forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

หนี้สาธารณะทั่วโลกมีแนวโน้มพุ่ง 9.5% แตะระดับนิวไฮในปีนี้

จานัส เฮนเดอร์สัน (Janus Henderson) ซึ่งเป็นบริษัทจัดการสินทรัพย์รายใหญ่ของอังกฤษเปิดเผยรายงานล่าสุดว่า หนี้สาธารณะ (Sovereign Debt) ของรัฐบาลทั่วโลกมีแนวโน้มพุ่งขึ้น 9.5% แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 71.6 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2565

และคาดว่าการกู้ยืมรอบใหม่ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก
รายงาน "ดัชนีหนี้สาธารณะ" (Sovereign Debt Index) ซึ่งจานัส เฮนเดอร์สันเปิดเผยเมื่อวานนี้ (6 เม.ย.) ระบุว่า หนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐ, ญี่ปุ่น และจีน เป็นสาเหตุสำคัญที่ผลักดันให้ตัวเลขหนี้สาธารณะทั่วโลกพุ่งขึ้น 9.5% ในปีนี้ พร้อมกับคาดว่าประเทศส่วนใหญ่ยังคงมีการกู้ยืมเพิ่มขึ้น
ในปี 2564 หนี้สาธารณะทั่วโลกเพิ่มขึ้น 7.8% แตะที่ 65.4 ล้านล้านดอลลาร์ เนื่องจากรัฐบาลของทุกประเทศพากันออกพันธบัตรเพื่อระดมเงินทุนเพิ่ม ขณะที่ต้นทุนการชำระหนี้ (Debt Service Cost) ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.01 ล้านล้านดอลลาร์ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ผู้กู้เงินต้องจ่ายจริง (Effective Interest Rate) อยู่ที่ระดับเพียง 1.6%
อย่างไรก็ดี ต้นทุนจากภาระหนี้สินจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2565 โดยคาดว่าจะพุ่งขึ้นราว 14.5% แตะระดับ 1.16 ล้านล้านดอลลาร์
สหราชอาณาจักรมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น และการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของหนี้สิน ประกอบกับค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
"การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการกู้ยืมของรัฐบาล และคาดว่าจะมีผลกระทบตามมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ สงครามในยูเครนก็มีแนวโน้มที่จะสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลของชาติตะวันตกให้ต้องกู้ยืมเงินเพิ่ม เพื่อระดมทุนเป็นค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศ" เบธานี เพน ผู้จัดการฝ่ายพันธบัตรโลกของจานัส เฮนเดอร์สันกล่าว
Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/กัลยาณี

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"