forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เปิดประตูสู่โลกใหม่ของเศรษฐกิจดิจิทัลไทยด้วย "โอเพ่นดาต้า"

ในยุคของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ข้อมูลถือเป็นหนึ่งใน “ทรัพย์สินมูลค่ามหาศาล” สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจได้อย่างไร้ขีดจำกัด ปัญหาในปัจจุบันคือ ข้อมูลจำนวนมากถูกจัดเก็บอย่างกระจัดกระจาย ไม่มีการเชื่อมโยง ไม่ถูกนำมาใช้ให้ประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูลได้ดีเท่าที่ควร

Open Data ทำให้เกิดนวัตกรรมการเงินในรูปแบบใหม่ๆ
หลายๆ ประเทศมีแนวคิดปลดล็อกการบริหารจัดการ เชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีมากมายมหาศาล โดยสร้างกลไกให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิอนุญาตให้องค์กรต่างๆ เปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตนเองให้แก่ “ผู้ให้บริการบุคคลที่สาม” (Third-party service provider) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนำเสนอบริการที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการและสร้างประโยชน์แก่ตนเองซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลได้ ภายใต้การมีธรรมาภิบาลข้อมูลที่ดีและการรักษาความลับของข้อมูลอย่างเคร่งครัด
นโยบายลักษณะนี้เรียกว่า “Open Data” ที่หลายประเทศได้ทำ เช่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกจัดเก็บอยู่ในหน่วยงานภาครัฐ เช่น ข้อมูลกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้อมูลการถือครองอสังหาริมทรัพย์ หรือข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ในภาคการเงิน เช่น ข้อมูลบัญชีเงินฝาก ข้อมูลการถือครองตราสารหนี้และหลักทรัพย์ในบัญชีการลงทุน เป็นต้น
หากมองถึงข้อมูลที่มีอยู่ในภาคการเงินที่มีหลากหลาย เช่น ข้อมูลการออมเงิน การใช้จ่ายเงิน การกู้ยืมเงิน การลงทุน ซึ่งสามารถนำมาใช้พัฒนาให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ใช้บริการโดยตรง และเป็นการสร้างโอกาสของธุรกิจใหม่ๆ จากการเข้าใจความต้องการทางการเงินของลูกค้าแต่ละราย
อีกทั้งช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินได้ดียิ่งขึ้น เช่น การมีแอพพลิเคชั่นที่รวมข้อมูลทางการเงินได้ครบในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลบัญชีเงินฝากจากทุกธนาคาร ข้อมูลการใช้จ่ายบัตรเครดิตทุกใบ ข้อมูลการลงทุนกองทุนรวมทุกกอง ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของข้อมูลสามารถเห็นภาพที่ครบถ้วน บริหารจัดการและวางแผนทางการเงินของตนเองได้ง่ายขึ้น
๐ รู้ไหมว่า Open Data ช่วยลดต้นทุนทางการเงินของประชาชนและภาคธุรกิจได้
ประชาชนและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจคนตัวเล็กที่ยังไม่มีข้อมูลทางการเงินมากพอ สามารถใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงข้อมูลประเภทอื่น (alternative data) ที่ตนเองมีอยู่กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา ข้อมูลการค้าขายสินค้าบนแพลตฟอร์มต่างๆ มาใช้ประกอบการขอสินเชื่อได้ง่ายและสะดวกขึ้น
ในทางกลับกัน สถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการทางการเงิน จะมีข้อมูลเพียงพอที่จะประเมินความเสี่ยงของลูกค้าให้สอดคล้องกับความเป็นจริง สามารถพิจารณาอัตราดอกเบี้ยได้เหมาะสมกับผู้กู้ และอนุมัติสินเชื่อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อันจะช่วยลดต้นทุนทางการเงินของประชาชนและภาคธุรกิจได้
จากผลการศึกษาของ McKinsey Global Institute ชี้ว่า การปลดล็อกการนำข้อมูลทางการเงินไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจถึงร้อยละ 1-5 ของจีดีพี
ภายใต้แนวความคิดของ Open Data ปลดล็อกให้ข้อมูลที่มีอยู่ในหน่วยงานต่างๆ สามารถไหลเวียน เชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนกันได้ จะช่วยให้ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลสามารถควบคุมการใช้ข้อมูลของตนเองได้อย่างแท้จริง อีกทั้งเอื้อให้ภาคธุรกิจสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ และยึดลูกค้าหรือประชาชนเป็นที่ตั้ง (customer centric) มากขึ้น จะเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจในโลกยุคดิจิทัล ได้มาทดแทนแนวคิดแบบเดิมๆ ที่มุ่งเน้นตัวสินค้าและบริการเป็นหลัก (product centric)
สิ่งสำคัญที่สุดคือ การยกระดับการรักษาความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลที่รัดกุมขึ้น ถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจในอนาคต ซึ่งในทุกประเทศที่กล่าวมาข้างต้นได้ให้ความสำคัญและกำหนดมาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านข้อมูล
นอกจากนี้ การรับส่งข้อมูลจะทำได้เฉพาะเมื่อได้รับคำสั่งหรือความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนเท่านั้น และจะนำข้อมูลไปใช้ จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลนอกเหนือไปจากขอบเขตที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลไม่ได้
๐ dStatement ช่วยสร้างระบบนิเวศการแบ่งปันข้อมูลในภาคการเงินเริ่ม 24 ม.ค.2565
กรณีของไทย ภาคการเงินเริ่มนำร่องในการผลักดัน Open Data ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลทางการเงินของผู้ใช้บริการจากสถาบันการเงินต่างๆ บนช่องทางดิจิทัล โดย ธปท.ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ริเริ่มบริการเรียกขอและรับส่งข้อมูลรายการเคลื่อนไหวบัญชีเงินฝาก ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลระหว่างธนาคาร หรือ “บริการ dStatement” ซึ่งจะเริ่มให้บริการในวันที่ 24 ม.ค.2565 เป็นต้นไป
บริการ dStatement จะช่วยให้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลสามารถเรียกข้อมูล bank statement ของบัญชีตนเองจากธนาคารหนึ่ง เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอสินเชื่อกับอีกธนาคารหนึ่ง ผ่านช่องทางดิจิทัลได้ด้วยตนเองอย่างสะดวกและรวดเร็ว
บริการ dStatement นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญของการสร้างระบบนิเวศการแบ่งปันข้อมูล (open data ecosystem) บนความร่วมมือในภาคธนาคาร ระยะต่อไปยังมีความท้าทายหลายๆ ด้าน ทั้งด้านกฎหมายและข้อบังคับ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล การกำหนดมาตรฐานข้อมูล และวิธีการเชื่อมต่อข้อมูลให้รองรับ ปัจจัยสำคัญคือ ความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงนโยบายภาครัฐที่จะช่วยส่งเสริม สร้างแรงจูงใจให้เกิดความร่วมมือในวงกว้าง
ผู้เขียนจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การผลักดันให้เกิด Open Data ในประเทศไทย จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งประชาชนและภาคธุรกิจให้สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ผ่านช่องทางดิจิทัลทั้งในและนอกภาคการเงินได้ดีขึ้น บริการมีความหลากหลาย มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยนำพาให้ประเทศไทยปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน.
โดย ดร.ชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร
ผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Financial Infrastructure
ภูมิใจ ตั้งสวัสดิรัตน์,
ภัทราพร อุ่มตระกูล,
ชัยศิริ ตุ้มทอง
ผู้วิเคราะห์อาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของ ธปท.
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"