forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ธนาคารกลางสหรัฐฯ เสนอรูปแบบเงินดิจิทัลธนาคารกลาง รวมศูนย์แต่ล่มยาก พร้อมเปิดซอร์สให้ทดสอบ

ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประจำบอสตัน (The Federal Reserve Bank of Boston) ร่วมกับศูนย์เงินดิจิทัลของ MIT เปิดรายงานการวิจัยเงินดิจิทัลธนาคารกลาง โดยนำเสนอสถาปัตยกรรมเงินดิจิทัลที่เป็นไปได้ 2 รูปแบบ

พร้อมปล่อยซอร์สโค้ดเป็นโครงการ OpenCDBC ให้ทดสอบได้
OpenCDBC ทดสอบรูปแบบของเงินดิจิทัลโดยธนาคารกลางที่เป็นระบบรวมศูนย์ ธนาคารกลางเป็นผู้ดูแลระบบทั้งหมด แต่ระบบต้องกระจายตัว (distributed) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ล่ม สามารถรันระบบกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ และหากมีศูนย์ข้อมูลใดล่มไปก็กู้กลับมาได้ภายในเวลาต่ำกว่า 10 วินาที
สถาปัตยกรรมที่ OpenCDBC นำเสนอมี 2 แบบ ได้แก่
Atomizer เรียงลำดับการโอนตามเวลาหน้าหลังทุกธุรกรรม ทำให้ไล่ย้อนได้ทั้งหมด แต่มีข้อจำกัดคือการเรียงลำดับนี้จะไปคอขวดที่ระบบเดียว ทำให้การประมวลผลได้ประมาณ 100,000 ธุรกรรมต่อวินาทีเท่านั้น และการกระจายข้อมูลใช้เวลาประมาณ 3 วินาที
Two-phase commit ไม่ได้เรียงลำดับทุกธุรกรรม แต่เรียงลำดับเฉพาะธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกันเท่านั้น ทำให้กระจายตัวได้โดยไม่มีคอขวด รองรับธุรกรรมได้ 1.2 ล้านธุรกรรมต่อวินาที ใช้เวลาต่อธุรกรรมน้อยกว่า 1 วินาที
ทั้งสองแบบจะให้ผู้ใช้ทั่วไปเชื่อมต่อผ่านทางเกตเวย์ที่เรียกว่า Sentinel มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมล่วงหน้า ทั้งฟอร์แมตของข้อมูลและตรวจว่ามีเงินพอทำธุรกรรมหรือไม่ ส่วนระบบฐานข้อมูลภายในจะตรวจสอบกรณีที่มีความพยายามจ่ายเงินซ้ำ (double spending)
รายงานระบุว่าการออกแบบ CDBC มีตัวเลือกจำนวนมากที่ต้องตัดสินใจ ขึ้นกับเป้าหมายที่ต้องการและประสิทธิภาพว่าต้องการประมวลผลธุรกรรมระดับใด และการทดสอบครั้งนี้ใช้ระบบหาข้อตกลง (consensus) ที่ชื่อว่า Raft ที่ถือว่าโหนดในระบบไม่ได้มุ่งร้าย เพราะทุกโหนดดำเนินการโดยธนาคารกลาง หากปล่อยให้ผู้ให้บริการภายนอกรันโหนดด้วยก็อาจจะต้องสำรวจกระบวนการหาข้อตกลงอื่นๆ ในกลุ่ม Byzantine fault tolerant (BFT)
Source: Blognone

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"