคแล้ว
ส่วนอัตราดอกเบี้ยของไทยตอนนี้กำลังเริ่มประเมินกันว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากการประชุมของ กนง.ที่เหลือ 3 ครั้งในช่วงที่เหลือ ปีนี้ แต่ทุกอย่างขึ้นอยู่ที่เงินเฟ้อของไทยจะสูงแค่ไหน ซึ่งหากสูงมากอาจนัดประชุมเร็วขึ้น แต่มองว่าไม่ได้มีสาระสำคัญมาก เพราะว่าไทยได้ตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวที่หายไปเริ่มฟื้นตัวเข้ามาช่วยได้มาก
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"