forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

update: ขุนคลังอังกฤษยัน BoE มุ่งมั่นสกัดเงินเฟ้อ หลัง CPI พุ่งนิวไฮ 40 ปี

นายริชิ ซูแนค รัฐมนตรีคลังอังกฤษ กล่าวว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะดำเนินการอย่างเต็มที่ในการสกัดเงินเฟ้อ หลังจากมีการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อในอังกฤษพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี นายซูแนคกล่าวเสริมว่า รัฐบาลมีความรับผิดชอบในการก่อหนี้

และจะดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 9.1% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี
ทางด้าน BoE มีมติ 6-3 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.25% ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี และเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่เดือนธ.ค.2564 เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ
คณะกรรมการนโยบายการเงินของ BoE จำนวน 6 รายเห็นชอบต่อมติดังกล่าว ขณะที่อีก 3 รายลงมติให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 1.50%
โดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ

*******
เงินเฟ้ออังกฤษพุ่งทะลุ 9% สูงสุดในรอบ 40 ปี อาหาร-พลังงานสูงขึ้นต่อเนื่อง ตอกย้ำวิกฤติค่าครองชีพทวีความรุนแรง : สำนักข่าว CNBC รายงานเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 ว่า อัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรพุ่งแตะ 9.1% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้วิกฤตค่าครองชีพของประเทศยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น
โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่เพิ่มขึ้น 9.1% เป็นไปตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในการสำรวจของรอยเตอร์ และเพิ่มขึ้นราว 9% ที่บันทึกไว้ในเดือนเมษายนเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นการไต่ระดับสูงสุดประจำปีนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกในปี 1989 และดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนพฤษภาคม ซึ่งสูงกว่า ที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อยว่าจะเพิ่มขึ้น 0.6% แต่ยังไม่ถึงระดับ 2.5% ต่อเดือนในเดือนเมษายน ซึ่งบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวบ้าง
ขณะที่สำนักงานสถิติแห่งชาติของสหราชอาณาจักรกล่าวว่า การประมาณการดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะสูงขึ้นในช่วงประมาณปี 1982 โดยที่การประมาณการอยู่ในช่วงตั้งแต่เกือบ 11% ในเดือนมกราคมลงไปที่ประมาณ 6.5% ในเดือนธันวาคม
ทั้งนี้สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดของอัตราเงินเฟ้อมาจากบริการที่อยู่อาศัยและในครัวเรือน โดยหลักแล้ว ไฟฟ้า ก๊าซ และเชื้อเพลิงอื่นๆ ควบคู่ไปกับการขนส่ง ส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิงยานยนต์และรถยนต์มือสอง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ธนาคารกลางอังกฤษได้ดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกัน แม้ว่าจะหยุดยั้งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในสหรัฐและสวิตเซอร์แลนด์ก็ตาม เนื่องจากดูเหมือนว่าจะควบคุมอัตราเงินเฟ้อโดยไม่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงในปัจจุบัน ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของธนาคารหลักอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 13 ปีที่ 1.25% และธนาคารคาดว่าอัตราเงินเฟ้อ CPI จะเกิน 11% ในเดือนตุลาคม
หน่วยงานควบคุมพลังงานของสหราชอาณาจักรได้เพิ่มขีดจำกัดราคาพลังงานในครัวเรือนขึ้น 54% จากวันที่ 1 เมษายน 2565 เพื่อรองรับราคาพลังงานขายส่งที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งรวมถึงราคาก๊าซที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และไม่ได้ตัดการเพิ่มขึ้นถึงขีดสูงสุดเมื่อทบทวนเป็นระยะในปีนี้
ขณะเดียวกันการสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า 1 ใน 4 ของชาวอังกฤษใช้วิธีงดอาหาร เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและวิกฤตการณ์อาหาร ในสิ่งที่แอนดรูว์ เบลีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ ได้ขนานนามว่าแนวโน้ม ”apocalyptic” สำหรับผู้บริโภค
นอกจากผลกระทบจากภายนอกที่เศรษฐกิจโลกเผชิญ เช่น ราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นท่ามกลางสงครามในยูเครนและปัญหาห่วงโซ่อุปทานอันเนื่องมาจากปัญหาคอขวดของการระบาดใหญ่ของ Covid-19 สหราชอาณาจักรก็กำลังนำแรงกดดันภายในประเทศ เช่น การคลี่คลายของรัฐบาล การสนับสนุนทางการเงินในยุคการระบาดใหญ่ครั้งประวัติศาสตร์ และผลกระทบของ Brexit
Source: การเงินธนาคารออนไลน์

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"