forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

จับตา 3 ปัจจัยหลัก'หนุน-ฉุด'ราคาน้ำมันดิบโลก

ใกล้ถึงวันที่ 4 พ.ย.เข้าไปทุกที ซึ่งเป็น วันที่สหรัฐ เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ระงับการซื้อน้ำมันดิบจากอิหร่านอย่างสิ้นเชิง มิฉะนั้นจะถูกสหรัฐคว่ำบาตร และยังเป็น วันครบกำหนด 180 วันนับจากวันที่ประธานาธิบดีโดนัลด์

ทรัมป์ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านเมื่อเดือนพ.ค. ซึ่งจะทำให้ปธน.ทรัมป์ออกคำสั่งคว่ำบาตรอิหร่านครั้งใหม่ได้ มาดูกันว่านอกจากปัจจัยนี้แล้ว ยังมีปัจจัยอะไรอีกบ้าง ที่จะส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

ราคาน้ำมันดิบ เวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.09 ดอลลาร์/บาร์เรล ปิดตลาด ที่ 74.34 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.44 ดอลลาร์/ บาร์เรล ปิดตลาดวันศุกร์ (5ต.ค.)ตามเวลาท้องถิ่นที่ 84.16 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบ ปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 85 ดอลลาร์/บาร์เรล เพราะได้แรงหนุนจากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันดิบตึงตัว จากผลพวงของการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐ

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากความตึงเครียดเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ และประเทศในอเมริกาเหนือที่คลี่คลายลง หลังจากสหรัฐและแคนาดาบรรลุข้อตกลงการค้าฉบับใหม่ โดยสหรัฐและแคนาดาจะร่วมลงนามกับเม็กซิโก และเปลี่ยนชื่อเป็น "ข้อตกลงสหรัฐ-เม็กซิโก-แคนาดา" (ยูเอสเอ็มซีเอ) แต่ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐ ที่ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์

ส่วนในสัปดาห์นี้ นักวิเคราะห์ ในตลาดน้ำมันส่วนใหญ่ คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส จะเคลื่อนไหวภายในกรอบ 75-80 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ จะเคลื่อนไหวภายในกรอบ 84-89 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งการที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบขาขึ้นแบบนี้ มาจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันดิบตึงตัว หลังอิหร่านลดการส่งออกน้ำมันดิบ เนื่องจากสหรัฐ ประกาศคว่ำบาตรอิหร่าน

ขณะเดียวกัน ตลาดยังคงจับตาการปรับกำลังการผลิตของซาอุดีอาระเบีย และรัสเซีย ที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยอุปทานที่ขาดหายไปจากอิหร่านและเวเนซุเอลา ประกอบกับมีการคาดการณ์ ว่า ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐ จะปรับเพิ่มขึ้น ในช่วงฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่น

นอกจากนี้ ยังคาดว่าราคาน้ำมันดิบ จะได้รับแรงกดดันจากความต้องการใช้น้ำมันที่อาจได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และค่าเงินของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่อ่อนค่าลง โดยปัจจัยสำคัญที่คาดว่าน่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกตลอดทั้งสัปดาห์นี้คือ

การคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐ ที่ยังคงมีผลต่อปริมาณการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด จีน ซึ่งเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันดิบ รายใหญ่ของโลก และนำเข้าเฉลี่ยวันละประมาณ 650,000 บาร์เรล มีแนวโน้มปรับลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่าน หลังจากบริษัทซิโนเปคของจีน ปรับลดการนำเข้าในเดือนก.ย. ลงประมาณ 50% มาอยู่ที่วันละ 130,000 บาร์เรล ถือว่าปรับลดการนำเข้ามากที่สุดในรอบหลายปี

ยังมีประเด็นความร่วมมือระหว่างซาอุดีอาระเบีย และรัสเซีย เกี่ยวกับการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อผ่อนคลายอุปทานน้ำมันที่ตึงตัวในตลาดโลก โดยมีข่าวว่ารัสเซียและซาอุดีอาระเบีย แอบตกลงกันอย่างลับๆที่จะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบประมาณวันละ 200,000-300,000 บาร์เรล จากระดับการผลิตในเดือนก.ย. ปี2561 ในขณะที่รัสเซียวางแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตในเดือนต.ค.ปี2561 ประมาณวันละ 150,000 บาร์เรล เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา

ปัจจัยสำคัญอันดับท้ายสุดที่จะมีผล ต่อราคาน้ำมันดิบโลกในสัปดาห์นี้คือ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐ ที่นักวิเคราะห์ ในตลาดคาดการณ์ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวลดลง เนื่องจากโรงกลั่นในสหรัฐ อยู่ในช่วงฤดูกาลปิดซ่อมบำรุง โดยในสัปดาห์ล่าสุด สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐ (อีไอเอ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบ คงคลังสหรัฐสำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 29 ก.ย. 2561 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 7.96 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 404.0 ล้านบาร์เรล ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้น หลักๆ มาจากปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบที่ปรับลดลงประมาณ 0.92 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 1.7 ล้านบาร์เรล

ปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบ ในตลาดโลกก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน อาทิเช่น การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขยายตัว ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ความต้องการน้ำมันดิบและราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มตาม ในทางตรงกันข้าม ในภาวะเศรษฐกิจหดตัวหรือภาวะถดถอย กิจกรรมที่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะลดลง ความต้องการน้ำมันดิบก็จะลดลง และท้าให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงตามไปด้วย

นอกจากนี้ สภาพภูมิอากาศก็เป็น อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ความต้องการน้ำมันดิบ เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ยกตัวอย่างเช่น ในสหรัฐและยุโรป ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ จะมีความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภทแตกต่างกันไปตามฤดูกาล โดยในฤดูหนาว ความต้องการน้ำมันเพื่อสร้างความอบอุ่นจะสูงขึ้น โดยเฉพาะในปีที่อากาศหนาวเย็นรุนแรงกว่าปกติ ส่วนช่วงฤดูร้อน ความต้องการน้ำมันกลับไม่ได้ลดลง แต่เปลี่ยนเป็นความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการท่องเที่ยวสัญจรไปในภูมิภาคต่างๆเพิ่มขึ้นแทน

อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบ เวสต์เท็กซัส และสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ตลาดล่วงหน้า ปิดตลาดวันจันทร์ (8 ต.ค.) ตามเวลาสหรัฐ ปรับตัวร่วงลงกว่า 1% หลังจากรัฐบาลสหรัฐประกาศว่าอาจจะยกเว้นบางประเทศ ไม่ต้องได้รับผลกระทบ จากมาตรการคว่ำบาตรเศรษฐกิจอิหร่าน โดยสัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ตลาดล่วงหน้า ปรับตัวร่วงลง 57 เซนต์หรือ 0.8% ปิดตลาดที่ 73.77 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ร่วงลง 91 เซนต์ หรือ 1.1% ปิดตลาดที่ราคา 83.25 ดอลลาร์/บาร์เรล

ทั้งนี้ ความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์น้ำมันโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นเหนือระดับ 80 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบ และคาดว่าอุปสงค์น้ำมันจะได้รับแรงกดดันจากค่าเงินของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ที่อ่อนค่าลง อย่าง ค่าเงินรูปีของอินเดีย ค่าเงินรูเปี๊ยะห์ของอินโดนีเซีย และค่าเงินเปโซของฟิลิปปินส์ ซึ่งการที่เงินอ่อนค่าลง ทำให้ราคาน้ำมัน ซึ่งอยู่ในสกุลเงินดอลลาร์มีราคาแพงขึ้นเมื่ออยู่ในสกุลเงินอื่น

Source: กรุงเทพธุรกิจ

Cr.DinoTech5.0

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"