‘IMF’ มองโควิด-สงครามยูเครน ก่อให้เกิดการใช้คริปโทอย่างไม่เหมาะสม เน้นย้ำความเสี่ยงของ DeFi ต่อระบบการเงิน แนะหน่วยงานต่างๆ เร่งเพิ่มมาตรการกำกับดูแลอุตสาหกรรม
จากเอกสารที่เผยแพร่ในวันอังคารที่ผ่านมาโดย International Monetary Fund หรือ ‘IMF’
ได้มีการรายงานในเรื่องของความมั่นคงทางระบบการเงินโลก ที่ชี้ไปถึงสงครามรัสเซีย-ยูเครน, การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม FinTech และการใช้ ‘คริปโทเคอร์เรนซี’ ในช่องทางที่ไม่เหมาะสม
โดยรายงานระบุว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสและสงครามทำให้เกิด ‘Cryptoization’ หรือการเปลี่ยนแปลงมาสู่ความเป็นคริปโทมากขึ้นในตลาดที่เกิดใหม่ รวมไปถึงการใช้คริปโทเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกคว่ำบาตรของบางประเทศ
อย่างไรก็ตามในรายงานก็ระบุว่าการใช้คริปโทเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกคว่ำบาตรนั้นอาจไม่สามารถทำได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย อย่างเช่นการใช้แพลตฟอร์มประเภท Mixer, Decentralized exchange หรือเหรียญประเภท Privacy coin เนื่องจากสภาพคล่องนั้นมีไม่มากเพียงพอสำหรับการใช้งานในสเกลที่ใหญ่ระดับประเทศ
ซึ่งปัญหาโดยประเทศที่ถูกคว่ำบาตรนั้นอาจจะอยู่ที่การใช้พลังงานส่วนเกินมาขุดคริปโทเคอร์เรนซี ถึงแม้ว่ากระแสเงินจากการขุดคริปโทเคอร์เรนซีโดยประเทศที่ถูกคว่ำบาตรนั้นส่วนมากจะถูกควบคุมไว้จากนานาประเทศก็ตาม
รวมไปถึงยังพบว่าประเทศที่แนวโน้มจะถูกคว่ำบาตรในอนาคต มักจะมีการเก็บสะสมคริปโทเคอร์เรนซีเป็นสินทรัพย์สำรองมากขึ้น และมีความต้องการที่จะสะสมเงินตราต่างๆ ลดลง สืบเนื่องมาจากการควบคุมคริปโทเคอร์เรนซีของนานาประเทศที่สามารถทำได้ยากกว่า
จากปัญหาทั้งหมดข้างต้น รายงานก็ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการออกกฎหมายควบคุมคริปโทเคอร์เรนซีเพื่อให้หน่วยงานที่มีอำนาจสามารถควบคุมกระแสเงินในอุตสาหกรรมคริปโทได้มากขึ้น รวมไปถึงยังมองว่าการพัฒนาระบบการชำระเงิน ‘ที่ไม่ใช่ Blockchain’ นั้นจะสามารถช่วยควบคุมอุตสาหกรรมคริปโทได้อีกทาง
นอกจากนี้ยังระบุว่ามาตรการกำกับดูแลยังไม่สามารถตามทันการเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีการเงินได้ อย่างการที่ DeFi นั้นกำลังเข้ามารวมกับระบบการเงินแบบดั้งเดิมมากขึ้น จากการนำใช้ของสถาบันการเงินต่างๆ
ซึ่งรายงานมองว่า DeFi นั้นไร้ซึ่งการควบคุม และจะก่อให้เกิดความไม่มั่นคงให้กับระบบการเงิน, สร้างความไม่มั่นคงในเรื่องของกฎหมาย และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสภาพคล่องและการโจมตีทางไซเบอร์
แต่อย่างไรก็ตามรายงานก็ยังมองว่าอุตสาหกรรมคริปโทนั้นก็ยังมีประโยชน์อยู่ จากความมีประสิทธิภาพที่สูง และเรื่องของการลดช่วงว่างทางการเงิน (Financial inclusion) ในระบบ
สุดท้ายแล้ว IMF ก็แนะนำให้หน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ มุ่งเน้นไปยังระบบนิเวศน์ของคริปโทมากขึ้นโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ DeFi อย่างเช่นผู้ออกเหรียญ Stablecoin และ Centralized exchanges รวมไปถึงยังสนับสนุนให้ออกมาตรการกำกับดูแล ที่แยกออกออกมาสำหรับอุตสาหกรรมคริปโทโดยเฉพาะ
Source: สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you