forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เศรษฐกิจไทยสู่จุดเริ่มต้น “Stagflation” เหตุราคาน้ำมันแพงลากยาว 6 เดือน

ธนาคารกรุงไทย เปิด 3 สมมติฐาน ไทยเข้าสู่ “Stagflation” ชี้เป็นจุดความเสี่ยงเริ่มต้น หากราคาน้ำมันพุ่งขึ้นเกิน 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลากยาว 6 เดือน ถึงไตรมาส 3 กระทบภาคการผลิตหยุดกิจกรรม แบกต้นทุนไม่ไหว-ราคาสินค้าแพง

ฉุดการใช้จ่าย-การบริโภค จีดีพีเหลือโตต่ำกว่า 3%
วันที่ 8 มีนาคม 2565 ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า นิยามคำว่า “Stagflation” มาจาก 2 คำ คือ “Stagnation” คือ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หรือไม่ขยายตัว และคำว่า “Inflation” ระดับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งโดยปกติ “Stagflation” จะเกิดขึ้นในภาวะเศรษฐกิจข้าวยากหมากแพง เช่น การเจอภัยธรรมชาติพืชผลมีราคาแพงขึ้น และมีความเสียหายต่อภาคการผลิต
ทั้งนี้ หากดูประเทศไทย ในภาวะปัจจุบันมีความใกล้เคียง หรือ คล้ายคลึงกับคำว่า “Stagflation” แม้ว่าไม่ได้เกิดจากความเสียหายภาคการผลิต แต่เกิดจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งไม่ได้เป็นการขาดแคลนพลังงานจนกระทบภาคการผลิต
แต่มีความกังวลว่าราคาพลังงานจะปรับตัวสูงขึ้นหรือแพงขึ้นเป็นเวลานาน จนกระทบ ภาคการผลิต ทำให้ภาคการผลิตแบกรับต้นทุนไม่ไหว และหยุดการผลิต และเมื่อคนผลิตน้อย รายได้คนน้อยลง และราคาสินค้าแพง ส่งผลให้คนประหยัด และหยุดการใช้จ่ายหรือใช้จ่ายน้อยลง ซึ่งกระทบต่อภาคการบริโภคที่จะมีผลต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ และปัญหาจะวนอยู่อย่างนี้แก้ไขยาก
“ไตรมาสที่ 1-3 อัตราเงินเฟ้อน่าจะเกิน 3% แต่เราคงไม่ถึงขนาดสหรัฐ ที่ไประดับ 6-8% เพราะเศรษฐกิจเราเพิ่งจะฟื้นตัว แต่แม้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 3% ถือว่าค่อนข้างเยอะ แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าไตรมาส 4 เงินเฟ้อจะลดลงต่ำกว่า 3% แต่เราไม่รู้ว่าความขัดแย้งไม่รู้จะจบเมื่อไร และหากราคาน้ำมันสูงกว่า 100-120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลไปเรื่อยๆ ทำให้ภาคการผลิตต้องมาทบทวนแผนกันใหม่”
ดร.พชรพจน์ กล่าวว่า หากถามว่าไทยจะเข้าสู่ “Stagflation” 100% หรือยัง มองว่า ยังไม่เห็น แต่เป็นจุดความเสี่ยงเริ่มต้น เนื่องจากราคาพลังงานหรือราคาน้ำมันที่เกินระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล กินเวลาไม่ถึง 1 เดือน จึงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามว่าสถานการณ์จะลากยาวและกินเวลานานขนาดใด ซึ่ง Krungthai COMPASS ได้มีการทำสมมติฐานออกเป็น 3 กรณี ได้แก่
1.กรณีที่สถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนและกลุ่มยุโรปคลี่คลายภายในเดือนมี.ค.นี้ โดยภายในเดือนเม.ย.ราคาน้ำมันปรับลดลงต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จะไม่มีปัญหา “Stagflation” เพราะประเด็นเงินเฟ้อที่สูงในไตรมาสที่ 1 และค่อยๆ ปรับลดลง
2.กรณีสถานการณ์ลากยาวนานเกิน 3 เดือน หรือไปถึงไตรมาสที่ 2 จะเห็นอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลา 3-4 เดือน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อภาคการผลิตจากราคพลังงาน ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น โดยจะเริ่มมีผลต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ได้บ้าง แต่ยังคงเห็นอัตราการเติบโตอยู่ในกรอบ 3% ยังไม่ได้หลุดต่ำกว่า 3%
3.กรณีลากยาวไปในไตรมาสที่ 2-3 หรือกินเวลาราว 6 เดือน และราคาพลังงานสูงเกิน 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลต่อเนื่อง ส่งผลเอฟเฟ็กต์ต่อภาคการผลิตทั่วโลก ซึ่งไม่เฉพาะเพียงประเทศไทยเท่านั้น จะส่งผลกระทบต่อจีดีพีไทยขยายตัวต่ำลงเหลือไม่ถึง 3% ซึ่งไทยจะเข้าข่ายใกล้เคียง “Stagflation” มากขึ้น เพราะเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น และบางกิจกรรมต้องหยุดการผลิต เพราะผลิตแล้วไม่คุ้มกับต้นทุนที่เกิดขึ้น
“เรายังไม่เจอ Stagflation แบบ 100% เพราะราคาน้ำมันเพิ่งขึ้นไปเกิน 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลไม่ถึงเดือน แต่ก็เป็นจุดความเสี่ยงเริ่มต้น เพราะภาคการผลิตถูกระทบช่วงต้น และรัฐบาลมีการรับมือผ่านกองทุนน้ำมัน หรือหากขาดแคลนพลังงานเชื่อว่ารัฐบาลทุกประเทศจะมีพลังงานสำรองที่บริหารจัดการได้”
“แต่หากสถานการณ์ไม่เบาลงในไตรมาส 2 และลากยาวเกิน 3 เดือน ราคาน้ำมันขึ้นและสต็อกสินค้าหมด จะเข้าสู่ Stagflation แต่ผลกระทบไทยคงไม่หนักเท่ายุโรป แต่จะเป็นผลต่อการบริโภคและการใช้จ่ายลดลง โดยในปีนี้เราให้กรอบประมาณการเงินเฟ้ออยู่ที่ 2-3% และจีดีพีอยู่ที่ 2.5-4.5%”
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"