forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

IMF เพิ่มน้ำหนักถือครองเงินหยวนในตะกร้าสกุลเงิน SDR ยกสถานะค่าเงินจีนในเวทีโลก

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มน้ำหนักการถือครองเงินหยวนและดอลลาร์สหรัฐในตะกร้าสกุลเงิน SDR (Special Drawing Right) ของ IMF โดยได้ปรับเพิ่มน้ำหนักสกุลเงินดอลลาร์ขึ้นสู่ระดับ 43.38% จากระดับ 41.73%

และเพิ่มน้ำหนักเงินหยวนสู่ระดับ 12.28% จากระดับ 10.92%
อย่างไรก็ดี IMF ได้ปรับลดน้ำหนักการถือครองสกุลเงินยูโรลงสู่ระดับ 29.31% จากระดับ 30.93%, ปรับลดน้ำหนักเงินเยนลงสู่ระดับ 7.59% จากระดับ 8.33% และปรับลดน้ำหนักเงินปอนด์ลงสู่ระดับ 7.44% จากระดับ 8.09%
คณะกรรมการบริหารของ IMF ระบุในแถลงการณ์ว่า การทบทวนน้ำหนักการถือครองสกุลเงินต่าง ๆ ในตะกร้าสกุลเงิน SDR ของ IMF นั้น พิจารณาจากความคืบหน้าด้านการค้าและตลาดเงินตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปี 2564 นอกจากนี้ คณะกรรมการ IMF ยังเชื่อมั่นว่า นับจนถึงขณะนี้ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการเติบโตของเทคโนโลยีด้านการเงิน (ฟินเทค) ไม่ได้รับผลกระทบรุนแรงต่อตะกร้าสกุลเงิน SDR
ทั้งนี้ IMF ได้ปรับเพิ่มน้ำหนักเงินหยวนเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่คณะกรรมการบริหารของ IMF มีมติอนุมัติให้นำสกุลเงินหยวนเข้ารวมในตะกร้าสกุลเงิน SDR โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 2559 ซึ่งส่งผลให้เงินหยวนได้รับการปรับยกสถานะในเวทีการเงินโลก เทียบเท่ากับดอลลาร์สหรัฐ ปอนด์ ยูโร และเยนซึ่งที่ได้รับอนุมัติให้รวมไว้ในตะกร้า SDR ก่อนหน้านั้น
สำหรับ SDR หรือสิทธิพิเศษในการถอนเงินนั้น คือสินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่เหมือนเงินทุนสำรองที่ IMF กำหนดขึ้นในปี 2512 เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถถือครองสกุลเงินนี้แทนทุนสำรองประเภทอื่นเช่น ทองคำ โดย SDR มีความสำคัญในแง่ของการเพิ่มสภาพคล่องให้กับเศรษฐกิจโลก เนื่องจากสินทรัพย์ SDR สามารถใช้แลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลอื่นได้ โดยการขายสินทรัพย์ SDR ของตนให้กับประเทศสมาชิก หรือให้กับประเทศที่มีความเปราะบางทางเศรษฐกิจต่อปัจจัยภายนอกเพื่อเพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศ และทำให้ประเทศดังกล่าวมีความเข้มแข็งต่อปัจจัยภายนอกมากขึ้น
Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"