forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

แบงก์ชาติ แจงข้อแตกต่าง “เงินบาทดิจิทัล” กับ “คริปโทเคอร์เรนซี”

ธปท. ประกาศเริ่มทดสอบการใช้ CBDC หรือ “เงินบาทดิจิทัล” ในช่วงปลายปี 2565 แจงข้อแตกต่างจาก “คริปโทเคอร์เรนซี” เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564 นายกษิดิศ ตันสงวน รองผู้อำนวยการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

เปิดเผยว่า ในช่วงปลายปี 2565 ธปท. จะเริ่มทดสอบการใช้ Retail CBDC (Central Bank Digital Currency) กับภาคประชาชนในวงจำกัด
ทั้งนี้ เบื้องต้นผู้ที่เข้าร่วมการทดสอบ จะมีภาคสถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (น็อนแบงก์) รวมถึงภาคประชาชน ซึ่งจะต้องดูขนาดของการทดสอบ แต่โดยรวมผู้เข้าร่วมทดลองกว่า 1 หมื่นราย
Central Bank Digital Currency (CBDC) คือเงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือน “เงินบาท” หรือ “ธนบัตร” เพียงแต่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล สามารถใช้เป็นสื่อกลางเพื่อชําระค่าสินค้าและบริการได้ตามกฎหมาย และสามารถรักษามูลค่าให้ไม่ ผันผวน
ต่างจาก cryptocurrency ที่ออกโดยภาคเอกชน ซึ่งมักมีมูลค่าที่ผันผวน และความเสี่ยง ซึ่งขึ้นกับผู้ออกเหรียญ จึงไม่เหมาะที่จะนํามาใช้เป็นสื่อกลางในการชําระค่าสินค้าและบริการ
ขณะที่ stablecoin เป็นเงินสกุลดิจิทัล ที่แม้จะมีเงินสกุลปกติ ,หลักทรัพย์ หรือทรัพย์สิน เช่น ทองคํา ค้ำประกันให้มูลค่าไม่ผันผวนมากนัก แต่ก็ยังมีความเสี่ยงจากผู้ออกอยู่เช่นกัน
นอกจากนี้นายสักกะภพ พันธ์ยานุกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท.กล่าวเสริมว่าการทำ Retail CBDC จะต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ธปท.ไม่ได้มีแผนที่จะออก CBDC เพื่อมาแข่งขันกับ Stable Coin หรือ Cryptocurrency เนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายคนละกลุ่ม แต่การทดลอง CBDC เพื่อมาเติมเต็มเรื่องของเงินสด ที่เปลี่ยนรูปแบบจากธนบัตร มาเป็นอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อช่วยลดต้นทุน และสามารถต่อยอดนวัตกรรมและการบริการได้
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"