forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ดอกเบี้ยบ้านด่านแรก ทดสอบบอนด์ยิลด์พุ่ง 7 ปี

ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ปัจจัยใหม่ ที่ส่งผลต่อตลาดหุ้นสหรัฐและกำลัง เป็นที่กล่าวถึงกันมากที่สุดก็คือ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อายุ 10 ปี ที่ล่าสุดพุ่งขึ้นไปแตะระดับเกือบ 3.25% หรือสูงสุดในรอบ 7 ปี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นทั้ง "ข่าวดี" และ "ข่าวร้าย" ไปพร้อมๆ กัน แต่ที่สำคัญก็คือ นี่จะเป็นบททดสอบครั้งสำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐว่าจะแข็งแกร่งจริง และยืนระยะได้ยาว อย่างที่หลายฝ่ายคาดหวังหรือไม่ โดยปกติแล้ว เมื่อธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ผลกระทบจากเฟดจะยังไม่กระจาย เป็นวงกว้างทั้งหมด แต่จะเริ่มกระทบในกลุ่มดอกเบี้ยระยะสั้นก่อน เช่น ดอกเบี้ยกู้ยืมข้ามคืนระหว่างธนาคาร (Prime Rate) ดอกเบี้ยเงินฝาก และดอกเบี้ยบัตรเครดิต

สำหรับกลุ่มดอกเบี้ยระยะยาว เช่น ดอกเบี้ยบ้านนั้น จะขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวของบอนด์ยิลด์เป็นหลักมากกว่า ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับว่านักลงทุนในตลาดบอนด์จะเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่งจริงหรือไม่ เพราะในทางหนึ่ง บอนด์ยิลด์ยังเปรียบได้กับคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในอนาคต ของตลาดด้วย

ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.25% มา 8 ครั้งแล้ว นับตั้งแต่ปลายปี 2015 แต่บอนด์ยิลด์ในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ขยับขึ้นตาม มากนัก ดีสุดก็คือไปแตะ 3% เพราะตลาดยังไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจแข็งแกร่งพอ

ข่าวดีก็คือ การที่บอนด์ยิลด์ขึ้นไปเกือบแตะ 3.25% ในครั้งนี้สะท้อนว่า นักลงทุนเชื่อมั่นกันแล้วว่าเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่งจริง โดยได้ปัจจัยบวกล่าสุดจากอัตราว่างงานที่ต่ำที่สุดในรอบ 48 ปี หรือลดลงมาอยู่ที่ 3.7% จากรายงานเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว

ก่อนหน้านี้มีข่าวว่ายักษ์ค้าปลีก แอมะซอนดอทคอม ตัดสินใจปรับขึ้น

ค่าแรงขั้นต่ำเป็น 15 ดอลลาร์สหรัฐ/ชม.ทั่วประเทศด้วย ซึ่งนักวิเคราะห์ระบุว่าอาจเป็นหัวหอกหลักที่ช่วยขยับค่าแรงขั้นต่ำของบริษัทอื่นๆ ตามมา ในยุคหาคนทำงานยากเช่นนี้ และในยุคที่ดอลลาร์แข็งค่าเช่นนี้ ก็ยังทำให้คนอเมริกันกลับมาบริโภคกันหนักหน่วงอีกครั้งด้วย ส่วนหนึ่งสะท้อนจากตัวเลขการนำเข้าของสหรัฐเดือน ส.ค. ที่พุ่งสูงสุดทุบสถิติใหม่อยู่ที่ 2.627 แสนล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ ยิลด์ยังขึ้นไปรอรับยุคดอกเบี้ยขาขึ้นที่เฟดไม่มีสัญญาณว่าจะแตะเบรกด้วย

แต่ข่าวร้ายก็คือ สหรัฐกำลังเข้าสู่ยุคดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างแท้จริงในทุกภาคส่วน และตลาดที่อยู่อาศัย ซึ่งเคยเป็นต้นตอของวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ 10 ปีก่อน ก็กำลังจะเป็นบททดสอบความแข็งแกร่งอีกครั้ง นอกจากนี้ บอนด์ยิลด์ที่พุ่งขึ้นยังไม่ได้หมายถึงข่าวดีเรื่องเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการแห่เทขายต่อเนื่องของนักลงทุน เพราะต้องการคัตลอสจากบอนด์ที่ด้อยค่าลง (ยิลด์จะตรงข้ามกับราคาบอนด์) ซึ่งนักวิเคราะห์เชื่อว่า การแห่เทขายในตลาดบอนด์จะยังไม่จบลงแค่นี้ และจะยิ่งดันให้บอนด์ยิลด์สูงขึ้น และดอกเบี้ยแพงขึ้นเป็นเงาตามตัวไปอีก

รอยเตอร์สรายงานว่า ขณะนี้บอนด์ยิลด์อายุ 30 ปี ก็พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบหลายปีเช่นกัน โดยขึ้นไปเกือบแตะระดับ 5% ซึ่งหมายความว่าตลาดบ้านสหรัฐที่กำลังตึงตัวและเจอกับต้นทุนการก่อสร้างแพงขึ้น กำลังเจอข่าวร้ายเด้งที่สองกับดอกเบี้ยพุ่งสูงในระดับที่ไม่ได้เห็นมาหลายปีแล้ว

จากข้อมูลของสมาคมนายแบงก์สินเชื่อบ้าน พบว่า ดอกเบี้ยบ้าน ณ เดือน ม.ค.ปีนี้ที่ 4.23% ปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นเป็น 4.97% ไปแล้ว ซึ่งหากรวมค่าธรรมเนียมเข้าไปด้วยอาจทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้บ้านที่ปล่อยยาว 30 ปี อาจสูงแตะ 5% หรือมากกว่านั้นไปแล้ว

ภายใต้ดอกเบี้ยที่แพงขึ้นในปีนี้ หมายความว่าหากกู้ซื้อบ้าน 2.2 แสนดอลลาร์ เป็นเวลา 30 ปี จะต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกราว 3.5 หมื่นดอลลาร์ ขณะที่เอพีระบุว่า ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ย 4% ของปีก่อน และ 5% ในปีนี้ หมายความว่าจะมีส่วนต่างดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 119 ดอลลาร์/เดือน หากกู้ซื้อบ้าน 2 แสนดอลลาร์

อย่างไรก็ดี ดอกเบี้ยขาขึ้นอาจไม่ใช่ตัวสกัดคนซื้อบ้านและลดความร้อนแรงของตลาดไปตามกลไกปกติ เสียทีเดียว ตรงกันข้ามกลับยิ่งเพิ่มดีมานด์เป็นพิเศษก่อนที่ดอกเบี้ยจะขึ้นไปมากกว่านี้

เวิร์ด แมคคาร์ธี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารเจฟฟรีย์แอนด์โค กล่าวว่า ดอกเบี้ยที่มีทิศทางแพงขึ้นอาจผลักดันให้ดีมานด์ความต้องการซื้อบ้านระดับล่างถึงระดับกลางพุ่งสูงขึ้น โดยจำนวนผู้ยื่นขอกู้ซื้อบ้านในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 ก.ย. เพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบเดือน ส.ค.ที่ต่ำสุดในรอบ 11 เดือน

นั่นหมายความว่า คนอเมริกัน ต่างรับรู้ถึงยุคดอกเบี้ยขาขึ้นเป็นอย่างดี และพร้อมที่จะกู้ซื้อบ้านในยุคที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้นกว่าเดิมในรอบหลายปีมานี้ ซึ่งนับเป็นสถานการณ์ที่ดีกว่ามากเมื่อเทียบกับยุคฟองสบู่อสังหาฯ และวิกฤตซับไพรม์เมื่อกว่า 10 ปีก่อน

อย่างไรก็ดี ยังเป็นเรื่องที่ต้องจับตาไปอีกพักใหญ่ว่า ตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐจะสามารถต้านทานยุค ดอกเบี้ยขาขึ้นที่แท้จริงได้หรือไม่ เมื่อนักวิเคราะห์หลายฝ่ายเชื่อว่า บอนด์ยิลด์น่าจะพุ่งทะยานต่อไปอีก และอาจทำให้คนอเมริกันต้องตื่นขึ้นมาเจอกับยุคดอกเบี้ยขาขึ้นแบบทุกทิศทางหลังจากนี้

โดย นันทิยา วรเพชรายุทธ

Source: Posttoday

เพิ่มเติม
- Interest rates at 7-year highs give bears their best chance to cut into the bulls' 2018 lead :

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"