ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น 30% ตั้งแต่เดือนมิถุนายน สาเหตุหลักมาจากการลดการผลิตโดยซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ซึ่งเป็นสมาชิกของ OPEC+ โดยคาดว่าราคาจะพุ่งทะลุ 100 ดอลลาร์ ซึ่งจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
ราคาน้ำมันดิบกำลังสูงขึ้น โดยได้แรงหนุนจากการลดกำลังการผลิตลงอย่างมากที่กำหนดโดยซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวแถวที่อยู่เบื้องหลัง OPEC+ ในการหนุนราคาน้ำมัน ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยราคาน้ำมันต่อบาร์เรลเพิ่มขึ้นถึง 30% นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน และขณะนี้ราคากำลังเข้าใกล้ระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และอาจพุ่งขึ้นอีก หลังการประกาศล่าสุดของรัสเซียและซาอุดีอาระเบียว่าพวกเขาตั้งใจที่จะขยายการลดกำลังการผลิตโดยสมัครใจในปัจจุบันออกไป การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมันส่งแรงกระเพื่อมผ่านตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก และโอกาสที่ราคาจะสูงขึ้นทั้งที่ปั๊มและตลอดกระบวนการผลิตอาจกระตุ้นความพยายามทางการทูตในการเพิ่มอุปทานและลดผลกระทบด้านเงินเฟ้อต่อเศรษฐกิจโลก
นักวิเคราะห์ด้านพลังงาน มองว่าแม้ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจะสามารถผลกำไรสำหรับประเทศผู้ผลิตน้ำมันและอุตสาหกรรมด้านพลังงาน แต่ก็ทำให้เกิดความผันผวนระหว่างการกระตุ้นตลาดและการทำลายแรงจูงใจ เนื่องจากราคาหน้าปั๊มที่สูงขึ้นอาจทำให้อุปสงค์ลดลงอย่างมาก จนทำให้ตลาดผันผวนจากความตื่นตระหนก เช่น ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมของปีที่แล้ว เมื่อราคาน้ำมันพุ่งแตะระดับเฉลี่ย 110 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ความต้องการน้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ ก็ลดลง 4.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขายน้ำมันที่ 70 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล บาร์เรล และเมื่อราคาลดลงต่ำกว่า 110 ดอลลาร์ ขนาดของช่องว่างอุปสงค์ปีต่อปีก็ลดลงเช่นกัน ซึ่งตอกย้ำความสัมพันธ์ระหว่างราคาน้ำมันที่สูงขึ้นกับการลดกำลังซื้อของผู้บริโภค
และผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวอาจรุนแรงยิ่งขึ้นในปีนี้ เนื่องจากครอบครัวในสหรัฐอเมริกามีเงินออมเหลือน้อยกว่ามาก และมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายอย่างเข้มงวดมากขึ้น จากข้อมูลของสถาบัน Bank of America เงินออมโดยเฉลี่ยของครัวเรือนในสหรัฐฯ ที่มีรายได้ 50,000 ถึง 100,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปีลดลงครึ่งหนึ่ง และแนวโน้มกำลังจะรุนแรงขึ้นสำหรับอีกหลายล้านคน เมื่อกำหนดการชำระคืนเงินกู้นักเรียนกลับมาอีกครั้งในเดือนหน้า ซึ่งคิดเป็นประมาณ 100,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือนในระดับชาติ
บลูมเบิร์กรายงานในสัปดาห์นี้ว่า ไม่น่าแปลกใจเลยที่ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น จะส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐต้องเผชิญแรงกดดันอย่างมาก ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะถดถอยในสหรัฐอเมริกาในช่วงกลางทศวรรษ 1970 เช่นเดียวกับต้นทศวรรษ 1980 และ 1990 เนื่องจากตลาดพลังงานและราคาหน้าปั๊ม "ผลักดันอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นและปล้นอำนาจซื้อของผู้บริโภค"
ดังนั้น ความกลัวว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยจึงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย “ผู้กำหนดนโยบายจะต้องตื่นตัวอย่างมากต่อการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากน้ำมันเบนซิน เนื่องจากพวกเขากลัวว่าจะนำไปสู่การขึ้นราคาในวงกว้างมากขึ้น”
“ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นถือเป็นความกังวลอันดับต้นๆ ของผม ณ จุดนี้” Mark Zandi หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Moody’s Analytics กล่าว “หากราคาน้ำมันพุ่งเกิน 100 เหรียญสหรัฐฯ เราจะได้รับผลกระทบหนักอย่างแน่นอน” และอุตสาหกรรมน้ำมันเองก็ไม่น่าจะรอดพ้นจากความเจ็บปวดนี้ได้
แม้ว่าสถานะของการออมและเศรษฐศาสตร์ครัวเรือนในสหรัฐอเมริกาจะมีความล่อแหลมที่จะเผชิญความยากลำบากจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น แต่จริงๆ แล้วผลกระทบเต็มรูปแบบจากข้อเสียเปรียบของผู้บริโภคจะเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนามากกว่า จากแนวโน้มในอดีต ค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพร้อมกับราคาน้ำมัน สร้างความกดดันอย่างเจ็บปวดให้กับเศรษฐกิจที่มีสกุลเงินอ่อนตัวลง และกระแสเงินสดที่ลดลง ซึ่งยังคงถูกบังคับให้ซื้อน้ำมันในสกุลเงินดอลลาร์ และจะมีผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดพลังงาน
ตัวเลขราคา 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ อาจจะไม่แตกต่างทางการเงินอย่างมีนัยสำคัญจากราคา 99 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล แต่ตัวเลขสามหลักมีอิทธิพลทางจิตวิทยามากต่อผู้บริโภคและตลาดพลังงานโดยรวม การข้ามเส้นดังกล่าวจะทำให้เกิดคลื่นกระแทกรุนแรงต่อตลาดโลกที่กำลังเปราะบาง แม้ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันที่ตัวเลขสามหลักนั้นจะเกิดขึ้นในระยะสั้น แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นน่าจะใช้เวลาคงอยู่นานกว่า
Source: Posttoday
Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you