forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

BOJ ถือครองพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นถึง 50% สูงสุดเป็นประวัติการณ์

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 ว่า พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (Japanese government bonds : JGB) ที่ถือโดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เพิ่มขึ้นถึง 50% ซึ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์

เนื่องจากธนาคารกลางได้เร่งดำเนินการซื้อหนี้รัฐบาลเพื่อคงอัตราดอกเบี้ยระยะยาว
โดย BOJ กำลังซื้อ JGB ส่วนใหญ่ในตลาด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติที่ก่อให้เกิดการบิดเบือนในตลาดตราสารหนี้ โดยที่อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรระยะสั้นบางประเภทนั้นสูงกว่าสำหรับพันธบัตรระยะยาว หรือที่เรียกว่าเส้นอัตราผลตอบแทนกลับหัว (Inverted Yield Curve) การซื้อ JGB จำนวนมากของ BOJ ได้เร่งการอ่อนค่าของเงินเยนในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ผู้เฝ้าดูตลาดกล่าวว่าผลข้างเคียงของการผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องของ BOJ นั้นไม่อาจละเลยได้อีกต่อไป
ธนาคารกลางได้ซื้อ JGB โดยไม่มีข้อจำกัดที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการรักษาอัตราดอกเบี้ยระยะยาวไว้ที่ประมาณ 0.25% ด้วยอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐและยุโรป ซึ่งสร้างแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาวในญี่ปุ่น BOJ จึงถูกบังคับให้ซื้อ JGB จำนวนมาก
BOJ ได้ซื้อ JGB มูลค่า 14.8 ล้านล้านเยน หรือราว 1.10 แสนล้านดอลลาร์ ในเดือนมิถุนายน เกิน 11.1 ล้านล้านเยนที่ซื้อในเดือนพฤศจิกายน 2545 ซึ่งเป็นยอดรวมรายเดือนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ตามฐานข้อมูล QUICK มูลค่าคงค้างของ JGB ระยะยาว ณ วันที่ 20 มิถุนายน มีจำนวนทั้งสิ้น 1,021.1 ล้านล้านเยน ซึ่ง BOJ ถือครอง 514.9 ล้านล้านเยนตามมูลค่าที่ตราไว้ ซึ่งนับเป็น 50.4% ของยอดคงค้างทั้งหมด เพิ่มขึ้นจาก 50.0% ในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม 2564
การถือครอง JGB ของธนาคารกลางอยู่ในช่วง 10% เมื่อ Haruhiko Kuroda เริ่มโครงการผ่อนคลายทางการเงินครั้งใหญ่ในปี 2556 การถือครองของธนาคารกลางยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องเนื่องจากนโยบายที่เข้มงวดยังคงดำเนินต่อไป
ทั้งนี้ตามการประมาณการโดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจแห่งประเทศญี่ปุ่น BOJ จะต้องเพิ่มการถือครอง JGB 120 ล้านล้านเยน จากระดับปัจจุบันที่มากกว่า 500 ล้านล้านเยนเพื่อรักษาอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ 0.25% การถือครอง JGB ของธนาคารกลางเป็นไปอย่างรวดเร็ว ใกล้เข้ามาแล้วและคาดว่าจะเกิน 60% ของทั้งหมด
Source: การเงินธนาคาร

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"