ข้อมูลจากรายงาน Statistical Review of World Energy ระบุว่า อุปสงค์สำหรับพลังงานทั่วโลกเพิ่มขึ้น 1% ในปี 2565 โดยการเติบโตของพลังงานหมุนเวียนนั้นยังไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงความต้องการส่วนมากของโลกที่ยังพึ่งพิงเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งคิดเป็น 82% ของอุปทานทั้งหมด
ตลาดพลังงานเผชิญกับความวุ่นวายในปีที่ผ่านมาหลังการรุกรานของรัสเซียในยูเครน ส่งผลให้ราคาก๊าซ และถ่านหินในยุโรป และเอเชียปรับตัวพุ่งขึ้นจนแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์
ถึงอย่างนั้น ผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหินก็ยังเป็นที่ต้องการส่วนมากในตลาดอยู่เมื่อปีที่ผ่านมา แม้ว่าในภาคส่วนของพลังงานหมุนเวียนจะเห็นการเพิ่มขึ้นของกำลังการผลิตที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาโดยรวมกันสูงถึง 266 กิกะวัตต์ ซึ่งมีพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการเติบโตมากที่สุด ตามมาด้วยพลังงานลม
Juliet Davenport ประธานสถาบันอุตสาหกรรมพลังงานที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักรระบุว่า ถึงแม้จะมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของกลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์ และลม แต่โดยรวมแล้ว การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานทั่วโลกก็ยังเพิ่มขึ้นอยู่เหมือนเดิม ซึ่งยังตรงกันข้ามกับสิ่งที่ควรจะเป็นจาก ความตกลงปารีส (Paris Agreement)’
สถาบันพลังงานเป็นผู้เผยแพร่รายงานประจำปีนี้เป็นครั้งแรก โดยจะใช้เป็นบรรทัดฐานสำหรับอุตสาหกรรมพลังงาน โดยมี KPMG และ Kearny เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวมีบริษัท บีพี หรือ British Petroleum (BP) ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันและก๊าซขนาดใหญ่ของอังกฤษเป็นผู้เผยแพร่มาตลอดตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1950 และเพิ่งจะเปลี่ยนมาให้สถาบันพลังงานเป็นผู้เผยแพร่
นักวิทยาศาสตร์ต่างระบุว่า ทั่วโลกจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระดับที่เคยอยู่ในปี 2562 ลงราว 43% ภายในปี 2573 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของความตกลงปารีส
รายงานระบุว่า ในปี 2565 นั้น ความต้องการพลังงานทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น 1% ซึ่งเป็นการเติบโตที่ช้ากว่าปีก่อนหน้าที่เห็นการเพิ่มขึ้นถึง 5.5% และยังอยู่สูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 อยู่ราว 3% โดยความต้องการน้ำมันที่สูงขึ้นนั้นมาจากทุกประเทศ ยกเว้น โซนยุโรป ในขณะที่พลังงานหมุนเวียน ยกเว้น พลังงานน้ำ คิดเป็น 7.5% ของการอุปโภคบริโภคพลังงานทั้งหมดของโลก และเพิ่มขึ้นเพียง 1% จากปีก่อน
ด้านส่วนแบ่งตลาดด้านการใช้งานของเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นยังอยู่ที่ 82% ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น 2.3% แต่อยู่ในอัตราที่น้อยกว่าปีก่อนหน้า โดยมีพลังงานลมที่เห็นการเติบโตมากที่สุดในกลุ่มพลังงานสะอาด อย่างไรก็ตาม ถ่านหินยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลักสำหรับการผลิตพลังงาน โดยมีส่วนแบ่งอยู่ที่ราว 35.4%
การอุปโภคบริโภคน้ำมันในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 2.9 ล้านบาร์เรลต่อวันแตะ 97.3 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ยังเป็นการเติบโตที่ช้าลงกว่าเดือนก่อนหน้า และยังต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดอยู่ 0.7% ส่วนกำลังการผลิตของการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น 534,000 บาร์เรลต่อวัน
ความต้องการของก๊าซธรรมชาตินั้นเพิ่มขึ้น 3% ทั่วโลก ท่ามกลางราคาที่สูงลิ่วในแถบเอเชีย และยุโรป ส่วนการผลิต LNG ปรับตัวสูงขึ้น 5% แตะ 5.42 แสนล้านคิวบิกเมตร โดยเห็นการเติบโตจากอเมริกาเหนือ และเอเชียแปซิฟิกมากที่สุด ในขณะที่ยุโรปมีอัตราการเพิ่มขึ้นของความต้องการ LNG มากที่สุด โดยมีการนำเข้าสูงขึ้นถึง 57% ส่วนประเทศในเอเชียแปซิฟิก อเมริกาตอนกลางและใต้ ลดการซื้อ LNG ลง นอกจากนั้นแล้วในปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นผันตัวขึ้นเป็นประเทศที่นำเข้า LNG มากที่สุดแทนประเทศจีน
ในปีที่ผ่านมา ราคาถ่านหินแตะระดับสูงสุดโดยเห็นการเพิ่มขึ้นถึง 145% ในยุโรป และ 45% ในญี่ปุ่น ส่วนการใช้ถ่านหินเพิ่มขึ้น 0.6% แตะระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2557 ผลักดันโดยความต้องการจากจีนและอินเดีย ในขณะที่การใช้งานในอเมริกาเหนือและยุโรปลดลง
Source - ข่าวหุ้น
เพิ่มเติม
- Renewables growth did not dent fossil fuel dominance in 2022, report says :
Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you